ข้าพเจ้า นางสาวศศิวลัย บุลาลม ประชาชน

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

 

จากการลงสำรวจพื้นที่ในตำบล วัดระหานถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นวัดที่มีชื่อเสียงอย่างมากของตำบล เนื่องจากเป็นสถานที่สงบร่มรื่นและมีจุดเด่นที่สำคัญคือมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก เหมาะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ต้องการไปกราบไหว้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทำบุญและปฏิบัติธรรม แต่วัดระหานก็ได้ประสบปัญหาเกี่ยวกับสุนัขจรจัดเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัดที่มีสถานที่กว้างขว้าง มีอาหารมากมายที่พุทธศาสนิกชนนำมาถวาย สุนัขจรจัดจึงที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากปัจจุบันมีจำนวนถึง 50 ชีวิตซึ่งสุนัขจรจัดมาจากการที่มีคนนำมาปล่อยทิ้งไว้ สุนัขจากชุมชนเข้ามาหาอาหารภายในวัด และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ไม่ได้มีการคุมกำเนิด สุนัขที่เข้ามาก่อให้เกิดปัญหาภายในวัดเป็นอย่างมากเช่น กัดญาติโยมที่เข้ามาเยี่ยมชมวัด เห่าหอนเสียงดังรบกวน และปัญหาที่สำคัญคือการที่สุนัขเข้าไปกัดนกยูงจนทำให้นกยูงได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย รวมถึงกัดกินไข่ของนกยูง ส่งผลให้นกยูงซึ่งเป็นสัตว์ที่โดดเด่นประจำวัดไม่ได้มีการขยายพันธ์และมีจำนวนลดน้อยลงไป

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ผ่านมาสุนัขจรจัดถูกมองว่าเป็นปัญหาสังคมที่สร้างผลกระทบด้านต่างๆมากมาย ทั้งเห่าหอนสร้างมลภาวะทางเสียง วิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คุ้ยขยะสกปรกเรี่ยราด ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทางส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ ที่สำคัญยังถูกมองเป็นพาหะทำให้เกิดโรคระบาด โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า สุนัขจรจัดที่เข้ามาอาศัยอยู่ในวัดแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สุนัขเร่ร่อน พบได้ตามข้างถนน ไม่มีใครให้อาหาร จึงต้องคุ้ยเขี่ยตามถังขยะ สุนัขเร่ร่อนจะมีอายุสั้น เนื่องจากอาจเกิดจากรถชนตายหรือไม่ก็ป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ส่วน สุนัขชุมชน เป็นสุนัขจรจัดที่มีคนใจดีคอยให้อาหาร จับทำหมัน ฉีดวัคซีน แต่มักไม่มีใครอ้างตัวเป็นเจ้าของที่แท้จริง “สุนัขจรจัดไม่ใช่หมาป่า แต่เป็นสุนัขลี้ยง หรือเรียกได้ว่าเป็นหมาบ้านมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นสุนัขที่เจ้าของเลี้ยงแบบปล่อยปละละเลย ให้ออกไปนอกบ้านแล้วผสมพันธุ์กับสุนัขจรจัดตัวอื่นจนออกลูก หรือสุนัขที่ถูกเจ้าของทอดทิ้ง ทัศนคติผิดๆที่ปลูกฝังกันมาช้านานในกลุ่มคนเลี้ยงสุนัขจำพวกคือ ‘คิดอะไรไม่ออกก็เอามาปล่อยวัด’ ส่งผลให้พระต้องแบกรับภาระเลี้ยงสุนัขที่ถูกทอดทิ้งนับร้อยตัว เห่าหอนโหวกเหวก ขับถ่ายเรี่ยราดจนทำให้บรรยากาศที่ควรสงบร่มเย็นกลายเป็นโกลาหลวุ่นวาย

ปัจจุบันหน่วยงานราชการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล อำเภอ กรมปศุสัตว์จังหวัด จึงได้มองเห็นถึงปัญหาในการพัฒนาวัดระหานเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญประจำตำบลซึ่งจุดเด่นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญคือการที่เข้ามาเยี่ยมชนสถานที่ภายในวัดและเข้ามาชมนกยูง จากปัญหาที่นกยูงมีจำนวนน้อยลงจากการที่มีสุนัขจรจัดเข้ามาอยู่อาศัยรบกวนธรรมชาติความเป็นอยู่ของนกยูง จึงได้มีการประชุมวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาสุนัขภายในวัดและได้ขอสรุปร่วมกันว่าจะนำสุนัขทั้งหมดนั้นไปไว้ที่ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์มีการจัดสถานพักผิงสุนัขจรจัดซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลฟื้นฟูสัตว์เลี้ยง และรองรับสุนัขจรจัดและสุนัขที่เจ้าของไม่สามารถดูแลได้ ซึ่งกรมปศุสัตว์จะเดินเนินการในการบริหารจัดการสุนัขเหล่านั้น ทั้งในด้านสุขภาพ อาหารและที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชน และร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสุนัขเหล่านั้น และสามารถรับสุนัขภายในศูนย์ฟื้นฟูสัตว์เลี้ยง เพื่อนำไปอุปการะเลี้ยงดูได้

แต่เนื่องจากว่าจำนวนสุนัขนั้นมีจำนวนมากถึง 50 ตัวทางกรมปศุสัตว์จึงได้มีข้อเสนอว่าสามารถนำในส่วนสุนัขที่มีปัญหาเข้าศูนย์ฟื้นฟูสัตว์เลี้ยง ส่วนสุนัขที่ไม่ได้ก่อความวุ่นวายทางกรมปศุสัตว์จะเข้ามาดูแลในส่วนของการทำหมัน ฉีดวัคซีนและร่วมกันแก้ปัญหาที่อยู่ภายในวัดโดยแบ่งเขตพื้นที่สำหรับอนุรักษ์นกยูงให้พื้นที่ของนกยูงดังกล่าวไม่มีสุนัขสามารถเข้าไปได้ หรือจัดพื้นที่กรงเลี้ยงสำหรับสุนัข ไม่ให้เข้ามาในเขตพื้นที่ที่มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวอาจช่วยแก้ปัญหาที่สุนัขจรจัดภายในวัดได้ จากการประชุมหารือร่วมกันทางหน่วยงานราชการก็จะเริ่มดำเนินการติดต่อทางศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงและเพื่อการดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป ในฐานะผู้ปฏิบัติงานโครงการตำบลบ้านด่านจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนและติดตามผลการแก้ปัญหาเพื่อให้วัดระหานได้กลับมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลต่อไป

อื่นๆ

เมนู