1. หน้าแรก
  2. พยาบาลศาสตร์
  3. NS05 - ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน
  4. NS05-องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบก ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

NS05-องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบก ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์

         สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวชลธิชา แฉล้มรัมย์ ผู้รับจ้างจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ประเภท กพร. ในกลุ่มของ  NS05 – ตำบลปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของคนในชุมชนและผู้นำชุมชน เพื่อดำเนินโครงการด้านสัมมาชีพพบว่าคนในชุมชนให้ความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาวัตถุดิบที่มีในชุมชนอยู่แล้วและการสร้างสัมมาชีพใหม่เป็นอย่างดี ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลปราสาทได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาวัตถุดิบทางการเกษตรและสร้างสัมมาชีพแก่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาสัมมาชีพตามวิถีชีวิตชุมชนและเพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือน และเพื่อยกระดับวัตถุดิบและเพิ่มศักยภาพชุมชนในการพัฒนาสัมมาชีพจากองค์ความรู้เดิมให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น

ปลาดุก เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทารายได้ให้กับ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้าดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยง ขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ

ปลาดุกอุย เป็นปลานํ้าจืดที่อาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในน่านนํ้าจืดแถบเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไป บางครั้งอาจพบปลาดุกอุยบริเวณนํ้ากร่อยเล็กน้อย เช่น แถบสมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ปลาดุกอุยมีราคาดีกว่าปลาดุกด้านแต่เลี้ยงยากกว่าปลาดุกอุยในธรรมชาติจะเริ่มวางไข่ในช่วงฝนตกชุก คือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ปลาดุกที่มีขนาดยาวตั้งแต่ 20 เซนติเมตรเป็นต้นไปหรืออายุ 1 ปีขึ้นไป จะเห็นว่าตรงช่องเพศของตัวผู้จะมีติ่งเนื้อยาวเรียวยื่นออกมาแต่ในตัวเมียจะมีติ่ง เนื้อกลมมน ส่วนท้องจะอูมเป่งกว่าปกติในฤดูวางไข่ การผสมเทียมจะใช้การฉีดฮอร์โมนช่วยตามปริมาณและขนาด ในธรรมชาติปลาตัวเมียจะวางไข่ภายในโพรงที่สร้างไว้ตามชายน้ำ ตัวผู้จะเฝ้าดูแลรักษาไข่ เนื่องจากปลาดุกอุยเลี้ยงยาก โตช้า แต่เป็นที่ต้องการของตลาด ปัจจุบันพ่อค้าได้สั่งปลาดุกยักษ์มาเลี้ยงและผสมกับปลาดุกอุยได้ลูกผสมซึ่งเรียกว่า บิ๊กอุย เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะโตเร็วกว่าปลาดุกอุยธรรมดารสชาดก็อร่อยไม่แพ้ปลาดุกอุย

การเลี้ยงปลาดุกอุย ได้รับความนิยม ด้วยลักษณะเด่นที่เติบโตเร็วและทนทานต่อโรคสูง ไม่เป็นโรคง่าย ประหยัดต้นทุน จึงนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ปลาดุกอุย เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ ไม่ได้ข้ามสายพันธุ์เหมือนปลาดุกบิ๊กอุย จึงทนทานโรคกว่า แต่ขนาดอาจจะไม่เท่ากันปลาดุกบิ๊กอุย ข้อดีคือดูแลได้ง่ายกว่านั่นเอง ในปัจจุบันมีวิธีการเลี้ยงอยู่หลายแบบ เช่น การเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยง ปลาในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงปลาในกระชังบกและกระชังน้ำ การเลี้ยงปลาในนาข้าว ซึ่งการเลี้ยงปลาในแต่ละแบบนั้นก็ขึ้นอยู่กับความ พร้อมของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ การเลี้ยงปลาดุกในกระชังบกเป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเลี้ยงกันได้ง่าย สำหรับสถานที่ก็ใช้พื้นที่ไม่เยอะ เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีสระน้ำ หรือ คนที่มีสระน้ำไกลห่างจากบ้าน ในการเลี้ยงปลาดุกในกระชังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้หรือทำเป็นอาชีพหลักก็ได้

ขั้นตอนการเตรียมติดตั้งกระชังบก

1. ต้องวางกระชังบนพื้นเรียบๆ เช่น พื้นทราย หรือปูผ้ารองพื้น(ถ้ามี)

2. ขึงทั้งสี่มุมให้ตึง และขนาบข้าง เพื่อความแข็งแรง ทนทาน ถ้าจำเป็น

3. ฉีดล้างพื้นพลาสติก และขัดทำความสะอาดด้วยผ้านุ่มๆ 1 – 2 รอบ

4. ใส่น้ำทิ้งไว้ก่อนอย่างน้อย 1 คืน แล้วถ่ายทิ้งทั้งหมด เพื่อกำจัดกลิ่นพลาสติก

5. ใส่น้ำจากบ่อพักน้ำ แล้วใส่ปลาหรือกบ เพื่อเลี้ยงทีละน้อยๆ เพื่อทดสอบคุณภาพน้ำ

6. ไม่ควรวางอยู่กลางแจ้งนานๆ โดยไม่พรางแสง เพราะกระชังจะผุขาดง่าย

วิธีการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบกมีดังนี้

1.การเตรียมกระชังบก ซึ่งกระชังบกเป็นกระชังสำเร็จรูปที่มีขายโดยทั่วไป ง่ายต่อการจัดการเรื่องความสะอาด เพราะสามารถถ่ายน้ำได้ตลอดเวลา

2.การเตรียมน้ำ สถาพของน้ำต้องมีความเหมาะสมเพราะมีผลต่อการกินอาหารของปลา ดังนั้นน้ำจึงต้องเป็นน้ำธรรมชาติไม่ผสมคลอรีน เพราะอาจจะทำให้ปลาอ่อนแอและถึงตายได้

3.การให้อาหารและยารักษาโรคปลา การให้อาหารควรให้แต่พอเหมาะเช่น ปลาดุกอายุ 30 – 45 วัน ซึ่งโครงการได้แจกจ่ายปลาดุกให้คนในชุมชน 200 ตัว จึงควรให้อาหารเพียงครึ่งถ้วยเล็ก เป็นต้น ยารักษาโรคปลาจะให้กรณีที่เกิดจากแบคทีเรียหรือปรสิต เช่น โรคจุดขาว โรคตัวบวม โรคหนวดกุด และโรคกะโหลกร้าว โดยให้ยาปฏิชีวนะตามโรคที่เกิดขึ้น เป็นต้น

ยาป้องกันการเกิดโรค

การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้าในบ่อเลี้ยง ไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิด โรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัย ชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสารอกอาหารเก่าทิ้งแล้ว กินอาหารให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้าหนักตัวปลา

วิธีการป้องกันการเกิดโรคในปลาดุก

1. ควรเตรียมบ่อและน้าตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา

2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค

3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่าเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไข โดยเร็ว

4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ายาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้า 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ายาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตรน้า 100 ตัน

5. เปลี่ยนถ่ายน้าจากระดับก้นบ่ออย่างสม่าเสมอ

6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

 

 

 

อื่นๆ

เมนู