ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ข้าพเจ้านางสาวพิจิตรา ประดิษฐโสภณ ประเภทนักศึกษา ปฏิบัติงานในกลุ่ม NS02-ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์

สำหรับการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคม พวกเราทีมงานตำบลชุมเห็ด ได้จัดทำ โครงการยกระดับสินค้าหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและการจัดการทางการตลาด

1. โครงการส่งเสริมและรณรงค์การปลูกพืชตระกูลถั่วหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

การจัดกิจกรรมให้ความรู้ในด้านการปลูกถั่วเขียวเพื่อให้ชาวบ้านได้รู้จักมูลค่าของถั่วเขียวและไม่ปล่อยที่ดินให้เปล่าประโยชน์ในระหว่างรอปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ อีกทั้งยังมีกิจกรรมดึงศักยภาพ และพัฒนาคนในพื้นที่ให้ปราชญ์ที่มีความรู้ความสามารถที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นโดยการ Rebranding packaging สินค้าเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับสินค้า ทำให้สินค้าดูมีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้บริโภค ส่งเสริมช่องทางการขายออนไลน์ให้ชาวบ้านได้ความรู้ ความเข้าใจในการขายออนไลน์มากขึ้น

2. ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวอินทรีย์โดยการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองเพื่อลดต้นทุนในการทำเกษตร แทนการใช้ปุ๋ยเคมีในท้องตลาดที่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  อย่างเช่น ไข่ไก่ กะปิ ผงชูรส น้ำสระ นำมาผสมเพื่อใช้ในการปรับปรุงดินและเพิ่มความสมบูรณ์ของพืชผัก นอกจากนี้ยังการทำน้ำหมักมูลวัว โดยมีส่วนประกอบมูลวัวเป็นหลัก ซึ่งชาวบ้านเลี้ยงวัวเป็นหลักอยู่แล้ว นอกจากจะนำมูลวัวไปทำเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ ข้าว ก็ยังมีประโยชน์ใช้ทำน้ำหมักมูลที่ใช้แก่พืชแทนปุ๋ยสารเคมีได้อีกด้วย  และยังมีจุลินทรีย์ ที่ทำได้จากหน่อกล้วยผสมน้ำตาลอ้อยและน้ำ ช่วยในการเจริญเติบโตของผักและผลไม้

3. การพัฒนาการย้อมสีเส้นไหมสู่การคัดสรรผ้าให้ได้มาตรฐานการรับรอง

โดยกลุ่มพวกเรา ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีเทคนิควิธีการฟอกผ้าไหม และการย้อมสีผ้าไหมที่ถูกต้องจากท่านวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านผ้าไหม และช่วยสงเสริมให้ชาวบ้านที่มีความสามารถในการทอผ้าไหม มีความรู้ใหม่ ๆ ที่จะพัฒนาฝีมือการทอผ้าให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบันอีกด้วย และการค้นหาลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน นั่นก็คือ ผ้าซิ่นโบราณ ผ้าไหมตาปลาไหล หมี่บักจับ และซิ่นคั่นขอโบราณ

4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ คัดกรองปัญหาจิตเวช

การจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตในยุค New Normal ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการรับมือกับความเครียด โดยให้ชาวบ้านที่มาเข้าร่วม แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม “นันทนาการเพื่อผ่อนคลายความเครียด” อีกทั้งยังมีการประเมินคัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอีกด้วย

5. กิจกรรมด้านการเกษตร “หน้าบ้านน่าอยู่ น่ามอง”

โดยการจัดกิจกรรมนี้เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรจากวิทยาการผู้มีความรู้ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักสวนครัวกินได้ ลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว และส่งเสริมการหารายได้จากการทำเกษตร

อื่นๆ

เมนู