โครงการจักสานชะลอมไม้ไผ่ของชาวบ้านตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวชลิตา ฤทธิรงค์ บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

                            ชะลอม คือ เครื่องจักสานที่สานขึ้นจากตอกไม้ไผ่บางๆ มีหูหิ้ว สามารถใช้เป็นภาชนะใส่ผักผลไม้และสิ่งของต่างๆได้ ชะลอมสานแบบตาเฉลวหกเหลี่ยมตาห่าง มักจะทําเป็นรูปทรงกระบอกแล้วรวบตอกที่ปากมัดเข้าด้วยกันเพื่อหิ้ว การสานชะลอมขึ้นมาใช้ นอกจากจะทําเป็นภาชนะใส่ของที่มีความคงทนแข็งแรงแล้ว รูปทรงและลายสานที่สวยงามของชะลอมยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ปัจจุบันในชุมชนบ้านด่านยังคงทำการจักสานจากไม้ไผ่ แต่มีการให้ความสำคัญกับการทำชะลอมลดน้อยลง เนื่องจากขาดความรู้ในการทำ และส่วนใหญ่จะทำเป็นชิ้นงานอื่นๆ ซึ่งยังไม่พบเห็นการทำชะลอมด้วยไม้ไผ่มากเท่าความต้องการของผู้ซื้อ และยังไม่มีบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารหรือสิ่งของที่ทำมาจากธรรมชาติ ซึ่งชะลอมก็เป็นสิ่งสำคัญที่ชาวบ้านต้องการเรียนรู้และทำเป็นชิ้นงานขึ้นมาเพื่อนำมาใส่เป็นบรรจุภัณฑ์ของสินค้าขึ้นชื่อบ้านด่าน เมื่อข้าพเจ้าและทีมงานพบเห็นปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดความรู้การจักสานชะล้อมด้วยไม้ไผ่ เพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชน และการนำเอาวัสดุในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายและมีอยู่แล้ว คือ ไม้ไผ่ มาทำให้เกิดมูลค่ามากขึ้น

                               การดำเนินโครงการอบรมจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ณ ศาลาประชาคมบ้านโคกขาม หมู่ 11 ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 35 คน การดำเนินกิจกรรมในช่วงเช้าจะให้ชาวบ้านลงทะเบียน จากนั้นจะมีวิทยากรผู้มีความรู้การจักสานไม้ไผ่ 4 ท่าน แบ่งชาวบ้านเป็น 4 กลุ่มตามจำนวนท่านวิทยากรจากนั้นเริ่มลงมือการทำชะลอม ซึ่งการทำชะลอมนั้นมีวัสดุ ที่ใช้เพียง ไม้ตอกเท่านั้น และไม้ตอกก็หาได้ง่ายๆ ตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่แล้วที่ตำบลบ้านด่าน มีขั้นตอนการทำดังนี้1.) นำไม้ตอกที่เราเตรียมไว้มาสานโดยใช้ไม้ตอก 2 เส้น วางไขว้เป็นตัว X 2.) นำไม้ตอกอีก 2 เส้นสานขัดด้านบนและด้านล่าง3.)นำไม้ตอกสานขัด 3 ทิศทางให้ได้ด้านละ 4 เส้น รวมเป็นไม้ตอกทั้งหมด 12 เส้น 4.) จะเห็นว่าไม้ตอกทุกเส้น จะขัดกันธรรมดา ยก 1 ข้าม 1 จะได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง 1 รูปและมีรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบ จำนวน 6 รูป 5.) การขึ้นเป็นตัวชะลอม ให้เลือกจับมุมใดมุมหนึ่งนำไม้ตอกสานขวางจนรอบเป็นวงกลม ปลายไม้ตอกที่รอบให้ทับซ้อนกับจุดเริ่มต้นวนจนหมดความยาวของไม้ตอก 6.) ใช้ไม้ตอกสานลักษณะเดียวกันอีก 2 เส้นโดยรอบจะได้ชะลอมขนาดย่อม 7.) นำไม้ตอกเส้นเล็กสานขัดรอบบนสุดกันหลุด เท่านี้ก็เสร็จสมบูรณ์

                                   ผลการดำเนินการพบว่า ชาวบ้านสามารถจักสานชะล้อมกันได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม ได้คุณภาพ และสามารถทำชะลอมไม้ไผ่ได้คนละ 1 ชิ้นงาน ผลการสำรวจแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมในด้านภาพรวมของโครงการ ร้อยละ 62.86 ด้านการได้รับความรู้ในการแปรรูปผลผลิตสินค้าจักสานความพึงพอใจร้อยละ 54.29 รองลงมาจะเป็นด้านการประชาสัมพันธ์โครงการความพึงพอใจร้อยละ  48.57% ด้านที่ได้คะแนนประเมินน้อยที่สุดคือ ด้านความเหมาะสมของสถานที่มีความพึงพอใจร้อยละ 28.57 และมีรายละเอียดการประเมินความพึงพอใจด้านอื่นๆ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 การแสดงของความพึงพอใจต่อผู้เข้าร่วมโครงการ 35 คน

ตารางที่ 1 : แสดงผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมต่อกิจกรรมโครงการ (n=35)

รายการประเมิน ระดับการประเมิน (35)
5

มากที่สุด

4

มาก

3

ปานกลาง

2

น้อย

1

น้อยที่สุด

กระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ
1.    การประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ 48.57% 28.57% 22.86%
2.    ความเหมาะสมของสถานที่ 28.57% 62.86%  8.57%
3.    ความเหมาะสมของระยะเวลา 31.43% 51.43% 17.14%
4.    การจัดลำดับขั้นตอนของการจัดกิจกรรม 48.57% 28.57% 22.86%
วิทยากร
1.     ความรอบรู้ ในเนื้อหาของวิทยากร 42.86% 42.86% 15.28%
2.       ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ 37.14% 45.71% 17.15%
3.       ความสามารถในการตอบคำถาม 34.29% 51.43% 14.28%
4.       ความเหมาะสมของวิทยากร ในภาพรวม 40% 31.43% 28.57%
เนื้อหา
1.    ท่านได้รับความรู้ในการแปรรูปผลผลิตสินค้าจักสาน 54.29% 37.14% 8.57%
2.    ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้ไปต่อยอดได้ในชีวิตประจำวัน 31.43% 37.14% 31.43%
3.    ท่านได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมในครั้งนี้ 42.86% 45.71% 11.43%
ความพึงพอใจของท่านต่อภาพรวมของโครงการ 62.86% 31.43% 5.71%

 

                             ดังนั้นจะเห็นว่าการจักกิจกรรมข้างต้นชาวบ้านหันมาทำชะลอมจากไม่ไผ่มากขึ้น นอกจากจะสืบสานวัฒนธรรมที่ถูกลืมลือนไปบ้างแล้ว ยังสามารถนำไปขายสู่ท้องตลาดสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ในปัจจุบันมีผู้รับซื้อสินค้าชะลอมไม้ไผ่ที่เทศบาลตำบลบ้านด่าน เป็นอีกช่องทางของคนในท้องถิ่นสามารถนำมาขายได้สะดวก ชะลอมเป็นสินค้าที่มีความต้องการในชุมชน เพราะสามารถนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่สินค้าที่มีในตำบลเช่น ข้าวแต๋น อินทผาลัม ผักออแกนิก ทำให้สินค้าดูสวยงามและดึงดูดลูกค้าได้เพิ่มขึ้น และในอนาคตสามารถนำไม้ตอกมาย้อมเป็นสีต่างๆ และนำมาสานเป็นชะลอมได้หลากหลายสีเพิ่มความสวยงามให้แก่บรรจุภัณฑ์นั่นเอง

อื่นๆ

เมนู