1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  3. AG01(1) - ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง
  4. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ NS02  ตำบล ชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัด บุรีรัมย์ (การจัดโครงการ “ข้าวพันธุ์ดี”)

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ NS02  ตำบล ชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัด บุรีรัมย์ (การจัดโครงการ “ข้าวพันธุ์ดี”)

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ NS02  ตำบล ชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัด บุรีรัมย์ (การจัดโครงการ “ข้าวพันธุ์ดี”)

ดิฉัน นางสาวจีราพร เกตุสุวรรณ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ตำแหน่งประชาชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  ในหลักสูตร NS02 คณะพยาบาลศาสตร์ ตำบล ชุมเห็ด อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์

การปฏิบัติงานในช่วงเดือนที่ผ่านนี้ ทางคณะผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร   คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดโครงการ “ข้าวพันธุ์ดี” ขึ้นมา เพื่อตอบสนอง ตามแบบสำรวจความต้องการของเกษตรกรในชุมชน ตำบล ชุมเห็ด ในการส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาพันธุ์ข้าว ให้ได้คุณภาพซึ่งทางคณะผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มีการประชุมวางแผนการทำโครงการเพื่อปรึกษา หารือ แนวทางในการ ดำเนินโครงการ และได้มอบหมาย แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติการทำงานในครั้งนี้ด้วย

วัน อังคาร ที่ 22 เดือน มิถุนายน 2564 ได้ดำเนินการจัดโครงการ “ข้าวพันธุ์ดี” โดยสถานที่ในการจัดโครงในครั้งนี้ คือบ้านหนองไผ่ใหญ่ มีชาวบ้านและชาวเกษตรในชุมชน ได้เข้าร่วมและให้ความสนใจเป็นจำนวน 60 คน  ซึ่งทางคณะผู้ปฏิบัติงาน ได้เชิญวิทยากรจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวต่างๆ แล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วนิดา วัฒนพายัพกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้มาร่วมให้ความรู้แก่ชาวบ้านในครั้งนี้ด้วย  ซึ่งได้มาให้ความรู้ เกี่ยวกับการผลิตข้าวยังไง ให้ได้คุณภาพ ตามมาตรฐาน GAP และขั้นตอนการขอมาตรฐานคุณภาพข้าว อีกทั้งความรู้การนำผลผลิต จากพันธุ์ข้าว ไปต่อยอดเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจภายในชุมชน และสร้างความมั่นยืนอีกด้วย และการให้ความรู้กับชาวบ้านและชาวเกษตรกรในครั้งนี้ ดำเนินไปอย่างราบรื่นด้วยดี

ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และทำให้ชาวบ้าน ชาวเกษตรกร ได้นำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาในการยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนอีกด้วย สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบพระคุณคณะอาจารย์ ประจำหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ทุกๆท่าน และคณะผู้ปฏิบัติงาน ชาวเกษตรกร และชาวบ้านในชุมชน ที่ทำให้โครงการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

อื่นๆ

เมนู