ข้าพเจ้านางสาวอนุสรา กองไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
แม่น้ำลำตะโคง เป็นโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2510 สามารถกักเก็บน้ำได้ 7.51 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทาน 20,000 ไร่ และกรมชลประทานรับโอนมาดูแลเมื่อปี 2545 เนื่องจากอาคารระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ มีขนาดเล็ก ไม่สามารถระบายน้ำในลำตะโคงได้ทันกับปริมาณน้ำท่าที่ไหลหลากมามาก เป็นสาเหตุให้น้ำท่วมพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำ ทั้งสองฝั่งของลำตะโคงเป็นประจำทุกปี กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงอาคารระบายน้ำใหม่ เพื่อให้สามารถระบายน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 และแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2551 ซึ่งสามารถบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะโคง ในเขตอำเภอแคนดง อำเภอสตึก อำเภอบ้านด่าน และอำเภอเมือง พื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ การดำเนินการของโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง ในช่วงต่อไปจะเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงระบบชลประทาน ซึ่งจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 10,000 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ชลประทาน 30,000 ไร่
แม่น้ำลำตะโคงในเขตตำบลบ้านด่าน ใช้ทำเป็นแหล่งน้ำประปา เพื่อใช้อุปโภค บริโภค ใช้เป็นแหล่งน้ำในการเพาะปลูก ทำการเกษตร ในเขตอำเภอบ้านด่าน และยังมีการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลบ้านด่าน เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีสัตว์น้ำนานาชนิดมากมายอาใส่อยู่ และมีต้นไม้ให้ความร่มรื่น เหมาะแก่การ พักผ่อนหย่อนใจ และทำกิจกรรมครอบครัว อาทิ การตกเบ็ต การกินข้าวนอกบ้าน และกิจกรรมมากมาย เป็นต้น
ปัญหาที่พบในแหล่งน้ำลำตะโคงของตำบลบ้านด่านนั้น คือ ปัญหาวัชพืชในแหล่งน้ำ คือ ต้นผักตบชวา ซึ่งมีจำนวนมากและขัดขวางการไหลของน้ำในช่วงน้ำหลากอีกด้วย การจัดการกับผักตบชวานั้นมีหลากหลายวิธี อาทิ การนำต้นผักตบมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสาน การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ทั้งนี้ต้องมีหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการแก้ปัญหานี้ อีกด้วย การจัดการผักตบชวานั้นต้องมีการจัดการในทุกๆปี เพราะผักตบชวานั้นมีการเจริญเติบโตที่เร็วมาก