ข้าพเจ้า นายลิยสิทธิ์ ระวังดี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร.) ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง

จากการที่ลงสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ทราบว่าชุมชนตำบลวังเหนือ มีการปลูกพริก ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง และกลุ่มของพริกที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกในเชิงพาณิชย์นั้นจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูผลใหญ่ พริกขี้หนูผลเล็ก และ พริกหวาน เป็นต้น แหล่งปลูกพริกที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ เชียงใหม่ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครปฐม และราชบุรี เป็นต้น

ชุมชนตำบลวังเหนือมีการนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ในการปลูกพริก ซึ่งพริกเป็นพืชที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทย และอยู่คู่คนไทยมาช้านาน เป็นส่วนประกอบอาหารสารพัดเมนู ไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลสด หรือปรุงสุก ต้มยำ แกง ผัด ยำ อาหารแห้ง เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป ส่วนผสมอาหารเสริม ส่วนผสมทางยา และไม้ประดับ ชุมชนตำบลวังเหนือมีการจัดสรรปันส่วนที่ดินในการทำการเกษตร มีน้ำเพียงพอต่อการใช้ในการปลูกพริก ข้อมูลที่ได้จากการลงสำรวจจากการสอบถามเกษตรกรผู้ปลูกพริก พบว่า พริกที่ปลูกนั้นจะทำการเก็บขายส่งที่ตลาดในตัวเมือง อีกทั้งยังจำหน่ายให้กับชุมชนตำบลวังเหนือ บางครัวเรือนปลูกแค่พอบริโภคภายในครัวเรือนไม่ได้ปลูกเพื่อจำหน่าย ลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน พริกที่ปลูกนั้นปลอดสารเคมี เป็นการทำการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เกษตรกรบางรายบอกว่า การปลูกพริกจะมีปัญหาก็คือ ช่วงฤดูฝน ถ้าฝนตกหนักต้นพริกและผลผลิตจะได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และปัญหาของเกษตรกรที่พบอีกอย่างคือ เพลี้ย หรือโรคพืช ที่เกิดขึ้น แต่ชาวบ้านมีวิธีในการรับมือปัญหาเหล่านี้คือการใช้น้ำหมักที่ทำมาจาก ใบสะเดา หรือพืชชนิดอื่น มาใช้ในรดน้ำเพื่อไล่แมลงหรือเพลี้ยที่มาทำลายต้นพริกของเกษตรกรได้  การปลูกพริกของชุมชนวังเหนือนั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากผืนแผ่นดินที่ว่างเปล่าด้วย

 

 

Tags:

อื่นๆ

เมนู