ข้าพเจ้านางสาวพัชรียา  หมวดอ่อน ประเภทบัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

การเลี้ยงไก่พื้นบ้านถือเป็นกิจกรรมในครัวเรือนของเกษตรกรตำบลบ้านด่านมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน โดยไก่ที่นิยมเลี้ยงเป็นไก่พันธุ์พื้นบ้าน เนื่องจากเป็นไก่ที่มีความแข็งแรง หากินเองได้ตามธรรมชาติ มีความต้านทานต่อโรคระบาดสูง เติบโตและขยายพันธุ์ได้เร็ว ใช้ต้นทุนน้อย ในอดีตชาวบ้านในตำบลบ้านด่านนิยมดูแลไก่แบบวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีการปฎิบัติกันมานาน นั้นคือการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ โดยจะมีการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ตามครัวเรือนมาใช้ในการดูแลในด้านต่างๆ เช่น การใช้ ใบกระเพรา ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม หรือใบน้อยหน่า รองพื้นที่อยู่เพื่อช่วย ในการกำจัดไรเหาไก่ การทำยาลูกกลอนเพื่อใช้ในการถ่ายพยาธิ สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่เป็นอาหารที่หาได้ง่ายที่เหลือจากการทำการเกษตร เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก ใบตำลึง ผักโขม หรือเศษอาหารในครัวเรือน ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารของไก่ได้ ไก่ที่เลี้ยงจะใช้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนและการจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริมให้กับครัวเรือนนอกเหนือจากการทำการเกษตร

ในปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมบริโภคเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นไก่ที่มีเนื้อแน่นและรสชาติอร่อย เป็นที่ต้องการต่อผู้บริโภคมากขึ้น จนมีแนวโน้มว่าปริมาณไก่พื้นบ้านอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน รวมถึงสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีภัยพิบัติและโรคระบาดต่างๆ เข้ามา ส่งผลให้การเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาตินั้นได้รับผลกระทบจากโรคระบาด เนื่องจากไม่ได้มีการดูแลอย่างทั่วถึง ทำให้ปริมาณของไก่ลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ชาวบ้านในตำบลบ้านด่านจึงได้มีการปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบโรงเรือนมาผสมผสานกับการเลี้ยงแบบปล่อย เพื่อการดูแลที่ง่าย และเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ พร้อมกับการเพิ่มคุณภาพไก่ด้วยการปรับปรุงพันธ์ลูกผสมระหว่างไก่พื้นบ้านกับไก่พันธุ์เนื้อ เพื่อให้ได้จำนวนไก่ที่เพียงพอและมีคุณภาพตรงต่อความต้องการของตลาด ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนของการเลี้ยงไก่แบบผสมผสานนี้จะเริ่มจาก การเตรียมโรงเรือนในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านวัสดุหาได้ในท้องถิ่น ซึ่งจะจัดทำแบบเป็นโรงเรือนในลักษณะกึ่งขังกึ่งปล่อย เป็นโรงเรือนที่มีลานดิน และล้อมรอบไปด้วยอุปกรณ์ที่มีราคาถูกเช่น อวน แห ไม้ไผ่ ให้อากาศถ่ายเทได้ดี และปลอดภัยจากศัตรู พื้นคอกจะมีการปูด้วยแกลบ หรือฟางแห้ง รวมถึงสมุนไพรต่างๆ ตามวิถีดั้งเดิม มีการเตรียม เครื่องกก รางน้ำ รางอาหาร เพื่อเป็นการควบคุมอาหารให้กับไก่เป็นการป้องกันการกินอาหารจากภายนอกที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ นอกจากนี้อาหารที่ให้ในปัจจุบันอาจจะมีความแตกต่างจากในอดีตเล็กน้อยนั้นคือการให้หัวอาหารไก่รวมกับผลผลิตทางการเกษตรซึ่งหัวอาหารนั้นสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดเพื่อสะดวกต่อผู้เลี้ยงและได้คุณค่าทางอาหารมากขึ้น นอกจากกนี้การป้องกันโรคในปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับไก่แทนการผสมยาลูกกอนเนื่องจากสามารถหาซื้อมาฉีดเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากการลงสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนตำบลบ้านด่านพบว่าชาวบ้านในตำบลบ้านมีการเลี้ยงไก่สำหรับใช้บริโภคในครัวเรือน 250 ครัวเรือน โดยเฉลี่ยต่อบ้านประมาณ 7-10 ตัว และมีกลุ่มที่เลี้ยงเพื่อส่งขายเป็นอาชีพจำนวน 65 ครัวเรือนโดยมีปริมาณไก่โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25-40 ตัว

ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าปัจจุบันการเลี้ยงไก่นั้นยังคงเป็นที่นิยมของคนในตำบลบ้านด่านเพราะนอกจากจะเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือนแล้วยังสามารถเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เข้าสู่ครัวเรือนอีกด้วย ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นที่ว่าการเลี้ยงไก่เพื่อการส่งขายในตำบลมีเพียง 65 ครัวเรือนซึ่งคิดเป็น 2 เปอร์เซ็นจากครัวเรือนทั้งหมดของตำบลบ้านด่าน ทั้งที่จริงแล้วยังมีครัวเรือนอีกหลายครัวเรือนที่เลี้ยงไก่ไว้แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการค้าขาย จากประเด็นดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่น่าใจว่าเราที่ควรมีกิจกรรมการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ให้กับครัวเรือนโดยรอบที่เลี้ยงไก่อยู่แล้วหรือผู้ที่มีความสนใจที่จะเลี้ยงไก่เป็นอาชีพ ได้เข้าใจหลักการเลี้ยงไก่ที่ถูกต้องและเพื่อการพัฒนาไปสู่โอกาสด้านอาชีพของคนในตำบล รวมถึงส่งเสริมด้านการตลาดในการประชาสัมพันธ์ให้ภายนอกรู้ว่าตำบลบ้านด่านมีแหล่งไก่บ้านขาย ทั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนหันมาสนใจด้านการเลี้ยงไก่เป็นอาชีพมากขึ้นด้วย

 

อื่นๆ

เมนู