กลุ่มเปราะบางในครัวเรือน ตำบลบ้านด่าน
ข้าพเจ้านางสาวกมลลักษณ์ ปะวะถา บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน การสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการลงสำรวจข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ปัญหาและความต้องการของชุมชนรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคระบาด Covid-19 ในตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน เมษายน พ.ศ. 2564
จากการดำเนินงานลงสำรวจข้อมูลพบว่ากลุ่มเปราะบางในครัวเรือนของตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 19 คน ผู้ที่อยู่ชายแดน จำนวน 1 คน ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง จำนวน 1 คน เด็กกำพร้า จำนวน 4 คน คนไร้สัญชาติ จำนวน 0 คน อื่นๆ จำนวน 18 คน และไม่มี จำนวน 712 คน
ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในด้านกลุ่มเปราะบางในครัวเรือน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ ไม่มีกลุ่มเปราะบาง คิดเป็น ร้อยละ 94.4 รองลงมาได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียง คิดเป็นร้อยละ 2.5 อื่นๆ คิดเป็น ร้อยละ 2.4 เด็กกำพร้า คิดเป็น ร้อยละ 0.5 และ ผู้ที่อยู่ชายแดน คิดเป็น ร้อยละ 0.1 ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง คิดเป็น ร้อยละ 0.1 ตามลำดับ
จากการดำเนินงานลงสำรวจข้อมูลพบว่ากลุ่มเปราะบางในครัวเรือนในด้านอื่นๆ คิดเป็น ร้อยละ 2.4 แยกเป็นดังนี้ พิการทางการได้ยิน จำนวน 1 คน พิการทางการมองเห็น จำนวน 1 คน พิการทางร่างกาย จำนวน 12 คน และพิการทางสติปัญญา จำนวน 4 คน
ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามในด้านกลุ่มเปราะบางในครัวเรือนในด้านอื่นๆ พบว่า ส่วนใหญ่คือ พิการทางร่างกาย คิดเป็นร้อยละ 66.5 รองลงมาได้แก่ พิการทางสติปัญญา คิดเป็นร้อยละ 22.2 และน้อยที่สุดคือ พิการทางการได้ยิน พิการทางการมองเห็น คิดเป็นร้อยละ 5.6
ปัญหาที่พบ เช่น คนพิการทางกาย ตา และหู มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม ผู้ป่วยติดเตียง มีข้อจำกัดด้านการเข้าถึงการรับรักษาพยาบาล ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง มีข้อจำกัดคือ ลูกหลานทอดทิ้ง อาศัยอยู่เพียงลำพัง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายและไม่สามารถจำกัดความต้องการของตนเองได้ ส่งผลให้เกิดการสร้างหนี้สิน
ความต้องการคือ ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อยากให้ทางภาครัฐเข้ามาดูแลช่วยเหลือ เช่นเรื่องการรักษาพยาบาล การเข้าถึงการศึกษา การสร้างรายได้ การสร้างอาชีพ เพื่อหาเลี้ยงชีพตนเองต่อไป
จากการลงลงสำรวจข้อมูลจึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในครัวเรือน เช่น การช่วยเหลือในการเข้ารับบริการสุขภาพ ช่วยเหลือการเข้าถึงการรักษาเนื่องจากพื้นที่อยู่ห่างไกล ให้ความรู้ด้านสุขภาพ และสิทธิด้านสุขภาพของตนเอง แก่บุคคลที่ยังไม่มีความรู้ ช่วยเหลือในด้านการเข้ารับการศึกษา และส่งเสริมการสร้างอาชีพของกลุ่มเปราะบาง