ข้าพเจ้า นางสาวกัญธนาญา เฮ่ประโคน ประเภทภาคประชาชน
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
พื้นที่ตำบลบ้านด่านมีลำคลองธรรมชาติไหลผ่านตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า “ท้องร่อง” ซึ่งจะไหลมาจากในเมืองบุรีรัมย์ และไหลไปสิ้นสุดที่อำเภอสตึกลงไปยังแม่น้ำมูล ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านในตำบลบ้านด่าน ยังมีการจับปลาเพื่อดำรงชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการจับปลาด้วยการหว่านแห ดั้งนั้นแหจึงเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้หาปลาของคนในชุมชน
อาชีพรับจ้างสานแหซ่อมแห จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญในชุมชน จากการสอบถามข้อมูล นายช้อย ดูเรืองรัมย์ อายุ 68 ปี มีอาชีพรับจ้างสานแหและซ่อมแห ให้ข้อมูลว่าลูกค้าทั่วไปที่มาใช้บริการจะเป็นคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงในตำบลบ้านด่าน จะจ้างให้ทำแหหรือบางรายก็นำแหมากลับมาให้ซ่อมเป็นประจำ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยจะคิดค่าจ้างดังนี้ สานแห 1 หัว ราคา1,500 บาท ซึ่งใช้เวลาในการสานประมาณ 2-3 สัปดาห์ ส่วนการซ่อมแหจะคิดราคาซ่อมเป็นจุด ราค
าจุดละ 5 – 10 บาท แล้วแต่ขนาดหรือความกว้างของจุดที่ขาด หรือบางคนก็ให้ราคาแบบเหมาจ่าย ซึ่งคนจ้างจะซึ้ออุปกรณ์ต่างๆ มาเอง ผู้รับจ้างไม่ต้องลงทุนค่าวัสดุใดๆ เพียงแต่ลงแรงเท่านั้น สรุปรายได้จากการสานแหซ่อมแหเฉลี่ยเดือนละ 3000-4000 บาท ถึงแม้จะเป็นรายได้เพียงเล็กน้อยและไม่ได้เป็นรายได้ประจำทุกวัน แต่ก็สามารถนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้อย่างพอเพียงสำหรับการใช้ชีวิตในชนบท
จากข้อมูลดังกล่าว จึงคิดว่าน่าจะมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการสานแหให้กับชาวบ้านในชุมชน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นการส่งเสริมให้มีรายได้ในการดำเนินชีวิตและหาเลี้ยงชีพ รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยนช์อีกด้วย