ข้าพเจ้านางสาวกัญญาณี คณาศรี บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

สำหรับการปฏิบัติงานของเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ดิฉันได้ลงพื้นที่จัดโครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุภายใต้ชื่อ “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน” ซึ่งจัดขึ้นที่ วัดบ้านโคกวัด ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ และหลังจากจบโครงการนี้ก็เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับโครงการที่จะจัดขึ้นในสิ้นเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคมซึ่งจะจัดโครงการเกี่ยวกับด้านคหกรรมและหัตถกรรม หลังจากลงพื้นที่ภายในชุมชนตำบลบ้านด่านได้สังเกตเห็นภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดขึ้นเองเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิควิธีและเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ไม่ว่าจะภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรดูแลสุขภาพ การจักสาน การแปรรูปอาหาร การละเล่นพื้นบ้าน ดังนั้นดิฉันจึงได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ดิฉันจึงเขียนบทความ “เรื่องการละเล่นในวัยเด็กเสริมสร้างสุขภาพที่ดี (โถกเถกหรือเดินไม้ไผ่)”

การละเล่นในวัยเด็กเสริมสร้างสุขภาพที่ดี (โถกเถกหรือเดินไม้ไผ่)

จากการลงสำรวจพื้นที่ในชุมชนตำบลบ้านด่านพบว่า ตำบลบ้านด่านเป็นชุมชนชนบทที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายยังคงพึ่งพาอาศัยธรรมชาติในการดำเนินชีวิตและยังรักษาขนบธรรมเนียมเก่าๆไว้ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ ประเพณี การร้องรำทำเพลง การละเล่นต่างๆในวัยเด็ก พูดถึงการละเล่นในสมัยก่อนมีการการละเล่นมากมายไม่ว่าจะเป็น ขี่ม้าส่งเมือง ม้าก้านกล้วย กระโดดเชือก การรำเข้าจังหวะ เป็นต้น

การละเล่นโถกเถกหรือเดินไม้ไผ่ก็เป็นอีกหนึ่งของการละเล่น อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงแค่ไม้ไผ่กิ่ง 2 ลำถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆสอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้ วิธีการเล่น ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรงๆที่มีกิ่ง 2 ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง 2 ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้น ส่วนมากเด็กๆที่เล่นมักจะมาแข่งขันกันใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ ประโยชน์ของการละเล่นโถกเถกหรือเดินไม้ไผ่ไม่ได้มีเพียงแค่ความสนุกเท่านั้น ยังเป็นเครื่องมือออกกำลังกายที่ช่วยให้ได้บริหารส่วนต่างๆของร่างกายเป็นอย่างดีเพิ่มความแข็งแรงระบบกล้ามเนื้อแขนและขา เพิ่มทักษะการทรงตัวอีกทั้งยังส่งเสริมสุขภาพด้านสังคมและอารมณ์ ในกรณีที่มีการแข่งขันจะทำให้มีปฏิสัมพันธ์แก่บุคคลรอบกายรู้รักสามัคคี มีน้ำใจนักกีฬาอีกด้วย

แม้การเล่นโถกเถกหรือเดินไม้ไผ่ในตำบลบ้านด่านยังมีการเล่นอยู่ เช่นหมู่บ้านกระดึง บ้านหนองบัวทองและบ้านเม็ด แต่ปัจจุบันการไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องด้วยโลกมีกาพัฒนาทั้งความเป็นอยู่ เทคโนโลยี ดังนั้นดิฉันอยากจะเสนอแนะให้ชุมชนมีการรักษาการละเล่นพื้นบ้านไว้สืบทอดให้ลูกหลานรุ่นต่อๆไป โดยจัดกิจรรมการละเล่นพื้นบ้านประจำปี มีการสอดแทรกการละเล่นพื้นบ้านในกิจกรรมการแข่งขันกีฬาหมู่บ้าน เป็นต้น

อื่นๆ

เมนู