ข้าพเจ้านางสาวพิลาวัลย์ ศิขินารัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่ได้ทำการสำรวจพบว่าในชุมชนมีการผลิตผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือกระจายทุกหมู่บ้าน แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการยกระดับสินค้า ดังนั้น จึงเกิดการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อหารายได้ให้แก่คนในชุมชน และเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีรายได้ รู้จักการใช้เวลาว่าง และใช้วัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ พัฒนารูปแบบ และร่วมกันคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนั้น ข้าพเจ้าและทีมงาน จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือ สู่การยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้
จัดรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความง่ายและซับซ้อนต่างกัน ทั้งเพื่อให้ครอบคลุม ทักษะพื้นฐาน และความสนใจของผู้เข้าอบรม
1.หมวก Bucket จากผ้าใช้ได้ 2 ด้าน
2.กระเป๋า Bucket Bag จากผ้าใช้ได้ 2 ด้าน
3.กระเป๋าสตางค์แบบมีฝาและแบ่งช่องด้านในกระเป๋า
วิธีการจัดการการอบรม
1.อบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.จัดรูปแบบเป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยมีวิทยากรเป็นผู้ดูแลเป็นรายบุคคล
ขั้นตอนการทำ
1. นำผ้าที่เตรียมไว้ โดยเลือกลวดลาย สีสันให้เหมาะสมกับรูปแบบกระเป๋า
2. สร้างแบบลงบนกระดาษสร้างแบบ และเขียนแบบแพทเทิร์นกระเป๋าลงบนผืนผ้า
3. ตัดผ้าที่จะทำกระเป๋าตามแบบที่สร้างไว้
4. นำผ้ามารีดเพื่อให้เห็นลวดลายที่ชัดเจน และง่ายต่อการตัดเย็บ
5. วางผ้าเคมีเข้ากับเศษผ้าฝ้าย แล้วขีดเส้นด้วยชอล์กบนผืนผ้า และเย็บตามรอยที่ขีดไว้
6. ตัดเย็บตามแบบ ใส่ซิบ และตกแต่งตามแบบที่ต้องการ
7. นำมารีดให้เรียบอีกครั้ง
ขอขอบคุณทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลปราสาท ท่านวิทยากร รวมทั้งผู้นำชุมชน ชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำโครงการในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพของคนในชุมชนต่อไป