บทความการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน เดือนตุลาคม

            ข้าวพเจ้านางสาวชลธิชา ดุจจานุทัศน์ ผู้ถูกจ้างงานประเภท นักศึกษา ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ความเป็นมาแต่เดิมของตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเปลี่ยนจากกิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปีพ.ศ.2538 โดยแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีจำนวน 18 หมู่บ้าน ซึ่งการตั้งชื่อตำบลว่าตำบลปราสาทนั้น เพราะเคยมีโบสถ์เก่าทำจากหินศิลาแลง แต่ตอนนี้โบสถ์ได้พังทลายลงและไม่มีการบูรณะขึ้นมาใหม่เจ้าอาวาสในสมัยนั้นเลยได้ให้ชาวบ้านทำการรื้อถอนและสร้างโบสถ์แบบสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ในปัจจุบันในตำบลปราสาทเคยมีการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่เพียงแต่หยุดชะงักไปและไม่มีการดำเนินโครงการต่อเพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์และการจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 

           ต่อมาในส่วนของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจากแหล่งสำคัญที่มีอยู่แล้วในบริเวณพื้นที่บ้านสะแกหมู่17 ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโครงการโคกหนองนาโมเดลร่วมกับสวนหมากที่มีอยู่ก่อน จึงจะนำมาพัฒนาเป็นแหล่งทีองเที่ยวเรียนรู้เชิงการเกษตรเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นภายในตำบลปราสาทของเรา

         นอกจากนี้ยังมีมันเทศพันธุ์ช็อคโกแลตที่มีรสชาติหวาน มีความโดดเด่นประจำตำบลปราสาท มีพื้นที่การเพาะปลูกบริเวณโคกพลับพลา ซึ่งเนื้อพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกเนื้อที่กว่า 100 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ของบ้านกะนัง หมู่ 6 โดยมีช่วงเวลาการปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูหนาวจัดจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 20 บาทส่วนผลผลิตทางการเกษตรจะอยู่ที่เฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน เป็นต้น

        และยังมีสวนพุทรานมสด ในสวนฝรั่งของคุณยายกวนที่มีหนึ่งเดียวในตำบลปราสาท ตั้งอยู่เส้นหลังโรงเรียนบ้านตะโกตาเนตรหมู่ 10  มีพร้อมด้วยพืชผลทางการเกษตรหลากหลายชนิด เช่น กล้วยหอม มะละกอ มะนาว พริก ผักหวาน และพืชผักชนิดต่างๆอีกหลายชนิด สามารถติดต่อเข้าชมเพื่อเรียนรู้ข้อมูลทางการเกษตรกับเจ้าของสวนได้อีกด้วย

ต่อมาที่สวนหมากของอาจารย์วรวงศ์ หงษ์ทอง เป็นสถานที่ส่วนบุคคลที่จะเปิดเป็นสถานที่เรียนรู้เชิงเกษตรผสมผสาน สถานที่อยู่ไม่ห่างจากจากสวนพุทรานมสดและสวนฝรั่งเป็นสถานที่ที่น่าแวะพักผ่อนและยังได้ความรู้กลับไป

ประโยชน์และสรรพคุณหมาก

         ในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากหมากมาตั้งแต่อดีตแล้ว เช่น เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ เช่น สุนัข ไก่ชน และแกะ ด้วยการนำผลแก่มาบดให้สัตว์กิน ยอดอ่อนของลำต้นสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารจำพวกผักได้ ส่วนจั่นหมากหรือดอกหมากเมื่อยังอ่อนอยู่ก็ใช้รับประทานเป็นอาหารได้เช่นกัน ช่อดอกซึ่งมีกลิ่นหอมจะถูกนำมาใช้ในงานแต่งงานและงานศพ กาบใบนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการทำภาชนะ เครื่องจักสาน หรือวัสดุห่อหุ้มสิ่งของ เช่น ปลอกมีด เนื้อในเมล็ดนำมาใช้ในการผลิตสีย้อมผ้า เปลือกผลนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง หมากใช้ในพิธีทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย พนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่ง หมอนนอน บริพารกฐิน โดยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน (ปีละ 2 ล้าน) ซึ่งก็แสดงว่า ในพิธีกรานกฐินต้องมีการจัดพานหมาก ใช้ในพิธีด้วย  ในพิธีแต่งงานซึ่งมีการแห่ขันหมาก ก็ต้องจัดพานหมากในพิธีด้วยเช่นกัน
        หมากใช้บริโภคเป็นของขบเคี้ยว แต่เดิมคนไทยทั้งชายและหญิงกินหมากกันแทบทุกคน ภายหลังรัฐบาลให้ตัดต้นหมาก ต้นพลูทิ้ง เพื่อให้ประชาชนเลิกกินหมาก ดังนั้น จึงเหลืออยู่แต่คนแก่ที่ยังนิยมกินหมากกันอยู่ นอกจากประเทศไทยซึ่งประชาชนนิยมกินหมากแล้ว ยังมีประเทศไต้หวัน พม่า อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็นิยมกินหมากเช่นกัน และในปัจจุบันยังมีการใช้ประโยชน์จากหมาก ในด้านอุตสาหกรรมอีกด้วย เช่น เมล็ดหมาก เมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยาง และสารอัลคาลอยด์ ชื่อ Arecoline ที่มีแทนนิน (Tannin) สูง จึงสามารถใช้ในทางอุตสาหกรรมและยารักษาโรคได้หลายชนิด ได้แก่ ใช้ทำสีต่างๆ  ใช้ย้อมแห อวน ทำให้แหและอวนนิ่มและอ่อนตัว ยืดอายุการใช้งานได้นานเส้นด้ายไม่เปื่อยเร็ว

  1. เป็นยาสมานแผล
  2. เป็นยาขับพยาธิในสัตว์
  3. แก้ท้องเดิน ท้องเสีย
  4. ช่วยขับพิษ
  5. ทาแก้คัน
  6. ขับปัสสาวะ
  7. แก้ปากเปื่อย
  8. ช่วยสมานแผลทำให้เลือดหยุดไหล และแผลหายเร็ว
  9. ทำให้เหงือกและฟันแข็งแรง
  10. ยับยั้งการไหลของหนองเวลาเป็นแผล
  11. แก้ปวดแน่นท้อง
  12. เป็นยาเบื่อพยาธิตัวตืด ฆ่าพยาธิบาดแผล
  13. รักษาน้ำกัดเท้า
  14. ช่วยขับน้ำในกระเพาะลำไส้ และช่วยในการย่อยอาหาร
  15. ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  16. ช่วยบำรุงธาตุ

ลักษณะทั่วไปหมาก

        หมากจัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-15เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบ ๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ส่วนกลางของลำต้นเป็นเสี้ยนไม่อัดแน่น และมีเนื้อไม้อ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ จึงทำให้ต้นหมากเหนียวและสามารถโยกเอนได้

       ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียนหนาแน่นที่ปลายยอด ก้านใบรวมยาวได้ประมาณ 130-200 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแคบ ใบอ่อนมีรอยแยก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบหนามีกาบใบหุ้มลำต้น

      ดอกหมากหรือจั่นหมากจะเกิดที่ซอกโคนก้านใบหรือกาบหมาก ดอกออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ประกอบด้วย แกนกลางหรือโคนจั่นยึดติดอยู่ข้อของลำต้น และก้านช่อดอกเป็นเส้นยาวๆจำนวนมากแตกออกจากแกนกลาง ก้านช่อดอกแต่ละเส้นจะมีดอกหมากติดอยู่ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้จะอยู่ที่ส่วนปลายและดอกตัวเมียจะอยู่ที่ส่วนโคน  เมื่อกาบหุ้มจั่นแตกออก ดอกตัวผู้จะบานจากปลายกิ่งแขนงไปหาโคนแขนงหรืออาจจะบานก่อนกาบหุ้มจั่นแตกออกก็ได้  ดอกตัวผู้จะใช้เวลาประมาณ 21 วันจึงหมด หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 วัน ดอกตัวเมียจะเริ่มบานเป็นเวลาประมาณ 3-5 วัน ดอกตัวเมียทีได้รับการผสมละอองเกสรแล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลหมากต่อไป

     ผลออกเป็นทะลาย ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม รูปกลมรี รูปไข่ รูปไข่ปลายแหลม หรือเป็นรูปกระสวยขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยแล้วผลที่รวกมันเป็นทะลาย ในหนึ่งทะลายจะมีผลอยู่ประมาณ 10-150 ผล ผิวผลเรียบ มีกลีบเลี้ยงติดเป็นขั้วผล ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผลดิบหรือผลสดเปลือกผลจะเป็นสีเขียวเข้ม เรียกว่า “หมากดิบ” ผลเมื่อแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มทั้งผลหรือสีแดงแกมส้ม เรียกว่า “หมากสุก” หรือ “หมากสง” ผลประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ เปลือกชั้นนอก , เปลือกชั้นกลาง, เปลือกชั้นใน, และส่วนของเมล็ดหรือเนื้อหมาก เมื่ออ่อนจะนิ่ม เนื้อส่วนผิวจะมีลายเส้นสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ส่วนเนื้อจะเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ถึงสีเหลืองเข้มอมแดง ภายในผลมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์หมาก

            หมากเป็นไม้ยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตทางด้านยอดเพียงด้านเดียว จึงไม่มีการแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อการขยายพันธุ์ได้ ดังนั้นวิธีการขยายพันธุ์จึงใช้วีการเพาะเมล็ดเพียงวิธีเดียว  ผลหมากที่จะนำมาเพาะนั้นควรเป็นผลที่ปล่อยให้แก่หรือสุกบนต้นจนเกือบจะร่วง ซึ่งเป็นผลที่มีอายุ 7-8 เดือนขึ้นไป เปลือกสีเหลือง

            การเพาะเมล็ด ในการเพาะหมาก ต้องเพาะในแปลงเพาะให้งอกเสียก่อน แล้วจึงนำไปชำให้เจริญเติบโตจนได้ขนาดพอเหมาะที่จะนำไปปลูก ลักษณะของแปลงเพาะที่ดีคือ

  • ควรเป็นที่โล่งแจ้ง หรือแสงรำไร
  • ขุดดินบริเวณที่จะเพาะให้ลึกประมาณ 6 นิ้ว เพราะต้องใช้แปลงนานประมาณ 6 เดือน ซึ่งต้นหมากจะแทงรากลงดินแล้ว ดินที่ใช้เพาะควรเป็นดินร่วนปนทราย ดินทรายหรือดินที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าแกลบ
  • นำผลหมากลงที่เตรียมไว้มาวางเรียงเป็นแถวให้ผลติดกัน โดยวางผลให้ตั้งตรงให้ขั้วผลอยู่ด้านบน
  • ให้น้ำวันเว้นวัน (ทุกๆ 2 วัน) ถ้าวันไหนฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ
  • หลังจากเพาะหมากไปแล้ว 1-2 เดือน ผลหมากจะงอกขึ้นมาเป็นปุ๋มเล็กๆ ทิ้งไว้อีกประมาณ 4-5 เดือน ต้นหมากจะแตกใบออกเป็น 2 แฉก สูงประมาณ 6-8 นิ้ว จึงขุดย้ายไปชำได้ ทั้งนี้การย้ายชำกล้าหมากควรกระทำในฤดูฝนการชำ  
  • กะระยะชำในแปลง ให้ต้นห้างกันประมาณ 30×30 เซนติเมตร
  • ขุดหลุมให้ลึกพอสมควรและการขุดย้ายต้นหมากจากแปลงเพาะต้องระมัดระวัง อย่างให้ผลที่เพาะได้หลุดจากต้นกล้า ควรขุดต้นกล้าให้มีรากติดมากที่สุด ถ้าติดรากน้อยเมื่อนำไปปลูกต้นจะเหี่ยวเฉาและตายได้
  • นำต้นหมากที่ขุดย้ายไปวางในหลุมที่ขุดได้ โดยให้ต้นตั้งตรงกลบดินให้แน่นติดผลหมาก เพื่อไม่ให้ต้นโยกคลอนหรือล้มง่าย รดน้ำให้ชุ่มและควรทำร่มพรางแสงให้ในช่วง 2 สัปดาห์แรก ต่อจากนั้นค่อยๆลดการพรางแสดงแดดจนหน่อหมากได้รับแสงเต็มที่
  • ถ้าฝนไม่ตก ควรให้น้ำแปลงชำทุก 2 วัน
  • เมื่อหน่อหมากมีอายุได้ประมาณ 6-8 เดือน หรือมีหางใบ 4-6 ใบ ก็ขุดไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ได้ ส่วนการปลูกก็เหมือนการปลูกพืชชนิดอื่นๆ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู