ข้าพเจ้านางสาวพัชรียา หมวดอ่อน ประเภท บัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรม ในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

เกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการก่อสร้างโดยพระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม) เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา วัดระหานปูชนียสถานที่สำคัญ คือ พระมหาธาตุรัตนเจดีย์ ศรีบุรีรัมย์ นอกจากนี้หลวงปู่จันทร์แรมได้มีการนำนกยูงมาปล่อยเพื่อผู้ที่มากราบไหว้สักการะพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ได้ชมความสวยงามในขณะที่เดินหรือบำเพ็ญเพียรบริเวณวัด จนทำให้นกยูงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นและจุดดึงดูดของวัดระหาน นกยูงเป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้ามีขนาดใหญ่ที่สุดในวงค์เดียวกัน มีจุดเด่นคือรักเดียวใจเดียวมีคู่เดียวไปตลอดชีวิต เพศผู้จะมีขนหางยาวมีสีสันที่สวยงามแผ่ขยายออกเพื่ออวดและดึงดูดเพศเมีย นกยูงจะอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผสมตามริมธาร ซึ่งบริเวณวัดนั้นรายล้อมด้วยลำน้ำตะโคงมีต้นไม้รายล้อมบริเวณวัด ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของนกยูงในช่วงแรกที่นำนกยูงเข้ามานกยูงได้มีการขยายพันธ์เป็นจำนวนมากจนทำให้นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาได้เยี่ยมชมความสวยงามและเป็นที่ดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมภายในวัดจำนวนมาก

ต่อมาภายหลังนอกจากนกยูงที่อาศัยอยู่เป็นประจำแล้ว ก็มีสัตว์อีกหลายชนิดเข้ามาอยู่อาศัยภายในวัด เช่น สุนัข แมว ตัวเงินตัวทอง เป็นต้น เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์และอาหารที่พุทธศาสชนิกชนได้นำมาถวายและได้ให้กับสัตว์ จึงทำให้บริมาณสัตว์อื่นๆ เพิ่มมาขึ้น แต่การเพิ่มของสัตว์ดังกล่าวโดยเฉพาะสุนัขที่มีคนนำมาทิ้งไว้ที่วัดเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของนกยูง เนื่องจากนกยูงเป็นสัตว์ที่รักความสงบไม่ชอบเสียงดัง แต่สุนัขที่เห่าหอนกันตลอดเวลา จึงส่งให้นกยูงที่เคยเดินบริเวณวัดต้องหลบขึ้นไปบริเวณที่สูง นอกจากนี้สุนัขยังทำร้ายนกยูงรวมถึงการกัดกินไข่นกยูงซึ่งเป็นผลทำให้นกยูงที่เคยแพร่พันธ์ได้กลับมีจำนวนลดน้อยลงทุกวัน ในขณะที่จำนวนสุนัขหรือสัตว์อื่นๆมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

จากปัญหาดังกล่าวทางตำบลบ้านด่านจึงได้มีการจัดประชุมกันเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนกยูงภายในวัดระหาน โดยการประชุมมีหน่วยงานราชการสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทั้ง นายกเทศมนตรี นายอำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด มหาวิทยาลัยราชภัฐบุรีรัมย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลนกยูงมาให้การแนะนำเกี่ยวกับการดูแลนกยูง จากการประชุมและการเยี่ยมชมบริเวณวัดเนื่องจากทางวัดมีการเลี้ยงนกยูงแบบปล่อยตามธรรมชาติ นกอยู่จะอยู่ปะปนกับคน สัตว์อื่นๆ ส่งผลให้นกยูงเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยได้และจากปัญหาที่สุนัขกินไข่นกยูงจนทำให้นักไม่สามารถขยายพันธ์ได้ ทางผู้เชี่ยวชาญด้านนกยูงจึงมีข้อเสนอว่าให้ใช้ Zoning สำหรับนกยูง กล่าวคือการทำพื้นที่กรงขนาดใหญ่จะกักพื้นที่ให้นกยูงอยู่ในบริเวณที่กำหนดโดยยังคงให้อยู่ตามธรรมชาติ แต่สัตว์ชนิดอื่นไม่สามารถเข้าไปรบกวนได้ เพื่อที่ป้องกันสัต์อื่นทำลายไข่ของนกยูง รวมถึงทำใหนกยูงรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเป็นการอนุรักษ์นกยูงเพื่อไม่ให้นกยูงมีจำนวนลดลง

ทั้งนี้การเพาะและขยายพันธ์นกยูงก็เป็นวิธีหนึ่งช่วยเพิ่มจำนวนนกยูงให้มากขึ้น ซึ่งนกยูงมีลักษณะสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ เพราะเป็นหนึ่งในราชินีแห่งนก ที่มีท่าไม้ตายคือการ ‘รำแพน’ หาง เพื่อหาคู่ชีวิตของตัวผู้ นอกจากเลเยอร์ของสีเขียวตามลำตัวที่ไล่อย่างมีจังหวะแล้ว ลายวงกลมจุดๆ คล้าย Polka Dot ที่ถูกเรียกว่า ‘แววมยุรา’ ยามเมื่อนกยูงรำแพน ล้วนเป็นเสน่ห์ที่ไม่ได้ดึงดูดเฉพาะตัวเมีย แต่ยังถูกตาต้องใจคนทั่วไปด้วย

นอกจากนี้ยังต้องขอความร่วมมือของคนในชุมชนในการที่ต้องดูแลไข่ของนกยูงโดยผู้เชี่ยวชาญจะนำเครื่องเพาะไข่นกยูงมาไว้ให้ที่บริเวณวัด หากวัดสามารถปรับพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยของนกยูงได้ก็จะทำให้ผู้ดูแลสามารถเข้าไปนำไข่นกอยู่มาไว้ในที่เพาะไข่ เพิ่มโอกาสการอยู่รอดของนกยูงได้มากขึ้น ซึ่งแผนการจากการประชุมนั้นก็ได้รับความสนใจจากทางหน่วยงานราชการ และการแก้ปัญหาดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการโดยทีมงานโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราภัฏบุรีรัมย์ที่จะเข้าไปเก็บข้อมูลวางแผนงานและดำเนินการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาวัดระหานให้กลับมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของตำบลต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู