การจัดการขยะเศษอาหารในชุมชน เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้า: นายพันธ์ณรงค์ รัถยาภิรักษ์ ประชาชนทั่วไป ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร: พยาบาลศาสตร์ NS01 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ติดตามและการจัดทำโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับข้าวแต๋นให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน” ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 และจากการหลังจากการทำกิจกรรม ได้การติดตามผลการปฏิบัติงาน ในโครงการมีการทำกิจกรรมข้าวแต๋น หลายรูปแบบ ที่ทำมาจากข้าวเหนียว แป้ง น้ำตาล น้ำมัน เพื่อนำมาปรุงแต่งทอด แล้วราดด้วยน้ำตาล ใส่ถุงบรรจุ เพื่อทำเป็นขนมขบเคี้ยว หรือของฝาก เพื่อเพิ่มรายได้แก่ชุมชน แล้วพบเห็นการทิ้งเศษอาหาร ขยะ ทำให้เกิดทิวทัศน์ ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีแก่ชมชน และแหล่งการท่องเที่ยวจึงเล้งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยเริ่มจากการจัดโดยจะมีการดำเนินการกิจกรรมโครงการในรูปแบบต่างๆ อีกในอนาคต เพื่อมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกแก่ชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนให้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเศษขยะ ทั้งร่วมมือกับหน่วยงานราชการ อบต ห้างร้าน ในชุมชนบ้านด่าน ปรับเปลี่ยนในการแยกเก็บขยะ โดยแบบเป็นถังในการจัดเก็บ โดยการ “จัดโครงการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวในบ้านด่าน” พื้นที่นำร่อง 15 วัด ในหมู่บ้านด่าน ได้แก่
1.วัดบ้านด่าน 2.วัดตะโคง 3.วัดโคกวัด 4.วัดบ้านสองห้อง 5.วัดป่าช้าสำโรง 6.วัดบ้านหว้ามะขามป้อม 7.วัดบ้านกะหาดราชสามัคคี 8.วัดบ้านขาม 9.วัดบ้านปราสาท 10.วัดบ้านปอหู 11.วัดบ้านโนนสวรรค์ 12.วัดบ้านกะชายใหญ่ 13.วัดระหาน 14.วัดหัวถนน 15.วัดป่าช้าบ้านสำโรง โดยจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้ประกอบการ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในบ้านด่าน โดยการสร้าง การรับรู้ และตระหนักถึงปัญหาขยะ ในเขตแหล่งการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาอุทยาน และภายวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบในชุมชนบ้านด่าน ต่อไป เพื่อสืบสานแหล่งวัฒนธรรม และพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวในอนาคต ในบ้านด่านต่อไป
วัดระหาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
วัดกระดึงทอง อ.บ้านด่าน
ปัญหาในการทิ้งเศษอาหาร และขยะทำให้เกิดมลพิษ ในหลายด้าน จึงมีการจัดเก็บ แยกขยะ เศษอาหารที่ทิ้งแล้วให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การ ใช้สอยให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะอินทรีย์และขยะเปียกในครัวเรือน และชุมชน
1. จัดเตรียมภาชนะหรือเศษ วัสดุภาชนะเหลือใช้เช่น ถังสีถัง พล าสติกใช้แล้ว ขน าดของ ภาชนะขึ้นอยู่กับปริมาณขยะในครัวเรือน หากมีมากก็ใช้ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความ เหมาะสม (ภาชนะที่ใช้เป็นถังพลาสติกหรือภาชนะอื่นๆ ที่มีฝาปิด หรือถุงพลาสติกหรือถุงดำ)
2. เจาะรูหรือตัดภาชนะดังกล่าวที่ก้นถังแล้วขุดหลุมขนาดความลึก 2 ใน 3 ส่วนของความสูงของภาชนะที่เตรียมไว้ใส่ในหลุมที่ขุด ทั้งนี้หากมีปริมาณขยะอินทรีย์และมีพื้นที่เหลือสามารถทำได้มากกว่า 1 จุด
3. น าเศษอาหารเศษผักผลไม้ ใบไม้ และเศษหญ้าที่เหลือมาเทใส่ในถังที่ฝังไว้ และปิดฝาภาชนะให้มิดชิด
4.จุลินทรีย์ในดิน, ไส้เดือนในดินที่ทำการย่อยเศษอาหารในภาชนะให้กลายเป็นปุ๋ย(ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปริมาณขยะเปียก) หากมีกลิ่นเหม็นสามารถเติมน้ าหมัก EM หรือเอาเศษหญ้าและใบไม้ขนาดเล็กมากลบผิวชั้นบน
5. เมื่อปริมาณเศษอาหารถึงระดับเดียวกับพื้นดินที่ขุดไว้ ให้เอาดินกลบ แล้วย้ายถังไป จากจุดเดิมที่จุดอื่นต่อไป
ขยะมูลฝอย คือ ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการอุปโภค บริโภค และกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในชีวิตประจ าวัน แต่หากมีการคัดแยกก่อนที่จะทิ้งเพื่อนากลับมาใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้จะมีคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น
ประเภทของขยะมูลฝอย สามารถแบ่งตาม ทางกายภาพของขยะ เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ขยะอินทรีย์ หรือ ขยะย่อยสลายได้ คือ สิ่งที่ย่อยสลายได้ง่าย สามารถนามาหมักทำเป็นปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร หญ้า ใบไม้ ซากพืช ซากสัตว์ เป็นต้น
2. ขยะรีไซเคิล คือ สิ่งที่ยังมีประโยชน์สามารถนำไปแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ ขวดและกระป๋อง เครื่องดื่ม ถุงพลาสติก เศษพลาสติก เศษโลหะอลูมิเนียม ยางรถยนต์ แผ่นซีดี กล่องเครื่องดื่ม
3. ขยะทั่วไป คือ คือ ขยะประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากข้างต้น มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ถุงพลาสติกใส่ขนม ถุงบรรจุ ผงซักฟอก ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยส์เปื้อนอาหาร เป็นต้น
4. ขยะพิษหรืออันตรายจากชุมชน คือ สิ่งที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสารอันตรายวัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อและวัตถุไวไฟ เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุสารก าจัดศัตรูพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น
ซึ่งแต่ละประเภท หากเรามีการคัดแยกขยะแล้ว จะทำให้เราสามารถจัดหาวิธีในการนำไปจัดการและกำจัดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมและสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีก
การกำจัดขยะมูลฝอยง่ายๆ ในครัวเรือนและชุมชน โดยใช้ มาตรา 3 ช ดังนี้
- ใช้น้อย (Reduce) คือ ใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาทาความสะอาด ถ่านไฟฉายชนิดชาร์จใหม่ได้ ฯลฯ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก เช่น ถุงพลาสติกและกล่อง โฟม
- ใช้ซ้ำ (Reuse) คือ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่านำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงใช้ประโยชน์ หรือเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง แทนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ครั้งเดียวทิ้ง เช่น การใช้กระบอกน้ำาแทนน้ำขวด การใช้กระดาษสองหน้า เป็นต้น
- 3.แปรรูปการใช้ (recycle) คือ การนำวัสดุที่ยังสามารถน ากลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เข้าสู่กระบวนการผลิตตามกระบวนการของแต่ละประเภท เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่หรือสร้างมูลค่า เช่น การคัดแยกขยะ เช่น ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติกและโลหะเพื่อนำไปขายให้ร้าน รับซื้อของเก่า หรือซาแล้ง การน าเศษวัสดุหรือกล่องนมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยมีการจัดทำโครงการรณรงค์ให้รู้จักการ จัดแยก คัด และกำจัดให้ถูกวิธี โดยปลูกฝั่งจิตสำนึก ของคนในหมู่บ้าน หนวยงาน องค์กรส่วนท้องถิ่นและชาวบ้านในบ้านด่านให้มีการทำโครงการต่อไปจะช่วยเพิ่ม ความสะอาด สุขลักษณ์ให้ดีขึ้นจะช่วยให้สถานที่แหล่งท่องเที่ยว วัด ภาพลักษณ์ดีขึ้น เพิ่มนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวมากขึ้น เพิื่มรายได้แก่ชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยวให้มีการบูรณาการ พัฒนาไปในทุกด้านในอนาคต ต่อไป
https://drive.google.com/drive/folders /1d4o0cVY_oPzhCv1oix9TL49dRYKc3i_H