NS02 ตำบลชุมเห็ด อำเภอ เมืองบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์ (โครงการ การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ)

ดิฉัน นางสาวจีราพร เกตุสุวรรณ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ตำแหน่งประชาชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ  ในหลักสูตร NS02 คณะพยาบาลศาสตร์ ตำบล ชุมเห็ด อำเภอ เมือง จังหวัด บุรีรัมย์

การปฏิบัติงานในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทางคณะพยาบาลศาสตร์ ตำบลชุมเห็ด อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงาน ได้จัดโครงการ ส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดโครงการก็คือ เพื่อต้องการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย  สาเหตุ  อาการของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม  และวิธีการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว  อีกทั้งการส่งเสริมทางด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  และพัฒนาทักษะทางกาย  ใจ  อารมณ์  ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ให้กับญาติผู้ดูแล  ทางคณะพยาบาลศาสตร์ จึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุในภาวะสมองเสื่อมนี้ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา  เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุในเบื้องต้นนี้

วันที่ 19 เดือน สิงหาคม 2564 ได้เริ่มดำเนินการจัดโครงการภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ในชุมชนหมู่บ้านโกรกขี้หนู  ตำบลชุมเห็ด ณ ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน มีชาวบ้าน และอสม. ได้เข้าร่วมและให้ความสนใจเป็นจำนวน  30 คน โดยมีวิทยากรจากศูนย์อนามัยประจำตำบลชุมเห็ด ได้มาให้ความรู้และฝึกทักษะของผู้สูงอายุในชุมชนให้มีความรู้เบื้องต้นในการดูและภาวะสมองเสื่อม และวิธีการบริหารสมองเบื้องต้น ซึ่ง การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในเบื้องต้นก็คือ

1.ผู้ดูแล ญาติ หรือคนรอบข้าง ต้องเข้าใจภาวะสมองเสื่อมที่ ไม่พยายามบังคับให้ผู้ป่วยจำ หรือทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ถ้าผู้ป่วยหงุดหงิด ควรหยุดพฤติกรรมทันที มีความยืดหยุ่น ปรับตัว และยอมรับการเปลี่ยนแปลง ลดความคาดหวังในตัวผู้ป่วยลง ให้เกียรติในการตัดสินใจบางอย่าง เช่น ขอความเห็น บอกให้ทราบ คอยสอบถามความรู้สึก พูดคุยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดูแลความเป็นอยู่ และมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินเล่น ร้องเพลง ดูโทรทัศน์

  1.   จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะดวก ปลอดภัย ป้องกันไม่ให้มีพื้นที่เสี่ยงต่อการลื่นล้ม เช่น อาจมีราวจับในห้องน้ำ พื้นแห้งไม่เปียกลื่น มีแสงสว่างเพียงพอ ระมัดระวังของมีคม ไม่เปลี่ยนแปลงสถานที่จัดวางสิ่งของบ่อย ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความคุ้นเคย ควรมีผู้ดูแลประจำ พูดคุยกับผู้ป่วยบ่อย ๆ  จัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เงียบ หรือดังเกินไป
  2.   มองหาความสามารถที่ยังคงอยู่ของท่าน เพื่อเสริมไม่ให้เสื่อมลงเร็ว เช่น จัดสวน ทำกับข้าว ประดิษฐ์สิ่งของ ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

นอกจากการให้ความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้ว ทางคณะอาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานยังมีกิจกรรมเพิ่มเติมในการส่งเสริมพัฒนาความจำ โดยการเล่นเกมตอบคำถาม และการเต้นประกอบเพลงเป็นจังหวะ ในการออกกำลังกายบริหารอวัยวะต่าง ๆ เพื่อสร้างสุขภาพทางกายที่แข็งแรงอีกด้วย

 

อื่นๆ

เมนู