นางสาวเจณจิราภรณ์  วงค์ศรี   ประเภท  ประชาชน

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

          สมุนไพร “ย่านาง” หรือ “ใบย่านาง” พืชสมุนไพรไทย ที่ขึ้นอยู่ตามริมรั้วถูกนำมาใช้ตั้งแต่โบราณ ในการบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ  จนได้ฉายาว่า “ราชินีแห่งสมุนไพร” นอกจากนี้ “ย่านาง” ยังมีการนำมาทำเป็นอาหารหลากหลายเมนู ปัจจุบัน “ย่านาง” ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก เพื่อรักษาอาการป่วยต่าง ๆ รวมทั้งการปรับสมดุลในร่างกาย เพาะ เป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยดับพิษร้อนต่างๆได้

ย่านาง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย หรือ เถา  เมื่อแก่แล้วผิวจะค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่  ในส่วนของใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปใบคล้ายรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว ดอกย่านาง จะออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผล รูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ ใบย่านาง เป็นส่วนที่นำมาใช้รักษาโรคมากที่สุด มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ตามตำรายาสมุนไพร จัดเป็นเป็นยาอายุวัฒนะ  ด้วยสรรพคุณในการป้องกันและบำบัดการเกิดโรคหัวใจ,ป้องกันและลดการเกิดโรคมะเร็ง , ป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ , รักษาอาการ ชัก เกร็ง เป็นตะคริวบ่อยๆ ,รักษาอาการของโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด , ลดอาการปวดตึง ปวดกล้ามเนื้อ , ป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร ,ไทรอยด์ เป็นพิษ ป้องกันการเกิดเกาต์ , บรรเทาโรคความดันโลหิตสูง นอกใบย่านางแล้ว รากย่านาง ก็นิยมนำมาใช้เพื่อแก้อาการไข้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ หรือ ไข้ทับระดู และอาการเบื่อเมาได้

ข้อเสนอแนะ ควรจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นของเรา เช่น ให้ปราชญ์ในท้องถิ่นมาอธิบายองค์ความรู้ เกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่น ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ ถึงประโยชน์ สรรพคุณ ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไม่ให้หายไปจากท้องถิ่นของเรา เพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่คู่กับชุมชนไปอย่างยาวนานยั่งยืน

       

อื่นๆ

เมนู