โดยคณะทีมงานลงพื้นที่ ที่ได้รับผิดชอบในครั้งนี้ได้แก่ หมู่4 หมู่ 8 และหมู่ 14 ตำบลบ้านด่าน โดยลงพื้นที่สอบถาม ข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนและแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมประเพณี ได้สอบถามนักปราชญ์ นายเพียน ทองนำ เป็นคนเก่าคนแก่ว่า เขตตำบลบ้านด่าน มีหลากหลายกลุ่มเผ่าพันธ์  เช่น ไทยนางรอง เขมร  ลาว และส่วย ในครั้งนี้พบว่า  มีแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและประเพณีที่น่าสนใจ เช่น  บุญเทศมหาชาติ บุญเดือนสี่รำแม่มด ที่เป็นความเชื่อของคนเชื้อสายเขมร  ประเพณีแซน โฎนตาบุญเดือนสิบ(บุญข้าวสารท)   ประเพณีเข้าพรรษาและออกพรรษา ที่ทำกันมานาน เด็กทุกวันนี้มักไม่คุ้นชิ้นและไม่ทำตามขนมทำเนียมประเพณี ทำให้ประเพณีเริ่มสูญหายไป เป็นบางบ้าน

บุญเดือนบุญเดือนสิบ (แซนโฏนตา)   เป็นประเพณีในเทศกาลสารท บางคนก็เรียกว่า “สารทเขมร” (คล้ายๆ กับสารทจีน สารทไทย) คล้ายกับประเพณีสลากภัต ตานก๋วยสลาก หรือบุญเดือนสิบในภาคอื่นๆ แต่อาจแตกต่างในรายละเอียดพิธีกรรม โดยประเพณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ ตำนานที่สืบทอดนานเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผี และบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมถึงชาวเขมรหรือกัมพูชาด้วย เป็นการรำลึกและอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ โดยประเพณี แซนโฎนตา จะจัดขึ้นทุกปีในช่วง แรม 15 ค่ำ เดือน 10  โดยพอตกเย็นชาวบ้านก็จะนำอาหารและของเซ่นไหว้เช่นแต่ละบ้านจะทำพิธีแซนโฎนตาแล้วแต่เวลาตามสะดวก สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา ได้แก่กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่าเสื้อผ้าใหม่ ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ พร้อมแป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจกสำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็ดต้ม 1 ตัว ไก่ต้ม 1 ตัว หรืออานมีหัวหมู ตามแต่ฐานะกับข้าวต่างๆขนมต่างๆ ได้แก่ ขนมข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ กันกันเตรือม ขนมกันตางราง ขนมนางเล็ด ขนมไข่หงส์ ขนมข้าวเกรียบ ขนมข้าวพองผลไม้ต่างๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนและกล้วยน้ำว้าสุกน้ำดื่ม เหล้า ตามแต่เห็นสมควรเทียน 2 เล่ม จุดไว้อย่าให้ดับกระถางธูปและธูป ไว้สำหรับจุดเวลาเซ่น และจะใช้ปักไว้ตามจานอาหารด้วย จะเวียนกันไปแซนโฎนตาตามบ้านใกล้เรือนเคียงเป็นที่สนุกสนานรื่นเริง คนที่ไม่ได้พบปะกันมานานก็จะมีโอกาสได้พูดคุยกัน บางบ้านก็มีการกินเลี้ยงกันสนุกสนาน

เพื่อคงสืบไว้ให้ลูกหลานคนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไม่ให้สูญหายไป เพื่อได้เป็นแหล่งหยึดเหนี่ยวจิตใจและรักษาความกตัญญูต่อบรรพบุรุษต่อไปและยังเป็นกลอุบายบรรดาลูกหลานญาติพี่น้องจะกลับมาบ้านมาไหว้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และจะนำเอามะพร้าว ข้าวสารเหนียว ขนมต่างๆ มามอบให้ หรืออาจมอบเงินด้วย เพื่อให้ท่านได้ใช้ทำบุญในประเพณีแซนโฎนตา หากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพและมอบข้าวของเงินทองให้ หรือถ้าทำไม่ได้ก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายพระที่วัดแทน เหมือนกับเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับ…

     

     

 

อื่นๆ

เมนู