บทความประจำเดือน ธันวาคม
เรื่องการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากชุมชนมาตรฐานตลาด
ข้าพเจ้านางสาวกนกพร จะรอนรัมย์ ประเภทประชาชน
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการประจำตำบล บ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
การที่ดิฉันได้ลงพื้นที่ในตำบลบ้านด่านและเข้าร่วมโครงการอบรมการพัฒนาสินค้า หัตถกรรม คหกรรม ในชุมชนสู่มาตรฐาน จึงได้เห็นผลิตภัณฑ์สินค้าภายในชุมชน ส่วนใหญ่เกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้นด้วยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่คงความเป็นอัตลักษณ์ เพราะเหตุนี้เองเราจึงควร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานและสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนต่างถิ่นได้
หลักการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
• พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ : ขนาด ลวดลาย รสชาติ กลิ่น สี
• ปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์ : เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและพัฒนาให้สามารถดึงดูดความสนใจลูกค้าในทุกเพศทุกวัยได้
• การคิดค้นต้นทุนการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ : เพื่อจะได้รู้ต้นทุนในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ และจะได้รู้ผลกำไรที่เรา ได้จากการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์
• การมีตราสินค้า : เพื่อเป็นการสะท้อนอัตลักษณ์ของสินค้าและผลิตภัณฑ์
• การมีบรรจุภัณฑ์(Packaging) : เพื่อเป็นสิ่งสำคัญในการจำหน่ายสินค้าและการขนส่ง ช่วยในการเก็บรักษาสินค้าให้มีคุณภาพ
• การทำการตลาด : การทำการตลาดมีความสำคัญต่อธุรกิจในการเพิ่มปริมาณการขายสร้างรายได้และสร้างความมั่นคงให้ กับความสำเร็จในมุมมองที่กว้างขึ้น
ทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เพราะมันเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ก้าวหน้าได้ และ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า จะทำให้ เป็น “ธุรกิจ”เริ่มจากการสร้างรากฐานให้เกิดความแข็งแรงที่มีการพัฒนา และส่งผลต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้สินค้าและผลิตภัณฑ์ ชุมชนที่มีความเป็นอัตลักษณ์ จะได้รับนิยมทั้งในตลาด ในประเทศและตลาดนอกประเทศมากเพียงใดขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้ามีความเข้มแข็งและหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนส่งเสริม คือ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ในการหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้า โดยมีโครงสร้างดังนี้
ทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T จึงเล็งเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ในชุมชนตำบลบ้านด่าน ทำให้มีการจัดทำโครงการอบรมการพัฒนาสินค้า หัตถกรรม คหกรรม ขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ แก่ชาวบ้านในชุมชนตำบลบ้านด่าน มากขึ้น ทั้งหมดนี้ก็คือโครงสร้างในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์จากชุมชนสู่มาตรฐานตลาดให้มีความมั่นคง สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน แบบยั่งยืนต่อไปได้