อบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วย มันเทศ)ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวชลิตา ฤทธิรงค์ บัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01
ข้าพเจ้าและทีมงานชุมชนบ้านด่านเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ผู้คนสามารถผลิตปัจจัยในการดำรงชีวิตได้เองเป็นส่วนใหญ่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นอีกวิธีที่คนในชุมชนให้ความสนใจแต่ขาดความรู้ และการให้ความสนับสนุน เพราะในการแปรรูปจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่นำมาใช้แปรรูปต้องอยู่ในสภาพดี เมื่อแปรรูปแล้วจะได้อาหารใหม่ที่มีรสชาติ ลักษณะแตกต่างไปจากอาหารเดิมมองดูน่ารับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่แปรรูปต้องไม่สูญเสียมาก และต้องไม่นำสารปรุงแต่งอาหารที่ให้โทษมาใช้ในการแปรรูป
ปัจจุบันในชุมชนบ้านด่านยังคงทำการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วย มันเทศ) แต่มีการให้ความสำคัญลดน้อยลง เนื่องจากขาดความรู้ในการทำและการให้ความสนับสนุน ข้าพเจ้าและทีมงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในชุมชนและช่วยป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาด และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะทำการอบรมวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์โดยการนำกล้วยมาอบ ชุบแป้ง แล้วนำไปทอดให้กรอบ ในกระบวนการทอดเพื่อให้แป้งที่เคลือบ กล้วยอบสุกและกรอบ ใช้วิธีทอดแบบน้ำมันท่วม (deep frying) โดยใช้อุณหภูมิในการทอด ประมาณ 150 – 160 องศาเซลเซียส และใช้เวลาทอดประมาณ 10 นาที และมันเทศจะทำการแปรูปโดยการนำมันมาหั่นเป็นเส้นๆ แล้วทอดในอุณหภูมิ 150 – 160 องศาเซลเซียส ใช้วิธีทอดแบบน้ำมันท่วม (deep frying) เช่นกัน เพื่อให้มันกรอบและอยู่ได้นาน อีกทั้งยังทำการแปรรูปกล้วย มันเทศ ให้เป็นอาหารที่มีคุณภาพ หรือความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) ที่ได้มาตรฐานโดยคำนึงถึงหลัก 3 ส. ได้แก่
- สงวนคุณค่า คือ มีวิธีการปรุงเพื่อช่วยสงวนคุณค่าของอาหารให้มีประโยชน์เต็มที่
- สุกเสมอ คือ ใชความร้อนในการปรุงอาหารให้สุกเพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรค
- สะอาดปลอดภัย คือ อาหารดิบก่อนปรุงทุกครั้งต้องอยู่ในสภาพที่สะอาด ปลอดภัยและมี กรรมวิธีในการปรุงอาหารที่สะอาดถูกต้อง ผู้ปรุงอาหารมีสุขนิสัยในการปรุงอาหารที่ดีใช้ ภาชนะอุปกรณ์และสารปรุงแต่งอาหารที่ถูกต้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับจาการสำรวจและการวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประชาชนสามารถพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วย มันเทศ) ให้เป็นไปตามกระบวนการอย่างถูกวิธี พร้อมการส่งเสริมสินค้าคหกรรม และผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (กล้วย มันเทศ) ในชุมชนสู่มาตรฐาน อีกทั้งยังสามารถพัฒนาและส่งเสริมการตลาดเพื่อขายสินค้าชุมชน ทำให้เกิดกิจกรรมเสริมสร้างการพัฒนาผลผลิตที่มีในชุมชนให้มีมากขึ้น สามารถพัฒนาการแปรรูปสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน และสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นแก่ประชาชนในชุมชนบ้านด่าน จังวัดบุรีรัมย์