ข้าพเจ้า: นายกฤษณะชัย แขวรัมย์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร:พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าวแต๋น หรือ นางเล็ด เป็นชื่อที่รู้จักกันทางภาคเหนือส่วน นางเล็ด เป็นชื่อที่คนทั่วๆไปใช้เรียกต่อกันมามีจุดกำเนิดมาจากทางภาคเหนือของประเทศไทยเป็นขนมโบราณทำเพื่อเลี้ยงแขกในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่แล้วด้วยความอร่อย ทานง่าย จึงเป็นที่แพร่หลายมีการปรับเปลี่ยนรสชาติและส่วนผสมมากว่าจะทำให้มีรสชาติที่ถูกปากเป็นที่ยอมรับต้องใช้ความอดทนในการลงมือทำเป็นอย่างมากเมื่อพัฒนาจนได้สูตรที่ต้องการแล้วการจะทำเป็นอาชีพสำหรับเลี้ยงครอบครัวหรือจะทำเป็นอาชีพเสริมก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกันเพราะสามารถสร้างรายได้ในยุคที่เกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดวัตถุดิบที่นำมาใช้ก็มีราคาที่ไม่แพงอีกด้วย
จากการที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมตำบลบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมีโอกาสเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับข้าวแตนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน มผช. ในการติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการโดยมีการติดตามผลอย่างไกล้ชิดเพื่อดูความก้าวหน้าของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตข้าวแต๋นทั้งการตาก ทอด การขึ้นรูปการนำมาใส่บรรจุภัณฑ์รวมถึงปัญหาเพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือต่อไปโดยได้ผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการการทำข้าวแต๋นของจังหวัดบุรีรัมย์มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการจาก นางวาสนา ปาละสาร อายุ 54 ปี ผู้ใหญ่บ้านโยนช้า หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นด่านทิพย์สินค้า otop ของจังหวัดบุรีรัมย์รวมถึงคณะวิทยากรจากคณะวิทยาศาสตร์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในการนำสีจากธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบเพื่อใช้ในการทำอาหาร การทำขนม เช่น สีแดง จากแตงโม กระเจี๊ยบ สีเหลืองฝักทอง สีเขียวใบเตยทั้งนี่นางวาสนาได้ดำเนินการก่อตั้งกลุ่มทำข้าวแต๋นมาตั้งแต่ปี 2541 ในปี 2545 จึงได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้า otop เอกลักษณ์ที่ทำให้ข้าวแต๋นด่านทิพย์เป็นที่ถูกใจมาอย่างยาวนานคือมีขนาดพอดีคำมีความหอม กรอบ อร่อย สามารถรับประทานเป็นอาหารว่าง หรือ รับประทานกับนม กาแฟ ในตอนเช้าและยังสามารถนำเป็นของฝากได้อีกด้วยนับจากนั้นเป็นต้นมา บ้านโยนช้า หมู่ 7 ก็ได้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้การทำข้าวแต๋นมีนักเรียน นักศึกษา ส่วนราชการแวะเวียนมาศึกษารวมๆแล้ว 30 รุ่น มีเครือข่ายทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ อาทิ ตำบลวังเหนือ อำเภอประโคนชัย ลำปลายมาศ ส่วนตลาดในการรับซื้อจะมีการสั่งมาจากทั่วประเทศจะจำหน่ายอยู่ที่ถุงละ 35 บาท โดยมีตัวแทนจำหน่ายรับไป อาทิ ห้างทวีกิจ ห้างท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ตโรบินสัน บิ๊กซี ร้านของฝากบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สร้างรายได้ 30,000-40,000 บาทต่อเดือนสำหรับมือใหม่ที่จะเริ่มทำมีงบหลักร้อยก็สามารถทำเป็นธุรกิจได้โดยค่าวัตถุดิบจะอยู่ที่ 200-300 บาทต่อ 1 ครั้งซึ่งถือว่าไม่แพงมากหากมีทุนมากพอก็สามารถขยับไปเป็นหลักพันหลักหมื่นก็จะได้สินค้ามากตามที่ลงทุนไปค่าตอบแทนที่จะได้รับกลับมาก็จะมากเช่นกันพร้อมแนะวิธีการแก้ปัญหาการทำข้าวแต๋นและการทำข้าวแต๋นน้ำแตงโมมีวิธีการทำดังนี้แตงโมคั้น 200 มิลลิลิตร น้ำตาลทราย 40 กรัม เกลือป่น 3/4 ช้อนชา ข้าวเหนียว นึ่งแล้ว1 กิโลกรัม กะทิ 50 มิลลิลิตร หรือจะแทนด้วยน้ำแตงโมทั้งหมดก็ได้ งาดำ ส่วนผสม น้ำตาลราดข้าวแต๋น น้ำตาลมะพร้าว 400 กรัม น้ำตาลทรายแดง 100 กรัม ถ้าไม่อยากให้น้ำตาลสีเข้ม ใช้น้ำตาลมะพร้าวก็ได้ เกลือป่น 1/2 ช้อนชา น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ วิธีทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม ทำแผ่นข้าวแต๋นโดยผสมเกลือกับน้ำตาลทรายลงไปในน้ำแตงโม คนผสมจนละลาย เทน้ำแตงโมลงไปในชามข้าวเหนียว คลุกเคล้าให้ทั่ว ใส่กะทิลงไป พักให้ข้าวดูดน้ำประมาณ 2-3 นาที จากนั้นใส่งาดำลงไปนำพิมพ์จุ่มน้ำตักข้าวเหนียวใส่ลงไปกดให้เสมอกันไม่ต้องกดแน่นมากแค่พอจับตัวกันไม่หลุดจากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 1 วัน พอแห้งดีแล้วนำไปทอดด้วยไฟแรงพอข้าวแต๋นพองสุกเหลืองแล้วรีบตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมันการทำน้ำตาลราดโดยใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไปในหม้อตามด้วยน้ำตาลทรายแดงกับเกลือป่นเติมน้ำลงไปเล็กน้อยต้มด้วยไฟอ่อนจนน้ำตาลละลายตักน้ำตาลราดบนขนมพักจนน้ำตาลเซตตัวก็พร้อมนำมารับประทานส่วนปัญหาการทำขนมข้าวแต๋นส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศถ้าอยู่ช่วงฤดูมรสุมก็จะไม่สามารถนำข้าวแต๋นออกมาตากได้เนื่องจากมีสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยที่จะทำให้ขนมเซตตัวการแก้ปัญหาคือควรมีโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนโดยอาศัยปรากฏการณ์เรือนกระจกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงอบแห้งสูงกว่าอุณหภูมิอากาศแวดล้อมช่วยให้ความชื้นจากผลิตภัณฑ์ระเหยได้เร็วยิ่งขึ้นความชื้นที่ระเหยออกมาจะถูกพัดลมดูดอากาศซึ่งใช้ไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ดูดออกไปภายนอกจะทำให้ลดเวลาตากลงเหลือเพียง 6-8 ชั่วโมงนอกจากนี้การอบแห้งแผ่นข้าวแต๋นดิบในโรงอบแห้งนี้ยังช่วยแก้ปัญหาการรบกวนของแมลงและความเสียหายจากการเปียกส่วนหนึ่งโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนการทำค่อนข้างสูงหากจะใช้วิธีการดั่งเดิมสำหรับคนงบน้อยคือตากแดดจากธรรมชาติแม้จะใช้เวลานานกว่าสุดท้ายก็ได้ผลผลิตเหมือนกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้นการที่มีหน่วยงานราชเข้ามามีกิจกรรมในชุมชนทำให้ชาวบ้านได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆได้รับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งได้ลงมือทำด้วยตนเองจะทำให้เกิดความชำนาญเมื่อได้ลงมือทำบ่อยๆก็เกิดเป็นนิสัยก็เกิดเป็นความเคยชินหวังว่าก้าวต่อไปในอนาคตนั้นต้องยกระดับการผลิตข้าวแต๋นให้ได้มาตรฐานสูงขึ้นมีเครื่องจักรในการผลิตที่มีคุณภาพสูงซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญให้อาชีพนี้เกิดความยั่งยืนอยู่เคียงข้างคนในชุมชนพร้อมกระจายรายได้ให้ทั่วถึงหากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องระหว่างชุมชนและหน่วยงานราชการอย่างเหมาะสม