1. หน้าแรก
  2. พยาบาลศาสตร์
  3. NS04 - ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน
  4. NS04 โครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนสู่สังคมผู้สูงอายุ,การพัฒนาผ้าไหมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน

NS04 โครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนสู่สังคมผู้สูงอายุ,การพัฒนาผ้าไหมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน

  ดิฉัน นางสาวธนารินทร์ แจ้สูงเนิน ผู้ปฏิบัติงานประเภทนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การทำงานในช่วงเดือนกันยายน กับการทำโครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนสู่สังคมผู้สูงอายุ,การพัฒนาผ้าไหมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน

โครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประเทศไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ โดยพบว่า ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 คือ มีสัดส่วนประชากรร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 ในปี2564 และจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดเมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ในปี 25741จากการสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2550 พบว่าผู้สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพโดยรวมของตนเอง ว่ามีสุขภาพดี เพียงร้อยละ 43.02และยังพบว่าผู้สูงอายุเพศชายร้อยละ 36.8 และผู้สูงอายุเพศหญิงร้อยละ 42.3 มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง3 จากผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวของผู้สูงอายุทำให้การดูแลตนเองของผู้สูงอายุลดลง และต้องพึ่งพิงการดูแลจากครอบครัวเพิ่มขึ้น และอัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงจำนวนคนในวัยแรงงาน (อายุ 15-59ปี) เทียบกับจำนวนผู้สูงอายุ พบว่า มีแนวโน้มลดลง2
อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุที่ลดลงดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวม เพราะผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานจะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลเพิ่มมากขึ้น และในปี พ.ศ. 2559 พบผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรพื้นฐานได้ด้วยตนเองร้อยละ 3.8 และแนวโน้มในปี พ.ศ. 2580 จะพบมากถึงร้อยละ 6.7 ของจำนวประชากร หากผู้สูงอายุที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรพื้นฐานได้ด้วยตนเองย่อมเป็นภาระต่อบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้3ดังนั้น วัยผู้ใหญ่ตอนปลายจึงมีความจำเป็นในการเตรียมตัวให้พร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ

โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-3 กันยายน 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุจำนวน 50 คน จัดโครงการที่ ศาลากลางประชาคมบ้านดงกระทิง และศาลาประชาคมบ้านหนองสระ

  

    

การพัฒนาผ้าไหมเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ผ้าซิ่นตีนแดง หรือที่เรียกกันว่า “หมี่รวด” จะเป็นผ้าพื้นที่ย้อมสีแดงในส่วนของหัวซิ่นและตีนซิ่น ตัวซิ่นจะเป็นสีดำลวดลายมัดหมี่ที่มีสีแดง สีเหลือง สีน้ำตาล มีสีเขียวปนบ้างเล็กน้อย ลวดลายที่ใช้ในการทอตัวซิ่นจะเป็นลายแข่วเลื่อย ลายนาค ลายขอแบบต่าง ๆ นิยมทอเป็นไหมลีบ (เส้นไหมจากเปลือกนอกของรังไหม) เพราะมีเส้นขนาดใหญ่ ทอเสร็จเร็ว เห็นลวดลายชัดเจน ลักษณะพิเศษของผ้าซิ่นหัวแดงตีนแดงจะมีการจกสีไหมเหมือนผ้าแพรวาเพิ่มเติมของส่วนตีนซิ่นสีแดง นิยมใช้ลายเก็บตีนดาว ผ้าซิ่นตีนแดง

ทีมผู้ปฏิบัติงานเห็นถึงความสมารถในการทอผ้าและแปรรูปผ้าไหมจึงได้มีจัด“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพ”ให้มีเอกลักษณ์และสามารถวางจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรีทอผ้า บ้านปอแดง หมู่ที่ 9 จำนวนกว่า 20 คน และผู้ที่สนใจในการทอผ้าและพัฒนาผ้าไหม จำนวน 30 คน ได้จัดการอบรมในวันแรกเป็นการสอบถามความต้องการแนวทางการออกแบบลายผ้าและเสนอการจัดตั้งเพจเฟซบุ๊คเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าและเป็นการเปิดตลาดออนไลน์ หลักปัญหาในการผลิต คือ ผ้าไหมที่กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านปอแดงนั้นไม่มีเอกลักษณ์ในผ้าไหมเลย ทีมผู้ปฏิบัติงาน จึงติดต่อหาวิทยากรมาอบรมจัดอบรมในวันที่2และออกแบบลายในการทอผ้าใหม่ พบว่าที่มาของชื่อบ้านปอแดงนั้นมาจากต้นปอแดงและหาพบได้ยากในปัจจุบัน จึงได้พัฒนาผ้าไหมลายใหม่ที่เป็นลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะจากดอกปอแดงซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นให้กับ กลุ่มสตรีทอผ้า และผู้ที่สนใจจากวิทยากร

    จากการจัดอบรม “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมอาชีพ” ในครั้งนี้ทางกลุ่มได้เชิญท่านอาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมาเป็นวิทยากรในโครงการ ซึ่งท่านมีทักษะความรู้ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี ส่วนกิจกรรมที่จัดขึ้นในโครงการครั้งนี้ทางกลุ่มเเละประชาชนได้ช่วยกันคิดค้นเเละออกเเบบลายผ้าไหมใหม่ๆที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหมู่บ้าน ซึ่งได้เเก่ “ลายดอกปอเเดง” ซึ่งประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จึงทำให้การจัดโครงการดำเนินการไปได้ด้วยดี

Tags:

อื่นๆ

เมนู