ข้าพเจ้านายณรงค์เดช ธรรมนิยม ผู้จ้างงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ NS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์
ในเดือน ตุลาคม 2564 ได้มีจัดประชุมการทำงานชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในส่วน บัณฑิตจบใหม่ ประชาชนและนักศึกษา ในการจัดโครงการการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยว ในตำบลชุมเห็ด
จุดที่ 1 วัดป่ารุ่งอรุณ หมู่ 4 บ้านตราดตรวน เป็นวัดสายพระธรรมยุต เชิญชวนนักท่องเที่ยวทำบุญถวายภัตตาหาร สังฆทาน ชมพระอุโบสถ 2 ชั้น มีการวาดภาพจิตกรรมฝาผนัง ภาพวาดด้วยมือของนักศิลป์อย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังมีการสร้างอาคารปฏิบัติเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนและยังมีการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ชุมชนไว้ในวัดเพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้เรียนรู้ อีกด้วย
จุดที่ 2 เป็นฐานเรียนรู้การทอผ้าไหม หมู่ 10 บ้านหนองตราดน้อย มีการรวมกลุ่มการทอผ้าไหมและจัดจำหน่ายสินค้า การแปรรูปผ้าไหม เช่น กระเป๋า ชุดเสื้อผ้า เป็นต้น
ฐานว่าวแอกอีสาน โดย คุณพ่อณรงค์ อุไรแข เป็นวิทยากรประจำฐานให้ความรู้ และ คุณแม่เฉลียว อุไรแข ท่านทั้งสองได้กล่าวความรู้สึกด้วยปิติยินดี เป็นอย่างมากที่ได้ถวายว่าว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และท่านทั้งสองได้รับรางวัลอย่างมากมายและได้ไปประกวดทั่วทุกภาคของภาคอีสานและได้รับรางวัลชนะเลิศ
ว่าวที่คนอีสานนิยมเล่นนั้น คือ ว่าวสองห้อง หรือว่าวดุ๊ยดุ่ย ถือเป็นว่าวพื้นเมืองอีสาน รองมาคือ ว่าวอีลุ้ม ว่าวจุฬา ว่าวประทุน และเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ประชาชนมักจะจัดให้มีการแข่งขันว่าว โดยมีการกำหนดการตัดสินที่หลากหลายกันไป เช่น ความสวยงาม หรือว่าวที่ขึ้นลมได้สูงที่สุด ว่าวที่มีเสียงดังและไพเราะที่สุด เป็นต้น
ว่าวสะนูนั้นไม่มีขนาดที่แน่นอน แต่ที่พบโดยทั่วไปจะมีขนาดความกว้างและความสูงประมาณ 120 -180 เซนติเมตร ลักษณะว่าวสะนูจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ส่วนลำตัว เรียกว่า ช่วงแม่ว่าว ส่วนกลาง เรียกว่า ช่วงลูกว่าว ทำเป็นว่าวขนาดเล็ก เว้นระยะจากตัวแม่ว่าวตามสมควร การเว้นระยะห่างถ้ายิ่งมากยิ่งทำให้ว่าวแกว่งตัวมากขึ้น และส่วนสุดท้าย เรียกว่า ว่าวตาแหล่ว เป็นส่วนที่จะต่อกับหางว่าวจำนวน 1 คู่ เพื่อช่วยในการทรงตัวในขณะที่ลอยอยู่ในอากาศ โดยทำเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
ว่าวสองห้อง หรือว่าวดุ๊กดุ่ย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ว่าวสะนู ว่าวธนู ว่าวใหญ่ ว่าวลูก ว่าวห้อง จุดเด่นของว่าวสองห้องที่เล่นกันในภาคอีสาน คือ การติดคันสะนูไว้ที่ส่วนหัว เมื่อสะนูต้องลมแล้วจะมีเสียงคล้ายเสียงดนตรี จึงนิยมเรียกว่าวสองห้องนี้ว่า “ว่าวสะนู”
วัสดุอุปกรณ์ในการทำว่าวสะนู ของชาวอีสานนั้น จะเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ๆ ในท้องถิ่น ประกอบด้วย 2.กระดาษสำหรับติดว่าว สมัยก่อนจะนิยมใช้กระดาษที่ใช้ทำกระสอบปูนซีเมนต์ ซึ่งมีความเหนียวและหนา ปัจจุบันมีการนำเอาพลาสติก กระดาษห่อพัสดุ มาใช้แทนได้ 3.หางว่าว จะใช้เศษผ้า ถุงปุ๋ยซึ่งเป็นถุงพลาสติก ฉีกเป็นริ้ว ๆ ต่อกันยาวไม่ต่ำกว่า 50 เมตร
โครงสร้างของว่าว ทำด้วยไม้ไผ่เหลากลม ซึ่งอาจจะเป็นไผ่สร้างไพร (ไผ่เซียงไพ) หรือไผ่บ้านที่แก่จัด แกนของว่าว ใช้ไม้ไผ่เหลากลม สูงประมาณ 150-180 เซนติเมตร ส่วนแม่และลูกว่าวจะใช้ไม้ไผ่เหลากลมแล้วโค้งมัดติดกับแกน โดยแม่ว่าวจะมีความกว้างประมาณ 120-150 เซนติเมตร ลูกว่าวกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแม่กับลูกว่าว ประมาณ 20-30 เซนติเมตร5.กาว สำหรับติดกระดาษเข้ากับโครงว่าว
มีดตอกหรือพร้า สำหรับเหลาไม้ไผ่
แว่วเสียงสะนู สะนู มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น ธะนู ธนู อูด หรือที่ทางใต้เรียกว่า แอก มีลักษณะคล้ายคันธนู ชาวอีสานจะเอาสะนูติดที่หัวว่าว เมื่อว่าวติดลมบนลมจะสะบัดสะนูทำให้เกิดเสียง ตื๊อตึ่ง ตื๊อตือ ตื๊อตึ่ง คล้ายเสียงดนตรี จึงเรียกว่าวที่ติดสะนูนี้ว่า “ว่าวสะนู”
วัสดุอุปกรณ์ในการทำสะนู
1.คันสะนู จะทำด้วยไม้ไผ่ โดยเลือกต้นไผ่ที่สมบูรณ์และแข็งแรง ไม่มีแผลเน่า ลำต้นยาวตรงและมีหน่อไผ่กำลังขึ้นมาแทนที่ ไม่ควรเลือกต้นไผ่ที่มีความแก่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดแตกหรือหักได้ ตัดไม้ไผ่ให้ได้ใกล้เคียงกับขนาดว่าวที่จะนำสะนูไปติด วัดแบ่งครึ่งหรือระหว่างกึ่งกลางไม้ไผ่แล้วเหลาหัวท้ายให้เรียวลักษณะเป็นท้องปลิง ลนไฟที่ส่วนปลายทั้งสองข้างแล้วดักให้โค้งเล็กน้อยและทำรอยหยักให้เป็นเดือยยาวประมาณ 1 เซนติเมตรสำหรับมัดใบสะนู ใช้กระดาษทรายขัดผิวให้เรียบ ลบรอยเสี้ยน นำไม้ไผ่ไปผึ่งแดดประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำให้ไม้ไผ่ดัดทรงง่ายและไม่คืนตัว ในสมัยก่อนจะมีการถักเส้นหวายเพื่อตกแต่งคันสะนูให้สวยงามด้วยลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายจูงนาง ตรงกลางคันสะนูอาจจะมีการเจาะรู หรือทำช่องไม้ประกบสำหรับเสียบเข้ากับว่าว
2.ใบสะนู หรือเปิ้นสะนู หรือปื้นสะนู ขนาดของใบสะนูที่ดีจะมีความกว้างและความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ความยาวขึ้นกับความยาวของคันสะนูหรือประมาณ 1 ใน 2 ส่วน ปลายใบสะนูทั้งสองข้างจะถูกเจาะเป็นรูสำหรับร้อยสายรั้งหรือเคาสะนู ใบสะนูจะทำมาจากวัสดุต่าง ๆ ได้แก่
หวาย นำไปลนไฟอ่อน ๆ แล้วดัดให้ตรงได้ที่แล้วแช่น้ำเย็นซักครู่เพื่อไม่ให้คืนตัว เหลาแบนและบาง ส่วนปลายทั้งสองข้างให้เหลือเป็นปมลักษณะกลม ๆ ไว้ ตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ เป็นวัสดุที่ให้เสียงดีและเหนียว ทนทาน ไม้ไผ่ เหลาแบนและบาง ตัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ ใบลาน ใบตาล ใบเกด(การะเกดหรือลำเจียก) จะเลือกใบที่สมบูรณ์ นำมาตากให้แห้ง และตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ เส้นพลาสติก ( ที่ใช้สำหรับรัดกล่อง หรือสานตะกร้า) เครือหมากแตก หรือกระทงลาย ให้เสียงนุ่มนวลแต่ไม่ทน(ศรีสะท้าน
ทองเหลือง นำมาตีให้เป็นแผ่นบาง ๆ
สายรั้ง หรือเคาสะนู เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างใบและคันสะนูทั้งสองข้าง จะใช้เชือกที่มีความเหนียวและน้ำหนักเบาซึ่งพริ้วไหวได้ดี เช่น เส้นไหม เอ็น เชือกไนล่อนแบบอ่อน ความยาวของสายรั้งมีผลกับเสียงที่เกิดขึ้น คือ ถ้าหากสั้นเสียงจะดังถี่ ถ้าสายยาวเสียงจะดังยาวกว่า และถ้าเส้นเล็กเกินไปจะขาดง่าย ส่วนถ้าเส้นใหญ่เกินไปจะทำให้มีน้ำหนักเยอะเคลื่อนไหวได้ไม่ดี
ชันโรงหรือขี้สูด สำหรับติดถ่วงส่วนหัวของใบสะนูทั้งสองข้าง หรือบริเวณที่ร้อยกับเชือก ชันโรงจะช่วยในการปรับเสียงและป้องกันการเกิดขนที่สายเป็นการยืดอายุการใช้งาน (ATTIE MURRAY, 2561) การปรับเสียงสะนูจะนำชันโรงมาติดกับใบสะนูเป็นจุด ๆ จากนั้นแกว่งสะนูเพื่อฟังเสียง ปรับจุดและปริมาณชันโรงที่นำมาติดใบสะนูจนกว่าจะได้เสียงที่ไพเราะถูกใจ ปริมาณของชันโรงที่นำมาติดสะนูถ้าติดมากไปเสียงจะทึบ ติดน้อยไปเสียงจะเบา
การเล่นว่าวสะนู ภาษาอีสานจะพูดว่า “ไปแล่นว่าว” จะเล่นในพื้นที่โล่งกลางแจ้ง เช่น สนามหญ้า ทุ่งนา ผู้เล่นจะมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเพศชายเป็นส่วนใหญ่ และเล่นกันเป็นกลุ่ม โดยเลือกเล่นในวันที่มีลมพัดสม่ำเสมอ การนำว่าวสะนูขึ้นบนท้องฟ้า ผู้เล่นจะมี 2 ฝ่าย คือ 1)ฝ่ายส่งว่าว จะทำหน้าที่ในการส่งว่าวขึ้นจากพื้นดิน โดยก่อนจะส่งว่าวขึ้นจะต้องจัดวางว่าวและหางว่าวให้เป็นระเบียบไม่ให้หางว่าวพันกัน 2) ฝ่ายชักว่าวขึ้นท้องฟ้า ฝ่ายนี้จะถือเชือกว่าวที่ปล่อยยาวให้ห่างจะตัวว่าวประมาณ 30-40 เมตร เมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อมผู้ชักว่าวจะส่งสัญญานให้ผู้ส่งว่าวให้ยกและส่งว่าวให้ลอยขึ้นไปบนฟ้า ขณะเดียวกันฝ่ายชักว่าวจะวิ่งเพื่อให้ว่าวลอยขึ้น เมื่อติดลมบนแล้วจะทำการปล่อยเชือกว่าวออกเพื่อให้ว่าวลอยสูงขึ้น ๆ ตามที่ต้องการ ถ้าต้องการปล่อยว่าวใว้ค้างคืน ก็จะหาที่ผูกเชือกว่าวให้มั่นคงแน่นหนา ป้องกันว่าวหลุดลอยไปเมื่อว่าวสะนูติดลมบนแล้ว ใบสะนูจะถูกลมพัดทำให้เกิดเสียงทำนองต่าง ๆ ผู้เล่นว่าวสะนูจึงมักจะปล่อยว่าวให้ลอยค้างคืน ให้ว่าวส่งเสียงขับกล่อมท้องทุ่งจนถึงเช้า ซึ่งจะเป็นวิถีชีวิตหนึ่งที่ชาวอีสานสมัยก่อนคุ้นเคยและทำให้หวนคิดถึงบรรยากาศเดิม ๆ เพราะในปัจจุบันมีการเล่นว่าวสะนูน้อยลงไปมาก
จุดที่ 3 เป็นที่ผ่อนคลายกับบรรยากาศ สวนน้ำเนรมิต บ้านโกรกขี้หนู หมู่ 3 มีสวนน้ำ มีอาหารการกินมีคาเฟ่และยังมีที่พัก มีรีสอร์ท ให้บริการพร้อม
สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบพระคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ได้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการทำงานในส่วนของบัณฑิตจบใหม่และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และ ผู้นำชุมชนทุกชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และประชาชนทุกชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการทำงานให้ราบรื่นไปด้วยดี