ที่ได้ลงพื้นที่หมู่19  บ้านหนองหว้า ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ได้เล็งเห็น ภูมิปัญญา ที่น่าสนใจและควรอนุรักษ์ ดนตรีมโหรีพื้นบ้าน ที่ได้ศึกษาไถ่ถาม นายถวัลย์ศักดิ์  นัคราภิบาล วงดนตรีมโหรีพื้นบ้าน  ว่าภูมิปัญญา ความสามารถประสบการณ์ที่ผ่านการเรียนรู้ และสืบต่อกันมาทั้ง  ทางตรงและทางอ้อม คือประสบการณ์ตรงของตนเอง และทางออ้ม คือการเรียนรู้จากผู้อื่นที่สืบทอดกันรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นหนึ่ง เหมือนวงดนตรีพื้นบ้าน (มโหรี) ที่ส่วนมากจะเล่นในงาน พิธีกรรม  ศาสนา วันสำคัญต่างๆ และใช่ในงานอวมงคล  ที่เรียนและเล่นสืบทอดมาจากรุ่นตายาย

                   อีกหมู่บ้านหนึ่งที่ยังมีต้นทุนและภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านเฉพาะถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ชุมชนชาวเขมร ท่วงทำนองและเสียงแม้จะแปลกแปร่งสำหรับคนทั่วไป แต่ก็มีความไพเราะเสนาะหู แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ในอดีตดนตรีพื้นบ้านเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านการฝึกฝนและจดจำ ไม่มีการแกะเป็นโน้ตเพลงบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ปัจจุบันดนตรีพื้นบ้านมโหรี กำลังถูกอิทธิพลของเพลงสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ หลายบทเพลงได้เลือนหายไปตามครูเพลงพื้นบ้านที่ล้มหายตายจาก เพราะคณะมโหรีพื้นบ้านเป็นวงดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ ซื่งได้รับความนิยมในชุมชน นิยมใช้ประกอบขบวนแห่ต่างๆ งานศพ งานมงคล งานประเพณีต่างๆ ซึ่งเครื่องดนตรีหลักประเภทให้จังหวะ จะคล้ายๆ ทุกคณะ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทบรรเลงทำนอง อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า หมู่บ้านไหน จะสามารถเล่นเครื่องดนตรีอะไรได้บ้าง มโหรีพื้น ประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ ปี่ กลองมโหรี เครื่องประกอบจังหวะ

                    ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องงถิ่นและชาติ คือ ภูมิปัญญาซึ่งถูกสั่งสมมา จากประสบการณ์ของชีวิต สังคม และในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยถ่ายทอดสืบต่อกันมา เป็นวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านและได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องงถิ่นการเล่นดนตรีมโหรีพื้นบ้านได้ถ่ายทอดสืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษสู่รุ่นปันจุบันและควนจะสืบสานต่อไป

                                                                         

อื่นๆ

เมนู