ข้าพเจ้านางสาวสุภาพร พาลพล ประเภทนักศึกษา ทีมปฏิบัติงานตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 4-5 กันยายน 2564 ทีมงานตำบลปราสาทได้จัดทำโครงการธนนาคารน้ำใต้ดินให้กับชาวบ้านตำบลปราสาท โดยการจัดโครงการในครั้งนี่ได้จัดทำที่บ้านบุ เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด โดยได้เชิญคุณพาพัชร์ ศรีชนะ และ ดต. อิทธิกร ราชประโคน มาเป็นวิทยากรในการบรรยายในส่วนของภาคทฤษฎีและสาธิตการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ทั้งนี้ทีมงานได้เดินทางไปที่บ้านเลขที่ 239 หมู่ 6 บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2564 เพื่อเป็นการไปศึกษาให้เข้าใจในวิธีการทำและประโยชน์ของธนาคารน้ำใต้ดินที่จะได้รับอย่างแท้จริง
ในวันที่ 4 กันยายน 2564 จะเป็นการเข้ารับฟังการบรรยายและการสาธิตการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด และในวันที่ 5 กันยายน 2654 จะเป็นการให้ชาวบ้านลงมือปฎิบัติเองในพื้นที่บ้านของตนเอง โดยจะมีวิทยากรคอยเดินให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
ขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด
- ขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย
- จากนั้นใส่วัสดุ เช่น ก้อนหิน ให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์
- นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ นำวัสดุชนิดเดียวกับที่ใส่ช่องว่างด้านนอกมาเติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม
- คลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหิน และตามด้วยหินละเอียดอีกที เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดิน หรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลสู่ชั้นใต้ดินโดยตรง ผ่านธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิดที่ทำขึ้นมา
การทำธนาคารน้ำแบบปิดมีข้อดีคือสามารถทำให้น้ำไหลลงบ่อใต้ดินได้รวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูฝนนั้น ความสามารถของธนาคารน้ำคือสามารถรีชาร์จน้ำลงบ่อได้รวดเร็ว ลดการท่วมขังในพื้นที่ ส่วนหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่กักเก็บไว้มาใช้ได้ อีกทั้งการทำธนาคารยังช่วยทำให้ดินชุ่มน้ำและอุ้มน้ำมากยิ่งขึ้น