การผลิตสินค้าจักสานจากไม้ไผ่
ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาวธิวาพร แปนไมล์ บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าและทีมงานได้เขียนโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตสินค้าจักสานจากไม้ไผ่ งานจักสานไม้ไผ่ เกิดขึ้นโดยการใช้ไม้ไผ่นำมาจัก ผ่า ฉีก ให้เป็นเส้นบาง ๆ แล้วนำมาขัด สาน สอด ไขว้ ขึ้นโครงเป็นรูปทรง ทำเป็นภาชนะ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ จัดเป็นงานศิลปหัตถกรรม และหัตถกรรมฺพื้นบ้านที่มีความผูกพันธ์และอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน แสดงได้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญา บรรพบุรุษ มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณ
ชุมชนตำบลบ้านด่านเป็นชุมชนชนบทประกอบด้วย 20 หมู่บ้าน อาชีพหลักส่วนใหญ่ของคนในชุมชนคือการทำเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และมีคนในชุมชนบางส่วนพบปัญหาการว่างงาน นอกจากอาชีพหลักที่คนในชุมชนประกอบอาชีพแล้วคนในชุมชนตำบลบ้านด่านยังหารายได้เสริมจากการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุธรรมชาติคือการจักรสานไม้ไผ่ ข้าพเจ้าและทีมงานจึงเขียนโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตสินค้าจักรสานจากไม้ไผ่ เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตสินค้าจักสานจากไม้ไผ่ ให้ทำได้อย่างถูกต้องแก่คนในชุมชน พัฒนาและส่งเสริมสินค้าหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปสินค้าจักรสานไม้ไผ่ในชุมชนสู่มาตรฐาน พัฒนาและส่งเสริมการตลาดเพื่อขายสินค้าในชุมชนและจัดส่งออกสู่ภายนอก ให้เกิดกิจกรรมเสริมสร้างการพัฒนาผลผลิตที่มีในชุมชนให้ชาวบ้านได้มีกิจกรรมทำร่วมกันอย่างสามัคคี สามารถพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อย่างเป็นระบบ และเพื่อพัฒนาการแปรรูปสินค้าให้มีมากขึ้นอย่างมั่นคงเพื่อสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นแก่ชาวบ้านในชุมชนต่อไป
สำหรับต้นทุนการผลิต หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตามความต้องการของลูกค้า จากเดิมสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าประมาณ 150 – 200 บาท แล้วแต่ขนาดหรือความน่าสนใจของสินค้า ในปัจจุบันมีความให้ความสนใจน้อย และลูกค้าไม่ทราบแหล่งจัดจำหน่าย ควรที่จะมีการจัดตั้งเพจเพื่อจำหน่ายการจักสานจากไม้ไผ่ ให้มีความทันสมัย และให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน และความยากของงานหัตถกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าหรือความน่าสนใจของสินค้า รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์แหล่งจัดจำหน่ายให้คนรู้จักมากขึ้น เพื่อให้การอบรมเกิดประโยชน์สูงสุด ข้าพเจ้าและทีมงานคิดว่าควรทำแบบสอบถามแจกให้กับผู้อบรมประเมินผลในการอบรมเมื่อจบการทำกิจกรรม เพื่อดูผลลัพธ์ของกิจกรรมที่ได้จัดขึ้น นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์โครงการถึงผลลัพธ์ที่ได้ ทั้งความพึงพอใจในการจัดอบรม ความรู้ และข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงในการจัดการอบรมในครั้งต่อไป