บทความ ผลการปฎิบัติงาน ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้าพเจ้า: นายพันธ์ณรงค์ รัถยาภิรักษ์ ประชาชนทั่วไป
ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้สำรวจและทีมงาน ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้สำรวจและทำข้อมูลเกี่ยวกับการ การดูแลและทำความสะอาด การฟื้นฟูเกี่ยวกับบริเวณภายในวัดระหานกับ การดูแลรักษาธรรมชาติ และปลูกฝั่งคนในชุมชนในบ้านด่าน เพื่อปรับปรุงพัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในอนาคตให้ดีขึ้น เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาธรรมชาติให้ดูดี และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในวัดระหาน ให้ดีขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยังยื่น ฟื้นฟูและดูแลรักษาต่อไปได้ในอนาคต
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในวัดระหาน เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดย จะต้องประกอบหลาย ๆ โดยเริ่มจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้คงทน การดูแล ทำความสะอาดและการนำกลับมาใช้ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตลอดไปจนถึงการมีมากขึ้นในอนาคต ควบคุมการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ เช่น ตามถนน คลอง และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้คุณค่า การควบคุมจำนวนประชากรของนกยูง และนกยูงที่จะเกิดใหม่ในอนาคต ที่จะต้องดูแลรักษานกยูงอย่างมีคุณภาพ ไม่ให้ป่วยหรือเสียชีวิตลง อย่างไม่ได้ตั้งใจ ได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้นในการอนุรักษ์ธรรมชาติ นอกจากนี้การควบคุมจำนวนประชากรของนกยูง เพื่อทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ ทำความเข้าใจในการดูแลรักษาสัตว์ต่างๆ ภายในวัด เช่น นกยูง สุนัข เต่า ปลา ควรแก่การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมไว้เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นการควบคุมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้ถูกต้องอีกด้วย เช่น การงดการใช้สารเคมีภายในวัด ลดการใช้ถุงพลาสติก เพื่อลดมลพิษ ในการเผาทำลาย การตัดไม่้ ทำลายป่า เพื่อการเเกษตร ทำไร่ ทำนา ของคนในชมุชน ตลอดไปจนถึงการทิ้งเศษอาหาร หรือขยะภายในวัด การทะนุบำรุงของที่ใช้ ตลอดจนหันมาศึกษาวิธีทางการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้ได้อีกภายในวัด เพื่อการพัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยื่นต่อไป
แนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภายในวัดให้มีความเหมาะสม ได้แก่…
- การอนุรักษ์ คือ การทำนุบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ให้คงอยู่สืบต่อไป เช่น ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้ในการเป็นพื้นที่ทำนา ไร่ของคนในชุมชนบ้านด่าน โดยต้องมีพื้นที่ จัดตั้งขึ้นมาไม่รบกวนพื้นที่ภายในวัด เพื่อนำมาใช้ปลูกต้นไม้และนำไป
- วางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม ในหมู่บ้านรวมทั้งคนในชุมชนอีกด้วย เพราะว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อมๆกัน ไม่อาจที่จะมองข้ามองค์ประกอบนี้ไปได้ เพราะก็อาจจะทำให้เกิดการเสียสมดุล ในการดูแลและรักษาธรรมชาติภายในวัดได้
- ปลูกฝังความรักในสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้คนในชุมชนบ้านด่านเกิดความตระหนักรู้ การดูแลและรักษ์ธรรมชาติ ภายในวัดระหาน แท้จริงแล้วธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่อยู่ผูกพันกับคนในชุมชนบ้านด่าน มานานได้ดูแลและตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกยาวไกล เพราะฉะนั้นควรปลูกฝังตั้งแต่คนในชุมชม ตั้งแต่เด็กๆ โดยบุคคลในครอบครัว จำเป็นที่ต้องปลูกฝังเด็กด้วยเช่นกัน เช่น สอนการคัดแยกขยะ, สอนการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่า, สอนการใช้พลังงานน้ำให้มีความคุ้มค่าละเลิกการทิ้งขยะภายในวัด ใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาลติก หันมาใช้ถุงผ้า รวมทั้งปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนบ้านด่านให้ตระหนักเารทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง เช่น ไม่ทิ้งขยะมั่วซั่ว, ไม่ทิ้งขยะลงพื้นถนน ลงคลองน้ำภายในวัด ถึงแม้ว่าอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ถ้าทุกคนในชุมชนบ้านด่าน ช่วยกันร่วมแรงร่วมใจการทำความสะอาดและดูแลรักษาธรรมชาติภายในวัด ฟื้นฟูธรรมชาติ ให้อยู่ต่อไปในอนาคต เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนต่างจังหวัดและนักท่องเที่ยวได้ เข้ามาเที่ยวได้เห็นถึงธรรมชาติอันสมบูรณ์และน่าอนุรักษ์ไว้อย่างยั่งยื่นในอนาคตข้างหน้าต่อไป
สุดท้าย คือ ทำให้ผู้คนเกิดความตระหนักรู้ว่า การดูแลและรักษาธรรมชาติภายในวัดระหาน ให้คงอยุ่ต่อไปและรักษาอนุรักษ์ธรรมชาติภายในวัด ทรัพยาการต่างๆเช่น ต้นไม้ พืช สัตว์ นกยูง หมา เต่า ปลาและสัตว์อื่นๆ ภายในวัด ได้ดำรงชีวิตตามธรรมชาติ เพื่อเป็นที่สนใจในการท่องเที่ยวภายในวัด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐ และบำรุงรักษ์ วัฒนธรรม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตของวัดระหานและชุมชนชาวบ้านด่านอีกต่อไป