NS04-การพัฒนาชุมชน สินค้าในชุมชน (ประจำเดือนธันวาคม)

NS04 รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564  ข้าพเจ้านายปิยราช บุตรดี ในนามนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

การทำงานในช่วงเดือนธันวาคม การจัดทำโครงการตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ มีการประชุมวางแผนโครงการและกิจกรรมผ่าน Google Meet ในการจัด กิจกรรมสร้างรายได้เพื่อหนุนเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  ในการเพิ่มศักยภาพอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเพิ่มทักษะในการเสริมสร้างอาชีพในชุมชนทักษะการทำตลาด”  การที่นำโครงการนี้เข้าไปในการพัฒนาชุมชนของตำบลโนนขวาง เราได้เล็งเห็นการมีอาชีพในแต่ละหมู่บ้าน เราถึงได้มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้การเสริมสร้างอาชีพในชุมชนและการทำตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างอาชีพของชุมชน  >>วีดิโอประจำเดือนธันวาคม<<

การสาธิตการทำลูกประคบ

การทำลูกประคบสมุนไพรคือ การใช้สมุนไพรหลาย ๆ อย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำลูกประคบมานึ่งให้ร้อนแล้วใช้ประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ดคัดยอก สามารถช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ดี ประโยชน์หลักของลูกประคบคือ ใช้ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอกและลดอาการปวดได้

อุปกรณ์การทำลูกประคบ
  • 1) ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ตัดเป็นผืนขนาดกว้าง 35 x 35 เซนติเมตร
  • 2) เชือกหรือหนังยาง
  • 3) ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ

นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์เสริมเวลาใช้งานอีกคือ

  • 1) หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ
  • 2) จานหรือชามอลูมิเนี่นม
  • 3) เขียง มีด ครกและสาก

ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ (2ลูก) สาเหตุที่ต้องทำ 2 ลูกก็เพราะเอาไว้เปลี่ยนเวลาใช้งานจะได้นำอีกลูกขึ้นนึ่ง จะได้ไม่ต้องรอ ตัวยาประกอบด้วย 1) ไพร (300 กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบ 2) ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน 3) ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น 4) ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว 5) ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดการอักเสบแก้โรคผิวหนัง 6) เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น 7) การบูร (2 ช้อนโตะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ 8) ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนังลดความดัน

การสาธิตทำเสปร์ยตะไคร้หอมไล่ยุง

สเปรย์ตะไคร้หอม ‘ไล่ยุง’ ทำเองได้ใน 4 ขั้นตอน

“โรคไข้เลือดออก” เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี เป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่มาพร้อมกับสายฝน ที่มี “ยุงลายตัวเมีย” เป็นพาหะนำโรคโดยการกัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งเจ้ายุงลายมักจะไปวางไข่ในบริเวณที่มีน้ำขังนิ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแบบนี้ ต้องตรวจตรารอบบ้าน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อย่าปล่อยให้มีน้ำขัง ใส่ทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่ยุงชุกชุม ไม่สวมเสื้อผ้าสีทึบ รวมไปถึงใช้ “สเปรย์ไล่ยุง” ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยม

ซึ่งในห้วงที่โควิด-19 ระบาดแบบนี้ อยู่บ้านว่างๆ ก็สามารถทำ “สเปรย์ไล่ยุง” ไว้ใช้เองได้ ตามสูตรที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แนะนำไว้ดังนี้

เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย

  • ตะไคร้หอมหั่น 100 กรัม
  • ผิวมะกรูดหั่น 50 กรัม
  • การบูร 10 กรัม
  • เอทิลแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอลล์ล้างแผล 1 ลิตร
  • ผ้าขาวบางขนาด 25*25 ซม. 1 ผืน
  • โหลแก้วพร้อมฝาปิด 1 ใบ และขวดสเปรย์ตามชอบ

>>อ่านบทความที่น่าสนใจ การจัดการขยะ ที่มีคุณภาพ และใช้ได้จริง<<<

รูปภาพประจำเดือนธันวาคม

NS04-การพัฒนาชุมชน สินค้าในชุมชน (ประจำเดือนธันวาคม)

อื่นๆ

เมนู