ข้าพเจ้า นางสาวพิชญาภา  ปีตะเสน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร.) ตำบลบ้นด่าน อำเภอบ้านด่าน
หลักสูตร : NS01 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล
เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้เข้าร่วมกิจกรรมผ้าไทยใส่สนุก ณ วันนี้ 23 พฤศจิกายน 2564 นายเอกสิทธิ์ สองเมือง นายอำเภอบ้านด่าน พร้อมด้วยส่วนราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่อำเภอบ้านด่าน รณรงค์ส่งเสริมสวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยร่วมกันสืบสานการแต่งกายชุดผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง ในวันอังคาร ของทุกสัปดาห์

ผ้าไทยเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมประจำชาติ  และความคิดสร้างสรรค์ของคนในชาติ  ในการรู้จักทำเครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์ใช้สอยในชีวิตประจำวันของคนไทย คนไทยรู้จักการทอผ้ามาตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์  สังคมในชนบทถือว่างานทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงทำกันในครัวเรือนยามว่างจาก การทำไร่ทำนา การทอผ้าจึงมีทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย

พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งลวดลายและสีสันของผ้า สืบทอดเป็นเวลาตามจินตนาการของช่างทอ และอิทธิพลจากปัจจัยอื่น ๆ ในอดีตนั้น ผ้าจัดเป็นวัสดุหลักในการแต่งกายและเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะทางสังคมของผู้ แต่งรวมทั้งตำแหน่งและกำหนดชั้นวรรณะของผู้สวมใส่ ด้วยเหตุนี้ การทอผ้าสำหรับบุคคลที่ใช้จึงมี 3 ประเภทใหญ่ๆ   คือ ประเภทแรก เป็นผ้าทอสำหรับ ประชาชนทั่วไป ซึ่งมีทั้งผ้าที่ใช้สอยในชีวิตประจำวัน และผ้าที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียม  ประเพณีของกลุ่มชน เช่น  ผ้าสำหรับ นุ่งห่มใช้ในงานทำบุญ งานนักขัตฤกษ์ งานเทศกาลหรือพิธีการสำคัญ ๆ ประเภทที่สอง เป็นผ้าสำหรับชนชั้นสูง เจ้านายและพระมหากษัตริย์  เช่น ผ้าปักโบราณ ประเภทต่าง ๆ และ ประเภทที่สาม เป็นผ้าสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และเครื่องใช้ใน พระพุทธศาสนา  เช่น  ผ้าห่มคัมภีร์ใบลาน เป็นต้น  ผ้าไทยมีหลายรูปแบบและ มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีวิวัฒนาการความเป็นมาหลายยุคหลายสมัย โดยส่วนใหญ่ผ้าไทยแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติและบุคคลทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทอมาจากเครื่องกี่มือและกี่กระตุกมีโครงสร้างของเส้นด้ายทำจากเส้นใยธรรมชาติจำพวกไหมและฝ้ายมีเพียงส่วนน้อยที่ทำจากลินิน แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตบางคนดัดแปลงโครงสร้างโดยการนำ “ไหมเทียม” มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ บางชนิดอาจทำจากเส้นด้ายผสมของเส้นใยชนิดต่าง ๆเครื่องมือสำคัญในการทอก็คือ เครื่องทอ ซึ่งคนไทยพื้นบ้าน เรียกกันว่า “ กี่ทอผ้า ”ที่ต้องการให้มีการขัดลายกันระหว่างด้ายเส้นยืน กับด้ายเส้นพุ่ง เป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะให้เกิดเป็นผืนผ้าขึ้น เส้นเครือ จะต้องมีการขึงให้ตึง และยึดอยู่กับที่ ในขณะที่ด้ายเส้นพุ่ง จะต้องพันร้อยอยู่กับเครื่องพุ่ง ซึ่งเรียกว่า กระสวย สำหรับใช้พุ่งด้ายเข้าไปขัดกับด้ายเส้นยืนทุกเส้น และพุ่งกลับไปกลับมา จนเกิดเป็นเนื้อผ้าตามลวดลาย และขนาดที่ต้องการ

การทอผ้าจะมีลักษณะพิเศษเป็นของตนเอง โดยเฉพาะผ้าไหมเป็นผ้าพื้นเมืองประเภทหนึ่งที่นิยมกันมาก เนื่องจากเป็นผ้าที่มีความคงทนอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีความสวยงาม ความแวววาวของเนื้อผ้าไหม ผ้าไหมนอกจากจะเป็นสินค้าสำคัญแล้ว ยังมีบทบาททางสังคมทางสังคมอีกด้วย เช่น การใช้ผ้าไหมที่ต่างชนิด และมีลวดลายต่างกันจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสถานะและสถานภาพทางสังคมได้อีกด้วย ผ้าไหมที่มีชื่อของไทยได้มาจากภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น ผ้าไหมจากหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ภาคอีสาน จากจังหวัดอุดรธานี สุรินทร์ เนื่องจากคุณภาพดี และสีสันลวดลายแปลกตา  ปัจจุบันนี้ผ้าไหมได้พัฒนาจากการผลิตในครัวเรือนไปเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม ที่มีแหล่งผลิตทั่วประเทศ ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหมที่มีคุณภาพดีมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง มีมูลค่าการส่งออกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ตลาดที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น  ในยุคที่ผ้าไทยก้าวสู่ความเป็นสากลโลก ทำให้ไม่มีการจำกัดขอบเขตของการใช้ผ้าไทยอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นแนวแฟชั่นแบบไหนก็สามารถนำผ้าไทยมาดัดแปลงและปรับวิธีการใช้ได้หมด แม้ว่าจะนำเอาผ้าไหม ผ้าเปลือกไหม และผ้าจก มาออกแบบตัดเย็บให้ออกมาในรูปแบบใด ก็สามารถประดิษฐ์ออกมาได้อย่างสวยงาม  งานหัตถกรรมผ้าทอเกือบจะสูญหายไป แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้การสนับสนุนและฟื้นชีวิตผ้าทอให้กลับคืนมาอีกครั้ง โดยพระองค์ทรงสนับสนุนการใช้ผ้าไทยของแต่ละภาคในชุดฉลองพระองค์ในโอกาสต่างๆ

จากการที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมในกิจกรรมผ้าไทยใส่สนุก ข้าพเจ้าได้เข้าใจถึงประเพณี วิถีความเป็นอยู่ของประชาชน ประวัติความเป็นมาของผ้าไทยและอนุรักษ์ผ้าไทยให้สืบสานต่อไป

 

 

อื่นๆ

เมนู