1. หน้าแรก
  2. พยาบาลศาสตร์
  3. NS05 - ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน
  4. NS05 ตำบลปราสาท สรุปผลการดำเนินโครงการ วิเคราะห์ปัญหา สิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่ได้รับจากการทำงานในชุมชน

NS05 ตำบลปราสาท สรุปผลการดำเนินโครงการ วิเคราะห์ปัญหา สิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่ได้รับจากการทำงานในชุมชน

ข้าพเจ้านางสาวลภัสรดา ขจัดโรคา ประเภทประชาชน ทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ของตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัชบุรีรัมย์ ได้ดำเนินโครงการตามตัวชี้วัด มีจำนวน 12 โครงการ ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

ด้านบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าชุมชนสู่สินค้า OTOP (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) มีโครงการที่ได้ดำเนินการ คือ

1.โครงการประชุมประชาคมผู้นำเพื่อคืนข้อมูลชุมชน

2.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือสู่การยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ

3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตรและสร้างสัมมาชีพแก่ชุมชน

4.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือโดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) พร้อมทั้งการสอนคิดต้นทุนสินค้า

5.โครงการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน

6.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการทำตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มรายได้แก่ชุมชน

ด้านนำองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพไปช่วยบริการชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาวะ (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) มีโครงการที่ได้ดำเนินการ คือ

1.โครงการกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสุขแบบองค์รวมพื้นฐานวิถีใหม่ในชุมชน หลังการระบาดระลอกใหม่ของ COVID 19

2.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้ภูมิปราชญ์เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคม

ด้านการสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) มีโครงการที่ได้ดำเนินการ คือ

1.โครงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนสู่การยกระดับการท่องเที่ยว

2.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเล่าเรื่อง นักสื่อความหมาย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว

ด้านเพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้กับชุมชน (การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy) มีโครงการที่ได้ดำเนินการ คือ

1.โครงการจิตอาสาที่ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ร่วมกับชุมชน การทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน

2.โครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะในครัวเรือน)

ซึ่งปัญหาที่พบในการขับเคลื่อนโครงการตามตัวชี้วัดนั้นถึงแม้การดำเนินโครงการทุกโครงการเสร็จสิ้นตามแผนงานที่กำหนดไว้ แต่ยังมีบางโครงการที่ยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ทันทีให้เป็นตามวัตถุประสงค์โครงการ เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการติดตามผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายโครงการ ส่วนใหญ่พบว่าประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดำเนินโครงการ แต่ยังขาดการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำรายละเอียดโครงการ การสรุปติดตามภายหลังโครงการเสร็จสิ้นแล้ว รวมถึงการดำเนินโครงการโดยมีกลุ่มเป้าหมายไม่เหมาะสม เช่นโครงการด้านการตลาดออนไลน์ โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือโดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น นอกจากนี้บางโครงการเป็นการดำเนินการในลักษณะนำร่องบางพื้นที่ หากต้องการเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

สิ่งที่ได้เรียนรู้และได้รับในการลงพื้นที่ทำงานในชุมชน

1.ได้ฝึกทักษะการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นการทำเอกสารทางราชการ หรือแม้แต่การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก รวมถึงการประสานกับผู้นำชุมชน และกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมทำงานเป็นกลุ่มกับทีมผู้ปฏิบัติงาน

2.ได้รับประสบการณ์ด้านการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ร่วมแก้ปัญหา และช่วยพัฒนาชุมชนทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนในชุมชนในมุมที่กว้างขึ้น เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน

3.ความร่วมมือของหน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ที่ให้ความไว้ว่างใจและความความช่วยเหลือทีมปฏิบัติงานจนเกิดประสิทธิพลและเป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้การปฏิบัติงานมีศักยภาพและขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายนี้ข้าพเจ้านางสาวลภัสรดา ขจัดโรคา ขอขอบคุณทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาทและทีมอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลทุกท่าน

 

อื่นๆ

เมนู