ข้าพเจ้านายณรงค์เดช ธรรมนิยม ผู้จ้างงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ NS – 02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์

          ในเดือน ธันวาคม 2564 ได้มีจัดประชุมการทำงานชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดของผู้ปฏิบัติงาน       ทั้งในส่วน บัณฑิตจบใหม่ ประชาชนและนักศึกษา ในการจัดโครงการสรุปผลการจัดกิจกรรม โครงการการทำเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ได้มาตรฐาน โครงการส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวเกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อเป็นการรักษาสภาพหน้าดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โครงการย้อมสีเส้นไหมให้ผ่านมาตรฐานการคัดสรรผ้า การออกแบบลายผ้าไหมและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมทอมือและโครงการการจัดนิทรรศการ “ของดีเมืองชุมเห็ด”

โครงการส่งเสริมและรณรงค์ให้ชาวเกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเป็นการรักษาสภาพหน้าดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกด้วย

ส่วนการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ที่ใช้กับพืชผักสวนครัว ที่ใช้ได้ไม่ต้องเตียมหาวัตถุดิบให้มากมาย แต่หาได้ในชุมชนนั้นคงไม่ยาก คือ

 น้ำหมักมูลวัว

ส่วนผลม น้ำ 20 ลิตร ผสมกับ มูลวัว 5 กิโลกรัม หมักไว้ 2 อาทิตย์ใช้ได้กับพืชผัก ทำให้ผักมีความสมบูรณ์ แมลงไม่กิน งอกงามสม่ำเสมอ ไม่อันตรายต่อสุขภาพ

          จุลินทรีย์หน่อกล้วย

ส่วนผสม หน่อกล้วย ประมาณ 10 กิโลกรัม น้ำตาลอ้อย 1 กิโลกรัม น้ำ 10 กิโลกรัม ผลมไว้ 15 วันใช้ได้กับผัก ช่วยลดการป้องกันแมลง

 

          กิจกรรม ถัดมาเป็น โครงการการย้อมสีเส้นไห้ให้ผ่านมาตรฐานรับรองการคัดสรรผ้า ได้รับเกียรติจาก วิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาอบรมให้ความรู้และได้สอนปฏิบัติลงมือในการย้อม การค้นหาผ้าไหมอัตลักษณ์ของชุมชน ได้แก่ ผ้าซิ่นทิว ผ้าซิ่นคั่น ผ้าซิ่นคั่นขอ หมี่หมากจับ เป็นผ้าซิ่นโบราณของชุมชนที่กำลังจะสูญหายไป ชุมชนต้องการฟื้นฟูและเป็นผ้าอัตลักษณ์ของชุมชน และได้สร้างเพจของชุมชน “ของดีหนองไผ่ใหญ่” เป็นเพจใช้ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของใช้และพืชผลทางการเกษตรของชุมชน

                   ขั้นตอนการฟอกเส้นไหม

  • ไหมบ้าน 1 กิโลกรัม
  • ด่างฟอก 2 ซอง
  • ด่างล้างไหม 2 ซอง
  • น้ำยาล้างจาน ครึ่งซอง
  • สบู่กรด 1 – 2 ก้อน
  • น้ำฝน 30 ลิตร

ฟอกประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมง หมั่นกลับไปมา เพื่อให้สะอาดและสีมีความสม่ำเสมอ

 

ขั้นตอนการย้อมสีไหม

  • สีที่ต้องการตราสิงโต 12 ซอง / 1 โหล
  • น้ำยาล้างจาน 2 ช้อน
  • เกลือ 2 กำมือ
  • กรดน้ำส้ม 2 แก้วเป็ก

ย้อมประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้สีมีความอิ่มตัวจำทำให้สีไม่ตกและมีความมันวาว

 

จากนั้นเมื่อได้เส้นไหมแล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการมัดหมี่ คือ มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม เชือก ฟาง (เมื่อก่อนใช้กาบกล้วยแห้ง) โฮงหมี่ และแบบลายหมี่ การมัดลายเต็มตัว (เต็มผืน) ผู้มัดจะต้องมัดลายตามแบบลายหมี่ให้เต็มปอยหมี่ (ผู้ที่ชำนาญในการมัดหมี่จะไม่ดูแบบลายหมี่) ส่วนการมัดลายครึ่งท่อน (ครึ่งผืน) ผู้มัดหมี่จะมัดเพียงครึ่งเดียวของปอยหมี่เท่านั้น

การมัดหมี่

  • เอาปอยหมี่ที่ค้นเสร็จแล้วใส่ “หลักหมี่หรือโฮงหมี่”
  • การเริ่มต้นมัดลายหมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่าง หรือมัดข้างล่างก่อนจึงไล่เรียงขึ้นข้างบนก็ได้ บางคนอาจจะเริ่มมัดจากตรงกลางก่อนจึงขยายออกไปเต็มหลักหมี่
  • เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลำหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับให้แน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยามตามแนวลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกันโดยเหลือปลายเชือกไว้ เมื่อเวลาแก้มัดเชือกจะทำได้ง่าย ส่วนของไหมที่ถูกเชือกฟางมัดนี้เวลานำไปย้อมสี สีอื่นจะไม่สามารถซึมเข้าไปในส่วนนั้น ๆ ได้ จะคงสีไว้ตามเดิม และส่วนที่ไม่ถูกมัดจะย้อมติดสีตามที่ย้อม ถ้ามัดหมี่และย้อมสีสลับกันหลายครั้งจะทำให้ผ้าไหมมีหลาย ๆ สี
  • เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มเส้นไหมไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อม จากนั้นจึงถอดเส้นไหมมัดหมี่ออกจากหลักหมี่
  • จากนั้นขึ้นลายทอได้ตามที่มัดได้

งานภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • ด้านการทอผ้าไหม หมู่ 10 บ้านหนองตราดน้อย มีการรวมกลุ่มการทอผ้าไหม ใน ปี พ.ศ.2555 มีผู้ใหญ่รัชนก วงศ์ไพศาลสิริกุล เป็นประธานกลุ่ม และจัดจำหน่ายสินค้า การแปรรูปผ้าไหม เช่น กระเป๋า ชุดเสื้อผ้า เป็นต้น
  • กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองไผ่ใหญ่ มีการทอด้วยมือด้วยกี่โบราณ มีการรวมกลุ่มจัดทพะเบียน ในปี พ.ศ. 2541
  • ฐานว่าวแอกอีสาน โดย คุณพ่อณรงค์ อุไรแข เป็นวิทยากรประจำฐานให้ความรู้ และ คุณแม่เฉลียว อุไรแข และท่านทั้งสองได้รับรางวัลอย่างมากมายและได้ไปประกวดทั่วทุกภาคของภาคอีสานและได้รับรางวัลชนะเลิศแทบทุกสนามแข่งขัน
  • การทอเสื่อ โดย บ้านโกรกขี้หนู ม.3 และ ม.20

        

การพักผ่อน ผ่อนคลาย

  • สวนน้ำเนรมิต บ้านโกรกขี้หนู เป็นสวนน้ำ มีที่พัก มีร้านอาหาร มีที่พักผ่อน
  • มีร้านอาหารครัวภัทรา มีที่เช็คอิน มีสถานที่พักทำงาน ผ่อนคลาย ดื่มด่ำบรรยากาศอิงธรรมชาติ
  • ร้านไร่นายเรือง มีสถานที่พัก ผ่อนคลาย

สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบพระคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ได้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการทำงานในส่วนของบัณฑิตจบใหม่และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และ ผู้นำชุมชนทุกชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และประชาชนทุกชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการทำงานให้ราบรื่นไปด้วยดี

          ผลการปฏิบัติงาน

การเพิ่มข้อมูลในส่วนของ CBD. ให้ได้ครบตามจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 เรคอร์ดและรายงานผลของการทำงานวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์รายพื้นที่ ของตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

วัฒนธรรมท้องถิ่น / วัดวาอาราม / ประวัติศาสตร์ ได้แก่ วัดป่ารุ่งอรุณ วัดหนองไผ่น้อย วัดหนองตราดน้อย  วัดหนองไผ่ใหญ่ วัดโกรกขี้หนู วัดหนองม่วง

วัดไตรภูมิ

งานภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มทอผ้าบ้านหนองไผ่ใหญ่ หนองตราดน้อย บ้านโคกเพ็ก บ้านหนองไทรงาม การทอเสื่อ บ้านโกรกขี้หนูและศูนย์เรียนรู้การทำว่าแอกอีสาน

การพักผ่อน ผ่อนคลาย  สวนน้ำเนรมิต บ้านโกรกขี้หนู เป็นสวนน้ำ มีที่พัก มีร้านอาหาร มีที่พักผ่อน มีร้านอาหารครัวภัทรา มีที่เช็คอิน มีสถานที่พักทำงาน ผ่อนคลาย ดื่มด่ำบรรยากาศอิงธรรมชาติ ร้านไร่นายเรือง มีสถานที่พัก ผ่อนคลาย

สิ่งที่ได้เรียนรู้

– ได้เรียนรู้การทำงานกับชุมชน เพื่อนร่วมทีม

– ฝึกการทำงานเป็นทีม

-การประสานงานกับผู้นำ

-การฝึกการเขียน ร่างแผน วางแผนการทำงานและการจัดโครงการ

– ได้เรียนรู้การทำงานกับชุมชน เพื่อนร่วมทีม

– ฝึกการทำงานเป็นทีม

-การประสานงานกับผู้นำ

-การฝึกการเขียน ร่างแผน วางแผนการทำงานและการจัดโครงการ

อื่นๆ

เมนู