ข้าพเจ้า นายยุทธพิชัย ปักกาเวสา บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าได้ลงสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในตำบลบ้านด่านประจำเดือนธันวาคม พ. ศ. 2564
วัตถุประสงค์เพื่อ กรณีศึกษานกยูงอินเดียขาวในวัดระหาน
จุดเด่นของวัดระหานนอกจากพระมหาธาตุเจดีย์แล้ว ถ้ามาวัดแล้วไม่ได้เห็นนกยูงถือว่ามาไม่ถึงวัดระหาน ในวัดมีนกยูงจำนวนมาก พบได้ในทุกพื้นที่ของบริเวณวัด เมื่อก่อนนกยูงในวัดมี 2-3 คู่ และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในวัดระหาน จากนกยูง2-3 คู่ จนถึงปัจจุบันน่าจะมีประมาณ 200 ถึง 300 ตัว นกยูงถูกยกย่องให้เป็นราชินีแห่งนกและถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล ความเป็นอมตะ สัญลักษณ์แห่งความโชคดี และความรัก แม้แต่ในพระพุทธศาสนาก็ยังมีคาถาพญานกยูงทองไว้ใช้สำหรับสวดเพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตราย
นกยูงในวัดระหานเป็นนกยูงสายพันธุ์อินเดียหรือนกยูงฟ้า สำหรับนกยูงขาวนั้นถือเป็นสายพันธุ์หนึ่งของนกยูงอินเดียที่มีการกลายพันธุ์ซึ่งเรียกว่า leucismb จนทำให้เกิดความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีในขนนกยูง โดยปกติสัตว์หลายชนิดที่มีสีผิดปกติเนื่องจากภาวะ leucism มักจะมีนิสัยเชื่องและดูแลง่ายแต่ไม่ใช่สำหรับนกยูงขาวสายพันธุ์อินเดีย เพราะมันยังดูเหมือนกับตัวที่มีสีสันปกติและอาจจะจิกหรือเตะคนที่จะพยายามจับมัน นกยูงขาวสามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณวัดระหาน และธรรมชาติมักสร้างอะไรที่เราคาดไม่ถึงเสมอหนึ่งในนั้นคือนกยูงขาวซึ่งเป็นผลลัพธ์ของความผิดปกติที่งดงาม
ดังนั้น ทางทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราภัฏบุรีรัมย์ NS01 จะเข้ามาช่วยผลักดันการท่องเที่ยวในวัดระหาน และการดูแลนกยูงในวัดระหาน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ทางทีมงานโครงการ U2T และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้วางแผนงานและดำเนินการแก้ปัญหานกยูงภายในวัด ตั้งแต่การจับนกยูงติดห่วงขา ทำวัคซีนและหยอดยาถ่ายพยาธิ อบรมให้ความรู้แก่ชาวในชุมชนเรื่องโรคที่เกิดในนกยูงและการทำอาหารนกยูงเพื่อลดต้นทุน และสุดท้ายทางเราได้ทำจุดให้อาหารยูง 3 จุดหลักๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาให้อาหารนก วัดระหานจะได้กลับมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ภาพกิจกรรม จับนกยูงหยอดยาถ่ายพยาธิและติดห่วงขานกยูง
ภาพกิจกรรม ทำอาหารนกยูงเพื่อลดต้นทุน
ภาพ ทำรางอาหารนกยูง