NS03 การพัฒนาผลิตภัณฑ์งานจักสานสู่สินค้า OTOP ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ (ระยะสำรวจ)

ข้าพเจ้า นายสิริมงคล บุตรขัน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร “การพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง” ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าและทีมงานได้รับมอบหมายในการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับประชาชนในชุมชน ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 3 บ้านหนองโสน หมู่ 6 บ้านปลัดปุ๊ก หมู่7 บ้านแคน หมู่ 8 บ้านไผ่ทุ่ง หมู่ 10 บ้านสำโรง และหมู่ 11 บ้านหนองไผ่ โดยลงพื้นที่ไปพูดคุย สัมภาษณ์ นาย พุทธ เฉลียวรัมย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่10 ได้ให้ข้อมูลว่าประชากรในตำบลวังเหนือบางส่วน หลังจากทำการเกษตรเสร็จแล้ว จะมีอีกอาชีพที่ประชากรในตำบลวังเหนือทำเป็นอาชีพเสริม นั่นคือการจักสานจากไม้ไผ่ ได้แก่ สุ่มไก่ ตะกร้า และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่จะมีลูกค้าสั่งเข้ามา แต่เนื่องด้วยเศรษฐกิจช่วงมีการระบาดของ Covid-19 ทำให้ประชากรในตำบลวังเหนือ ไม่ได้ทำผลิตภัณฑ์จักสาน เพราะยังมีผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ขายออกจากไปจำนวนมาก โดยนิยามงานจักสานของชุมชนให้ข้อมูลว่า “คือการผลิตอุปกรณ์ ภาชนะ โดยใช้ ไม้ไผ่ ที่ผ่านการเหลา การลดความคม มีเส้นบาง นำมาสานด้วยรูปแบบต่างๆ”
โดยสรุปงานจักสานของตำบลวังเหนือ ยังมีจุดที่ควรพัฒนาคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ การทำให้ทันสมัย การออกแบบให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ และการเพิ่มช่องทางการส่งออกของผลิตภัณฑ์จักสานเพิ่มขึ้น อาจเป็นในรูปแบบออนไลน์ การวางขายในแหล่งที่ท่องเที่ยว หากใช้หลักสูตร “การพัฒนาชุมชนต้นแบบโดยใช้สมรรถนะการบริหารจัดการตนเอง” อาจสามารถช่วยพัฒนาการประกอบอาชีพ หรือ วิสาหกิจชุมชนให้ดีขึ้นได้

อื่นๆ

เมนู