ข้าพเจ้านางสาวพัชรียา หมวดอ่อน บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรม ในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน U2T เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณการโดยใช้องค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาประเทศ และสามารถนำโจทย์หรือปัญหาของประเทศ มาสู่การพัฒนาศักยภาพกำลังคน พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนประเทศ ในการดำเนินการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทราบถึงพื้นที่ของชุมชน ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ สภาพปัญหาในด้านต่าง ๆ เพื่อการแก้ไขและการพัฒนา เช่น การพัฒนาในด้านสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การสร้างและการพัฒนายกระดับการท่องเที่ยว การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน รวมถึงการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้กับคนในชุมชน
คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฎบุรีรัมย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยกระดับโดยมีเขตรับผิดชอบดูแลในส่วนของอำเภอบ้านด่านทั้ง 4 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลบ้านด่าน ตำบลวังเหนือ ตำบลปราสาท และตำบลโนนขวาง ซึ่งกลุ่มการปฏิบัติงานของเราได้รับผิดชอบในส่วนของตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน และก่อนที่จะเริ่มจัดทำโครงการกลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่สำรวจและประเมินภาพรวมตำบลเพื่อให้เห็นถึงสิ่งที่จะพัฒนา และสภาพปัญหาที่คนในชุมชนต้องการแก้ไขหรือพัฒนาให้ชุมชนดีขึ้น โดยการนำแบบสำรวจที่เป็นแบบสอบถามลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทั้งหน่วยงานราชการ เทศบาล อำเภอ และลงสำรวจข้อมูลเชิงลึกในครัวเรือนเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล จากการสำรวจ พบว่า เทศบาลตำบลบ้านมีเขตการปกครองครอบคลุมพื้นที่ 1 ตำบล คือ ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 49.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,000 ไร่ประกอบด้วยหมู่บ้าน 20 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่าน โดยแต่ละตำบลเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่นคือภาษาเขมร ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีประเพณี วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานก็ได้ลงสำรวจข้อมูลเชิงลึกเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพของคนในชุมชน ด้านงานหัตถกรรม ด้านงานคหกรรม และด้านการท่องเที่ยว ซึ่งผลของการสัมภาษณ์เชิงลึกทำให้เราได้แนวทางพัฒนาตำบลบ้านด่านที่เด่นชัดทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านสุขภาพของคนในชุมชน เนื่องจากสถานการณ์โควิดกำลังรุนแรง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าคนในชุมชนยังไม่มีความรู้และยังไม่รู้จักแนวทางป้องกันตนเองจากโควิดมากนัก จึงเกิดเป็นโครงการส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะเพื่อป้องกันโรคโควิดในชุมชน และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์
ด้านงานหัตถกรรมพบว่าคนในชุมชนมีความรู้ความสามารถด้านการสานตะกร้าพลาสติกแต่ยังไม่ได้มีการสานต่อกิจกรรม เกิดปัญหาไม่ได้พัฒนาฝีมือ ไม่ได้ออกแบบรูปแบบใหม่ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ไม่มีคนรับซื้อสินค้า และขาดการประชาสัมพันธืสินค้า กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีแนวคิดในการส่งเสริมการสานตะกร้าพลาสติกเกิดเป็นโครงการยกระดับการจักรสานตะกร้าจากพลาสติกให้มีมูลค่าและได้มาตรฐาน มผช. และส่งเสริมด้านการขายสินค้าในโครงการออกแบบผลิตภัณฑ์และโครงการการตลาดออนไลน์และออนไซม์ เพื่อให้สินค้าเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ด้านของงานคหกรรม ตำบลบ้านด่านได้มีการทำข้าวแตนซึ่งถือเป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลแต่ยังไม่มีกลุ่มการจัดทำที่แพร่หลายมากนักในชุมชน มีการจัดทำเพียงขายในชุมชน ไม่มีการรวมกลุ่ม รวมถึงยังไม่ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นรูปแบบที่น่าสนใจมากนัก จากปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดโครงการการยกระดับข้าวแตนให้มีคุณภาพมาตรฐาน มผช
ด้านการท่องเที่ยว จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ตำบลบ้านด่าน มีวัดระหานที่เป็นศาสนสถานที่มีความโดดเด่นในด้านการท่องเที่ยวเป็นสถานที่ที่ร่มรื่น สงบและสวยงาม มีจุดเด่นคือมีนกยูงที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมได้ กลุ่มปฏิบัติงานจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาด้านการท่องเที่ยวโดยมุ่งเน้นไปที่วัดระหานจึงเกิดโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนาธรรม นอกจากนี้ยังมีโครงการด้านต่างๆอีกมากมายที่ส่งเสริมด้านอาชีพ ด้านศักยภาพ และการพัฒนาชุมชนที่ทางผู้ปฏิบัติงานโครงการได้จัดขึ้นเพื่อยกระดับให้ตำบลบ้านด่านมีความเข้มแข็งและเป็นตำบลที่มุ่งสู่ความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น