ข้าพเจ้านางสาวศิริลักษณ์ หานะพันธ์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
สืบเนื่องจากทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาทได้มีการจัดโครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (การทำปุ๋ยอินทรีย์) ขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม2564 ณ บ้านบุ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทางโครงการจัดทำการสาธิตวิธีการทำปุ๋ยยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 3 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 จุลินทรย์สังเคราะห์แสง
วัสดุ
1. น้ำจากแล่งธรรมชาติ
2. ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรหหรือมากกว่า
3. ไข่ไก่ 1 ฟอง
4. น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้
5. ถ้วย,ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ1. ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วเติมน้ำปลาลง 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน
2. นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตรไปตากแดดประมาณ 4-5 วัน ก่อนเติมไข่ไก่ที่เตีรยมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
3. นำไปตั้งไว้บริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่องถึงทุกวัน
วิธีที่ 2 จุลินทรีย์หน่อกล้วย
วัสดุ1. หน่อกล้วยเล็กๆสูงประมาณ 1 เมตร 3 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
3. น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน 3 ลิตร
4. EM จำนวน 3 ฝา
5. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ
1. สับหน่อกล้วยเป็นชิ้นเล็กๆ
2. เติมน้ำเปล่าลงถัง เติมกากน้ำตาลและ EM จำนวน 3 ฝาลงไป คนให้ละลายเข้ากันประมาณ 15 นาที
3. เติมหน่อกล้วยที่สับแล้วลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง กดส่วนผสมให้จมลง ปิดฝาถังนำไปวางไว้ในที่ร่ม 10 วัน นำไปกรองเอาเฉพาะน้ำใช้ได้เลย ส่วนกากที่เหลือให้นำไปทำปุ๋ยหมักหรือนำไปใส่โคนต้นไม้ได้
วิธีที่ 3 ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ (แบบกลับกอง)
วัสดุ1.มูลสัตว์ 1 กระสอบปุ๋ย
2.แกลบ 1 กระสอบปุ๋ย (หรือเศษพืชแห้ง)
3.สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1 ซอง
วิธีทำ 1.นำมูลสัตว์กับแกลบมาผสมให้เข้ากัน
2.ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร นาน 10-15 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดการย่อยสลาย
3.กองขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ที่ผสมน้ำแล้วราดลงไปบนกอง ชั้นบนปิดด้วยมูลสัตว์ผสมแกลบที่เหลือเพื่อรักษาความชื้น
การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
1.รดน้ำรักษาความชื้นในกองปุ๋ย ให้ความความชื้นประมาณ 50-60%
2.กลับกอง 10 วันต่อครั้ง เพื่อเพิ่มออกซิเจน ลดความร้อนในกองปุ๋ยและช่วยให้วัสดุคลุกเคล้ากัน
3.การเก็บรักษากองปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว คือเก็บในร่ม อย่าตากแดดและฝนจะทำให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยสูญเสีบไปได้
หลังจากให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมโครงการเสร็จหลังจากนั้น 1 เดือนจึงได้มีการติดตามผลโครงการ
วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ลงพื้นที่สำรวจการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรบ้านบุ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ การทำเกษตรของเกษตรกรบ้านบุเป็นเกษตรผสมผสาน ที่ปลูกผักมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป ทำนา เอาไว้ขายและเอาไว้รับประทานเอง
วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ณ บ้านบุ ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่สำรวจ สัมภาษณ์เกษตรกรในการทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์และการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ในโครงการ Quick wins โดยการขับเคลื่อน “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ” U2T มหาวิทยาลัยราชัฏบุรีรัมย์
วันที่ 16 สิงหาคม 2564 ทางทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาทได้ทำการลงสำรวจสอบถามติดตามผลโครงการอบรมหนุนเสริมการนำทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ว่าผู้เข้าร่วมโครงการได้สานต่อการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้อบรมไปหรือไม่ จากการสำรวจ พบว่า
- จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 60 คน
- จำนวนคนที่ทำปุ๋ยอินทรีย์ 37 คน จำนวน 35 คน ทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ (แบบกลับกอง) รองลงมาจำนวน 2 คน ทำจุลินทรีย์จจากหน่อกล้วย
- จำนวนคนที่ไม่ทำปุ๋ยอินทรีย์ 23 คน จำนวน 15 คน ไม่สะดวกเรื่องของเวลาที่ทำปุ๋ยอินทรีย์ รองลงมาจำนวน 6 คนไม่สะดวกที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 2 คน ไม่สะดวกทำเนื่องจากอายุมากแล้ว