ข้าพเจ้า นางสาวขนิษฐา เสาทอง ประเภท : นักศึกษา
หลักสูตร : โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พื้นที่รับผิดชอบตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานในเดือนกันยายน ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ดำเนินการตามโครงการที่วางแผนไว้ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในโครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (การทำยากำจัดศัตรูพืช/การทำปุ๋ยอินทรีย์) มีการเข้าร่วมประชุมกับทีมงานก่อนลงพื้นที่ เพื่อว่างแผนการลงพื้นที่จัดโครงการในชุมชนตำบลโนนขวาง วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน หากลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้กับชุมชนตำบลโนนขวาง ศึกษาและหาความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ วิธีการผลิตยาปราบศัตรูพืชที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ศึกษาทรัพยากรที่มีในชุมชนว่ามีอะไรบ้างที่สามารถปราบศัตรูพืชได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี
จากการประชุมทีมงานได้เรียนเชิญวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์มาให้ความรู้กับชาวบ้านในการทำสวนเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีและได้เชิญผู้ใหญ่บ้านดงกระทิง ตำบลโนนขวาง ที่เป็นต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์และโคกหนองนาโมเดล มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์และวิธีการทำ
การทำยากำจัดศัตรูพืชโดยใช้กากน้ำตาลนั้นง่ายนิดเดียว มีวิธีการดังนี้
อุปกรณ์
ไม้พาย 1 อัน ถังหมักแบบมีฝาปิด 1 ถัง มีด 1 ด้าม หน่อกล้วย 1 ต้น กากน้ำตาล 1 กิโล จุลินทรีย์ (ตัวเสริม) ได้แก่ ยาคูลย์ 1 ขวดเล็ก น้ำเปล่า 1 ถังหูหิ้ว
วิธีทำ
- สับหน่อกล้วยให้ละเอียดแล้วนำใส่ถังหมัก
- นำกากน้ำตาลมาละลายกับน้ำ 1 ถังหูหิ้ว ผสมให้เข้ากัน
- ใส่ยาคูลย์ 1 ขวดเล็ก ลงในถังหูหิ้วผสมให้เข้ากัน
- เทส่วนผสมที่เตรียมใส่ลงในถังหมัก
- กวนส่วนผสมกับหน่อกล้วยให้เข้ากัน
- ปิดฝ่าถังหมักให้สนิท ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วัน
วิธีใช้
ใช้ยากำจัดศัตรู 2 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้พ้นหรือใช้รดพืชได้ทุกชนิด
สรุปโครงการ ในการลงพื้นที่จัดทำโครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (การทำยากำจัดศัตรูพืช/การทำปุ๋ยอินทรีย์) ณ ศาลากลางบ้านดงกระทิง ตำบลโนนขวาง ได้จัดโครงการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มีการเว้นระยะห่าง ชาวบ้านได้ความรู้ในเรื่องของเกษตรอินทรีย์และการทำยากำจัดศัตรูพืชโดยใช้กากน้ำตาลและหน่อกล้วยที่หาง่ายในพื้นที่ ชาวบ้านมีความสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำสวนแบบเกษตรอินทรีย์และการทำยากำจัดศัตรูพืชสูตรกากน้ำตาล และชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือและตอนรับกันเป็นอย่างดี ซึ่งทางทีมงานตำบลโนนขวางได้มอบกากน้ำตาลให้ผู้เข้าร่วมโครงการในชุมชนตำบลโนนขวาง คนละ 1 กิโลกรัม เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาและต่อยอดการทำเกษตรอินทรีย์โดยไม่ใช้สารเคมี และได้มอบแมสและสเปรย์แอลกอฮอล์ให้กับชาวบ้าน