ข้าพเจ้า นางสาวณัฐมล ผาทอง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้นำความรู้เพื่อเชื่อโยงกับการวิเคราะห์ชุมชน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 มิถุนายน 2564
ตั้งแต่เริ่มมีการพบเชื้อไวรัส COVID-19 ในปลายปี พ.ศ. 2562 นอกจากการสูญเสียชีวิตยังเกิดผลกระทบหลายอย่างตามมาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรคจึงเป็นหนทางสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดการติดเชื้อและความสูญเสีย ซึ่งปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยทิศทางงานวิจัยในอนาคต คือ ค้นคว้าวิจัยหายารักษาให้ได้และหาวัคซีนที่ได้ผลดีต่อเชื้อทุกสายพันธุ์อย่างปลอดภัย วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น
จากการที่ข้าพเจ้า นางสาวณัฐมล ผาทองและทีมงาน ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคและการป้องกันโควิด19 ในชุมชนตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการลงพื้นที่ข้าพเจ้าละทีมงานได้นำข้อมูล ความรู้เรื่องการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิค -19 ลงไปให้ความรู้แก่คนในชุมชนตำบลวังเหนือว่าวัคซีนที่นำมาฉีดป้องกันโรคโควิค -19 ในประเทศไทยมีกี่ชนิด ชนิดอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง การปฏิบัติตัวก่อนและหลังฉีดวัคซีนต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง ใครที่สามารถรับวัคซีนได้บ้างและผลข้างเคียงจากการฉัดวัคซีนโรคโควิค-19 จากการพูดคุยแรกเปลี่ยนความรู้กับคนในชุมชน ทำให้ทราบว่าคนในชุมชนมีความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 อยู่บ้างแล้ว แต่ทางทีมผู้ปฏิบัติงานก็นำเอาข้อมูลหลายๆ ส่วนมานำเสนอเพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่คนในชุมชนให้เข้าใจเรื่องการรับวัคซีนป้องกันโควิด19 ให้มากชึ้น