ดิฉันนางสาวสุชาวดี ศรีนาเมือง ตำแหน่ง กพร ทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ของตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัชบุรีรัมย์ ได้ดำเนินโครงการตามตัวชี้วัด มีจำนวน 12 โครงการ ดังนี้
1.โครงการประชุมประชาคมผู้นำเพื่อคืนข้อมูลชุมชน
2.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือสู่การยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ
3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตรและสร้างสัมมาชีพแก่ชุมชน
4.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือโดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) พร้อมทั้งการสอนคิดต้นทุนสินค้า
5.โครงการสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน
6.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการทำตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มรายได้แก่ชุมชน
7.โครงการกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสุขแบบองค์รวมพื้นฐานวิถีใหม่ในชุมชน หลังการระบาดระลอกใหม่ของ COVID 19
8.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในการใช้ภูมิปราชญ์เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุติดสังคม
9.โครงการศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการชุมชนสู่การยกระดับการท่องเที่ยว
10.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักเล่าเรื่อง นักสื่อความหมาย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว
11.โครงการจิตอาสาที่ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ร่วมกับชุมชน การทำความดีพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน
12.โครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะในครัวเรือน)
หน้าที่หลักและความรับผิดชอบต่อการทำโครงการ เนื่องจากดิฉันตำแหน่ง กพร แต่เขตปฏิบัติงานตามรายตำบลกับผู้ปฏิบัติงานในทีม
1.ดำเนินเอกสารต่างๆของโครงการ และดำเนินหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู็ดูแลรายตำบล
2.เข้าร่วมทุกกิจกรรม การจัดโครงการ และร่วมเป็นพิธีกรบางโครงการ
ประโยชน์ของโครงการที่เกิดขึ้นกับชุมชนอย่างชัดเจน
คือ คนในชุมมีความคิดใหม่ๆจาการที่ได้นำคนรุ่นใหม่เข้าไปให้ความรู้ ติดตามผล และสามารถนำไปต่อยอดได้ประโยชน์สูงสุด เกิดอาชีพใหม่ โดยการโครงการต่างๆทำให้มีคุณภาพชุมชนมีเพิ่มมากยิ่งขี้น เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการปฏิบัติงานในโครงการ
ได้พัฒนาประสบการณ์ในการทำงานด้านใหม่ๆ ทำงานเป็นทีม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานให้เหมาะสมกับความสามารถของตัวบุคคล รับทราบปัญหาของชุมชน นำปัญหาต่างๆมาผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหา และช่วยพัฒนาชุมชนให้ได้รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนโดยแท้จริง เพื่อให้ตรงตามหลักเป้าหมายของโครงการคือการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบล
ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน
1.เกิดการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Community Big Data)
2.เกิดการจ้างงานในชุมชน
3.ผู้รับจ้างงานได้พัฒนาทักษะครบทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านดิจิทัล 2.ด้านภาษาอังกฤษ 3.ด้านการเงิน 4.ด้านสังคม Social Literacy
4.ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
5. ลดอัตราการว่างงาน
ดิฉันนางสาวสุชาวดี ศรีนาเมือง ขอขอบคุณโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาทและทีมอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลทุกท่าน ที่ได้เพิ่มประสบการณ์ด้านการทำงานใหม่ๆใหเแก่ดิฉันค่ะ