ข้าพเจ้า นางสาวเพ็ญนภา ผาทอง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์  สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง NS03 ได้นำความรู้เพื่อเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ชุมชน  ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม ถึง 31 ตุลาคม 2564 ในโครงการของทางมหาลัย

การจักสานไทยในภาคต่างๆ นั้น มีมากมายหลายชนิด และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะถิ่นของเครื่องจักสานเหล่านั้น สะท้อนให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น สภาพการดำรงชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนถึงการนับถือศาสนาของกลุ่มชน ที่ผลิตเครื่องจักสาน เครื่องจักสานจึงเป็นศิลปหัตถกรรม มีคุณค่า ในฐานะที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีอย่างหนึ่ง ดังนั้นเครื่องจักสานจึงเป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านได้หลายอย่าง เช่น สะท้อนให้เห็นความชาญฉลาด ในการเลือกสรรวัตถุดิบ ที่จะนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน ซึ่งชาวบ้านจะมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างดีแล้ว นำมาดัดแปลงแปรรูปเป็นวัสดุที่ใช้ทำเครื่องจักสานด้วยวิธีง่ายๆ แต่สนองการใช้สอยได้ดี และสร้างอาชีพและรายได้ในคนในชุมชนอีกด้วย

จากที่ข้าพเจ้า นางสาวเพ็ญนภา ผาทอง และผู้ปฏิบัติงานได้มีการวางแผนการดำเนินโครงการจักสานในตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ในส่วนของกิจกรรมได้มีการพาคนในชุมชนเริ่มจากการจักสานเครื่องจักสานที่เอาไว้ใช้สอยในบ้านไปสู่การผลิตเป็นสิค้าOTOPเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้คนในชุมชน

อื่นๆ

เมนู