ข้าพเจ้านายสำราญ ภาษีดา ประเภท ประชาชน
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรม ในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
นกยูง เป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณระวังภัยสูง มักหวาดระแวงและสงสัยกับสิ่งผิดปกติเสมอ เช่น เสียงปืน เสียงไม้หัก ไม้ล้มดัง นกยูงจะส่งเสียงร้อง และ การส่งเสียงร้องบนกิ่งไม้ที่จับคอนนอน ในเวลาเช้าตรู่และ ตอนใกล้ค่ำ เป็นการเปิดเผยที่ซ่อนให้ศัตรูผู้ล่าเห็นตัวได้โดยง่าย เป็นสาเหตุหนึ่งที่นกยูงถูกล่า โดยพรานและศัตรูธรรมชาติ
พฤติกรรมโดยทั่วไป ปกตินกยูงจะหากินอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก โดยพบ ตั้งแต่ 2 – 6 ตัว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นตัวเมีย และ นกที่ยังโตไม่เต็มวัย ซึ่งมักติดตามนกตัวเมียอยู่เสมอ อันเนื่องจาก ความสัมพันธ์ในสมัยที่ยังเป็น ลูกนก คอยติดตามแม่ ดังนั้น นกยูงตัวเมียใหญ่ จึงมีบทบาทในการนำ สมาชิก ออกหากิน และ คอยดูแลฝูงให้ปลอดภัย ส่วนนกยูงตัวผู้ ที่โตเต็มวัยแล้ว นอกฤดูผสมพันธุ์ มักอยู่ร่วมหากินกับ ฝูงตัวเมียด้วย แต่เมื่อเข้าฤดูผสมพันธุ์ นกยูงตัวผู้ จะแยกออกจากฝูง อยู่ตามลำพัง อย่างเด่นชัด ในรอบวันหนึ่งๆ นกยูง มีกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ การบินออกจากคอนไม้ลงสู่พื้นป่าเบื้องล่าง เพื่อหากิน และ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เรื่อยๆไปจนเย็น โดยในช่วง ฤดูร้อน และ ฤดูฝน นกยูงจะออกหากินตามหาดทราย ในช่วงหลัง 06.30 น. แต่ถ้าเป็นฤดูหนาว เวลาหากิน จะเลื่อนไปช้ากว่าเดิม อีก ราวหนึ่งชั่วโมง หรือ ชั่วโมงครึ่ง เพราะตอนเช้าในฤดูนี้ บริเวณเหนือลำน้ำจะมีหมอกปกคลุมอยู่หนา ไม่สามารถมองเห็นได้ไกล ศัตรูของ นกยูง เช่น เสือ ชะมด อีเห็น อาจแอบซุ่มรออยู่ตรงไหนก็ได้ นกยูง จึงต้องรอให้แดดออกกล้า เผาหมอกให้จางลงเสียก่อน จึงจะลงจากคอนหากิน แต่ก็มีบางครั้ง ที่อาจพบนกยูงบินร่อนลงสู่หาด ขณะที่กำลังมีหมอกหนา อยู่
เสียงร้องของ นกยูง มีหลายเสียง ซึ่ง จะขึ้นกับลักษณะพฤติกรรมในช่วงนั้นๆ คือ เสียง ” โต้ง โฮ้ง โตังโฮ้ง …. ” เป็นเสียงร้องทั่วไปของนกยูงตัวผู้ ที่ใช้ร้องทั้งวัน อันเป็นการร้อง เพื่อประกาศเขตแดนทั่วๆไป แต่ในระยะผสมพันธุ์ เสียงร้องดังกล่าว จะเพี้ยนต่างไปเล็กน้อย โดยลากเสียงยาวมากขึ้น และ ลงท้ายคล้ายเสียงแมวร้อง ทำให้ได้ยินเป็นเสียง ” โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง โต้งโฮ้ง เมี้ยว ” เสียง ” ตั๊ก ..ตั๊ก ” สั้นๆ ดังขึ้นเป็นช่วงๆ เป็นเสียงร้องเตือนภัย เมื่อเห็นศัตรู หรือ เกิดความสงสัย เสียง “กอก กอก กอก … ” ติดต่อกันเป็นเวลานานเมื่อตกใจ หรือ บางครั้งอาจร้อง ” โต้งโฮ้ง ” เพียงครั้งเดียว เสียง ” อ้าว อ้าว ..” หรือ ” อ่า ฮาก… ” เป็นเสียงนกยูงตัวผู้ ขณะรำแพนหาง หรือ ขณะลงกินโป่ง เพื่อเรียกหาตัวเมีย หรือ เชิญชวนให้นกตัวเมีย เข้ามาใกล้ จะได้รำแพนหางออก หรือ บางครั้ง อาจใช้ในเวลา ตื่นตกใจ หนีไปคนละทิศละทาง เสียง ” ก -รอก…ก ก-รอก…ก ” รัวเบาๆ เป็นการเรียกหากัน ให้กลับมารวมฝูง หลังจากตื่นตกใจ หนี ไปคนละทิศละทาง
ทีมงาน U2T ตำบลบ้านด่านจึงได้ศึกษาพฤติกรรมของนกยูง อาหารของนกยูง รวมถึงการเติบโตของนกยูง เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์นกยูงไม่ให้สูญพันธุ์ เพราะปัจจุบันนกยูงมีจำนวนลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีสุนัขจรจัดไล่กัดและทำร้ายนกยูง ทำให้การศึกษาพฤติกรรมของนกยูงจึงมีความสำคัญ เพื่อให้นกยูงมีจำนวนเพิ่มขึ้น สามารถมาท่องเที่ยวและศึกษาเกี่ยวกับนกยูงได้