เรื่อง การผสมพันธุ์ของนกยูง
บทความรายงานผลการปฎิบัติงานประจำเดือนธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๔
ข้าพเจ้า นางสาวปวันรัตน์ ถนัดค้า บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร : การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในตำบลบ้านด่านประจำเดือนธันวาคม พ. ศ. 2564
วัตถุประสงค์เพื่อ กรณีศึกษาการฟื้นฟูและขยายพันธุ์นกยูง
ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเรื่อง การผสมพันธุ์ของนกยูง
นกยูงในวัดระหานสามารถพบได้โดยทั่วไปบริเวณรอบๆของวัด ซึ่งโดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมวัดระหาน จะได้เจอเหล่าบรรดานกยูงตามถนนบริเวณวัดระหาน ป่า เจดีย์ หรือแม้แต่บนหลังคา แต่สำหรับบางคนที่เข้ามาอาจจะไม่ได้พบการรำแพนหางของนกยูงมากนัก นอกจากจะถึงฤดูการผสมพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์ของนกยูง ณ วัดระหาน จะอยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 6 เดือน โดยขนคลุมโคนหางของนกตัวผู้จะเจริญเต็มที่ในเดือนตุลาคม และจะผลัดขนทิ้งอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง
การผสมพันธุ์ของนกยูงสายพันธุ์อินเดียนั้น ตัวผู้จะสามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้มากถึง 4 ตัว หรือเรียกสั้นๆว่า 1ต่อ4 (1:4) หลังจากนั้นตัวเมียจะวางไข่วันเว้นวัน เฉลี่ยครั้งละ 5 – 8 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 – 28 วันหรือประมาณ 1 เดือน ลูกนกยูงแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง
ภาพที่ ๑ นกยูงตัวผู้ขนคลุมโคนหาง
ภาพที่ ๒ นกยูงรำแพนหาง