บทความการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน เดือนมิถุนายน
ข้าวพเจ้านางสาวชลธิชา ดุจจานุทัศน์ ผู้ถูกจ้างงานประเภท นักศึกษา ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด นี้ได้จัดขึ้นในวันที่ 28 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ซึ่งอยู่ในช่วงสัปดาห์โควิด 19 โดยทีมงานปฎิบัติงานชองตำบลปราสาทได้จัดการเดินรณรงค์ไปตามเขตชุมชน อาทิเช่น วัด ตลาดนัดเทศบาลตำบลปราสาท ศาสากลางหมู่บ้าน เพื่อแจกจ่ายหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ แผ่นพับเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด 19 ให้ความรู้แก่คนในชุมชน ทั้งข้อดีข้อเสียในการฉีดวัคซีน ให้คนในชุมชนมีการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น การลงทะเบียนหมอพร้อม การเตรียมร่างการก่อนการเข้ารับการฉีดวัคซีน เป็นต้น
องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19
โรคโควิด 19 คืออะไร
โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก
อาการของโรคโควิด 19 คืออะไร
อาการทั่วไปของโรคโควิด 19 พี่พบมากที่สุดคือ ไข้ ไอ ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น และอ่อนเพลีย อาการที่พบน้อยกว่าแต่อาจมีผลต่อผู้ป่วยบางรายคือ ปวดเมื่อย ปวดหัว คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง หรือผื่นตามผิวหนัง หรือสีผิวเปลี่ยนตามนิ้วมือนิ้วเท้า อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรง
การแพร่เชื้อ
โรคโควิด19 นี้โดยหลักแล้ว แพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูกหรือปากซื่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วย ไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการ หายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วย หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า
ต้นกําเนิดของไวรัส
ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และมีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกําเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของ การระบาดในระยะเริ่มแรก
การเตรียมตัวสำหรับการฉีดวัคซีน
วัคซีนป้องกัน COVID-19 ก็เหมือนกับวัคซีนอื่นๆ ที่ไม่ได้ให้ผลในการป้องกัน 100% ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนและการตอบสนองของแต่ละบุคคล โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 60-90% แล้วแต่ประเภทของวัคซีน แต่คุณสมบัติสำคัญของวัคซีน COVID-19 ทุกตัวสามารถลดความรุนแรงของการป่วยหลังการติดเชื้อและการเสียชีวิตได้เกือบ 100% ซึ่งจะทำให้การต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการสูญเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก เพื่อให้การรับวัคซีนได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เราจึงจำเป็นต้องเตรียมตัว เตรียมสุขภาพ เพื่อให้พร้อมสำหรับการฉีดวัคซีน ดังนี้
ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
- สองวัน ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนักๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ทำใจสบายๆ
- หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
- ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย
ระหว่างเข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19
- สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่าง
- เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ข้อมูลการลงทะเบียน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
- เจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และค่าออกซิเจนในเลือด ก่อนรับการฉีดวัคซีน
- แนะนำให้ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด สวมใส่เสื้อผ้าที่สะดวกต่อการฉีดวัคซีน
- หากมีโรคประจำตัวหรือ มียาที่ต้องรับประทานประจำ ควรแจ้งพยาบาลก่อนรับการฉีดวัคซีน
หลังรับการฉีดวัคซีน COVID-19
- พักรอดูอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่ฉีดวัคซีน 30 นาที หากมีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการรุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่และพบแพทย์ทันที
- พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนักๆ อย่างน้อย 2 วัน
- ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก ให้รับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ได้ 1 เม็ด และรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)
- เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วก็ยังคงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับฉีดวัคซีนเข็มที่สองกระตุ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรืออาการป่วยรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เป็นเพียงปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อวัคซีนเท่านั้น และแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่อไปอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุให้ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากเราได้
วันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ในช่วงเช้า ได้จัดโครงการส่งเสริมการสร้างสุขแบบองค์รวมพื้นฐานวิถีใหม่ในชุมชนหลังการระบาดละลอกใหม่ของ COVID-19 โดยครั้งนี้มีการเชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลบุรีรัมย์ มาให้ความรู้เรื่อง โควิด-19
นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมสอนทำหน้ากากคลุมหน้าเฟสชิว ( Face Shield ) โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ตัดขอบพลาสติกให้โค้งมน
- ติดทเปกาว 2 หน้ากว้าง 1 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว
- ตัดโฟมหนา 1 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว
- ลอกเทปกาวออก
- แม็กซ์เย็บโดยหันด้านนอกออก
- ตัดยางยืดขนาด 1 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว
- เย็บยางยืดเข้ากับพลาสติก
- ติดเทปกาวกระดาษเพื่อความสวยงาม
มีกิจกรรมในการทำสเปรย์แอลกอฮอล์เพื่อให้ความรู้แก่คนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีวิธีการทำ ดังนี้
1.เอทิลแอลกอฮอล์ 95% ปริมาณ 900 มิลลิลิตร
2.ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3-6% ปริมาณ 30 มิลลิลิตร
3.กลีเซอรีน 98% ปริมาณ 36 มิลลิลิตร
4.น้ำกลั่นหรือน้ำ RO ปริมาณ 128 มิลลิลิตร
5.คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
6.บรรจุใส่ขวดสเปรย์ขนาด 50 มิลลิลิตร
แล้วนำสเปรย์แอลกอฮอล์แจกจ่ายให้แก่ องค์กร คณะผู้ปฏิบัติงาน และผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมทุกคน
ในช่วงบ่าย ได้มีการจัดกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมกับชุมชนการทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยได้แบ่งกลุ่มชาวบ้านและทีมงานปฏิบัติงาน เพื่อทำจิตอาสาพัฒนาชุมชนในแต่ละพื้นที่รับผิดชอบ ก่อนให้เกิดความสามารถคีในหมู่คณะ พัฒนาชุมชนไปในทางที่ดี น่าอยู่อาศัย