ภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้าน เป็นเรือมอันเรในที่ได้ลงพื้นที่หมู่ 4 บ้านโคกวัด ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ได้เล็งเห็น ภูมิปัญญา ที่น่าสนใจและควรอนุรักษ์  ภูมิปัญญา ความสามารถประสบการณ์ที่ผ่านการเรียนรู้ และสืบต่อกันมา  คือ การละเล่น เรือมอันเร (กระทบสาก) ซึ่งจะนิยมเล่นในช่วงเดือนห้า(ตรุษสงกรานต์)เล่นเพื่อความสนุกสนานและสร้างความสามัคคีในชุมชน

                ความหมายของเรือมอัมเร แปลมาจากภาษาเขมร คำว่า เรือม แปลว่า “รำ” ลู้ด แปลว่า “กระโดดหรือเต้น” อันเร แปลว่า “สาก” ฉะนั้นคำว่า เรือมอันเร หรือ ลู้ดอันเร แปลว่า “รำสาก” หรือ “เต้นสาก” เรือมอันเรหรือลูดอันเร เป็นการละเล่นของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่เล่นกันในเดือนห้า (แคแจด) ช่วงวันหยุดสงกรานต์มาแต่โบราณ เรียกว่า “งัยตอม” โดยถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านจะพากันหยุดทำงาน ๒ ช่วง ช่วงแรกหยุด ๓ วัน วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๕ เรียกว่า “ตอมตู๊จ” ช่วงที่สองหยุด ๗ วัน เรียกว่า “ตอมทม” วันแรม ๑ ค่ำถึงวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ การหยุดในช่วงที่สองนี้ก่อนจะมีการหยุดพักผ่อน ชาวบ้านจะก่อเจดีย์ทรายที่วัดใกล้บ้าน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ พอเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ทำบุญตักบาตร หลังจากนั้นก็จะหยุด ๗ วัน ในช่วงนี้เองเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวที่รักใคร่ชอบพอกัน  ได้มาพบประกันด้วยการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่า “เรือมอันเร” หรือ “ลู้ดอันเร” ในการแสดงเรือมอันเร ผู้แสดงไม่จำกัดจำนวน การฟ้อนรำแต่เดิมฝ่ายหญิงจะรำรอบสากที่กระทบกัน ฝ่ายชายที่ยืนดูรอบๆ ถ้าใครอยากจะรำคู่กับฝ่ายหญิงคนไหนก็จะเข้าไปโค้งและขอรำคู่ด้วย ถ้าคู่ไหนรำเก่งและมีความแม่นยำในจังหวะการกระทบสากก็จะพากันรำเข้าสากในช่วงที่สากแยกออกจากกัน และรีบชักเท้าออกเมื่อสากกระทบกันตามจังหวะและท่วงทำนองในการแสดง อาจใช้ผู้รำเป็นจำนวนร้อยคนก็ได้

              เรือมอัมเรเป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งถูกสั่งสมมา เป็นวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านและได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องงถิ่นการเล่นเรือมอันเรได้ถ่ายทอดสืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษสู่รุ่นปัจจุบัน

                                         

                                               

อื่นๆ

เมนู