การเลี้ยงเป็ดไข่ ในตำบลบ้านด่าน

นางสาวเจณจิราภรณ์  วงค์ศรี   ประเภท  ประชาชน

หลักสูตร: NS01 การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน

เริ่มแรกเดิมทีชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชไร่ ต่อมาพอทำไปเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกว่าทำรายได้ไม่ค่อยดี ยังไม่ตอบโจทย์ต่อการสร้างรายได้ จึงมองเห็นอีกหนึ่งช่องทางคือการเลี้ยงเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ  ที่น่าจะเป็นอาชีพที่ทำเงินได้เมื่อตัดสินใจที่จะเลี้ยงเป็ดไข่อย่างจริงจัง

จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงเป็ดไข่ ชาวบ้านจึงได้เตรียมพื้นที่บางส่วนที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการเลี้ยงเป็ดไข่ คือปรับให้เป็นพื้นที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยแบ่งคอกกั้นเพื่อเลี้ยงเป็ดให้มีขนาดรุ่นที่แตกต่างกันไป ซึ่งต้นทุนอาหารแบบประหยัด คือให้เป็ดกินพวกรำข้าว ต้นกล้วยสับ และหญ้าทั่วไปที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่นมาให้กินวันละ 3 ครั้ง และจะมีการให้วิตามินบี 12 ผสมกับน้ำเสริมให้เป็ดกินด้วยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง

รำ+ข้าวผสมกับต้นกล้วยสับ

เมื่อเป็ดไข่อายุประมาณ 2 เดือน ก็จะสลับเล้าปล่อยให้ลงเล่นน้ำในสระที่เตรียมไว้ โดยจะไม่ขังให้อยู่ภายในเล้าเพียงอย่างเดียว จึงเป็นสิ่งสำคัญเวลาที่เลี้ยงเป็ดควรแบ่งพื้นที่สำหรับเดินเล่นและว่ายน้ำให้ด้วย จะยิ่งทำให้เป็ดมีความแข็งแรงและต้านทานต่อโรคได้ดีพอเลี้ยงเป็ดมาได้อายุประมาณ 4-5 เดือน เป็ดจะเริ่มให้ไข่ฟองแรกเป็ดทุกตัวจะออกไข่วันละฟองต่อตัวการเลี้ยงเป็ดไข่มีทั้ง ข้อดี เลี้ยงง่าย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว, ปัญหาเรื่องโรคมีน้อย และไข่เป็ดขายง่าย เพราะว่าสามารถแปรรูปได้ เช่น ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ไข่แดงเค็ม จากการเลี้ยงเป็ดไข่เป็นอาชีพเกษตรกรควรเลี้ยงในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชุมชน เนื่องจากเป็ดไข่นั้นส่งเสียงดังตลอดเวลา ส่งกลิ่นอันไม่พึ่งประสงค์ และควรจัดสรรพื้นที่เพื่อใช้ปลูกต้นกล้วยหรือพืชอื่นๆ เพื่อใช้เป็นอาหารลดต้นทุน

     

ควรมีการส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในการเลี้ยงเป็ดไข่สนับสนุนให้เยาวชนในชุมชนที่ว่างงาน หรืออยากมีอาชีพเสริมสร้างรายได้ ให้แก่ตนเองได้เข้ามาร่วมทำงานส่งเสริมให้มีการพัฒนา และต่อยอดในการเลี้ยงเป็ดไข่ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไข่เป็ด

อื่นๆ

เมนู