ข้าพเจ้านายณรงค์เดช ธรรมนิยม ผู้จ้างงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ NS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์
ในเดือน กันยายน 2564 ได้มีจัดประชุมการทำงานชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในส่วน บัณฑิตจบใหม่ ประชาชนและนักศึกษา ในการจัดโครงการผู้สูงอายุกับการป้องกันสมองเสื่อมในวัยผู้สูงอายุ
ภาวะสมองเสื่อมกับผู้สูงอายุ สมองเสื่อมเป็นภาวะที่มักพบได้ในผู้สูงอายุ จะทำให้ผู้ที่เป็นมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม และใช้ภาษาผิดปกติ ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ว่าแต่สาเหตุและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมจะมีอะไรบ้าง ภาวะสมองเสื่อม เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะที่เสื่อมถอย การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายลดลง มีสุขภาพที่อ่อนแอลง ความสามารถในการดำเนินชีวิตนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งต้องมีครอบครัวและคนใกล้ชิดคอยดูแลและใส่ใจให้มากขึ้น สมองเสื่อม เป็นภาวะหนึ่งของสมองที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยพบว่า 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมองมีความผิดปกติ ซึ่งภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ส่งผลกระทบต่อความคิด มีความสับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ บุคคล มีพฤติกรรมแปลก ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป มีความผิดปกติในการใช้ภาษา การคำนวณ ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน
สาเหตุของสมองเสื่อม สำหรับการป้องกันภาวะสมองเสื่อม มีดังนี้ รับประทานให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง ฝึกสมอง หางานอดิเรกทำ เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง โดยเฉพาะการหกล้มและมีการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมโครงการ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาสาสมัครสาธารสุขชุมชน ผู้สูงอายุและ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน
กิจกรรมถัดมาเป็นกิจกรรมเป็นการทำ ลูกประคบสมุนไพร แก้ปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด การพักผ่อนจากงานอันหนักหน่วงมาตลอดทั้งสัปดาห์ อาการปวดเมื่อย เอ็นตึง จากการทำงานหนัก ในทางการแพทย์แผนไทย การประคบสมุนไพร นิยมใช้คู่กับการนวดไทย นิยมใช้หลังจากนวดเสร็จ เป็นการประคบร้อน เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อย เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการบวมที่เกิดจากภาวะอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ สมุนไพรที่ใช้ ส่วนใหญ่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวด ลดอักเสบ บวม ช้ำ เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ ว่านชน (พลับพลึง) และแต่งกลิ่นด้วย ผิวมะกรูด เป็นต้น
สูตรการทำ ลูกประคบสมุนไพร ไว้ดังนี้
ส่วนประกอบที่ใช้ มีดังนี้
ไพล 500 กรัม ผิวมะกรูด 200 กรัม ตะไคร้บ้าน 100 กรัม ใบมะขาม 300 กรัม ขมิ้นชัน 100 กรัม เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ การบูร 2 ช้อนโต๊ะ ใบส้มป่อย 100 กรัม
ผ้าดิบสำหรับห่อตัวยา ทำลูกประคบ นำไปทำยาประคบเช้า – เย็น สำหรับการใช้ ลูกประคบแบบสมุนไพรสด จะให้ตัวยาที่ดีกว่าแบบแห้ง ไม่ใช้การประคบร้อนในขณะที่มีการอักเสบ บวม แดงร้อนอยู่ ใช้หลังผ่านการอักเสบจากอุบัติเหตุ หรือ กระทบกระแทก ไปแล้ว 24-48 ชั่วโมง กรณี ฟกช้ำมา ควรประคบเย็น ก่อนใน 24 ชั่วโมงแรก จากนั้นจึงประคบร้อน ลูกประคบที่ใช้แล้ว ใส่ถุงพลาสติก แช่ช่องเย็นอยู่ได้นาน 7 วัน แช่แข็งได้นาน 1 เดือน
ต้องขอขอบพระคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ได้มีโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างการทำงานในส่วนของบัณฑิตจบใหม่และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และ ผู้นำชุมชนทุกชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน และประชาชนทุกชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการทำงานให้ราบรื่นไปด้วยดี