ดิฉันนางสาวสุชาวดี ศรีนาเมือง ตำแหน่ง กพร(เนื่องจากยังไม่มีรายชื่อลงปฏิบัติงานสำนักงานใดจึงลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย)

ในเดือนตุลาคมนี้ ดิฉันได้ดำเนินการทำหนังสือ ในการจัดทำโครงการ เพื่อเรียนรู้งานด้านเอกสาร และเป็นหน้าที่รับผิดชอบประจำ

จากข้อมูลการสำรวจชุมชนบ้านกะชาย หมู่ที่ 9 กลุ่มอาชีพในชุมชนคือ กลุ่มผ้าไหม เป็นการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในชุมชนเพื่อสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนแต่ละครัวเรือน   มีสมาชิกในกลุ่ม 20 คนโดยมีพัฒนาชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อน  กิจกรรมสร้างและพัฒนาสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ได้มีการนำไหมมาให้กลุ่มในชุมชน ชุมชนที่ได้ไหม มี บ้านกะชาย , บ้านนาล้อม และบ้านขาม เพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ทคนิคการเลี้ยงหนอนไหมให้แข็งแรงและได้ผลผลิตสูง

  • เลือกใบหม่อนเหมาะสมกับวัยของหนอนไหม
  • ก่อนให้ใบหม่อน ควรเกลี่ยให้มีการกระจายตัวไหมให้สม่ำเสมอ
  • ให้ใบหม่อนที่มีขนาดเหมาะสมกับวัยของหนอนไหม
  • ขยายพื้นที่เลี้ยงให้กับหนอนไหมอย่างเหมาะสม

การเก็บไหมสุก

1. ไหมสุก หมายถึง หนอนไหมวัย 5 ที่กินใบหม่อนเต็มที่แล้ว ก็จะเริ่มสุก พร้อมที่จะพ่นเส้นใย ในวัย 5 ใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน ไหมก็จะเริ่มสุก หยุดกินใบหม่อน หากเป็นไหมไทยก็จะสังเกตได้ง่าย คือลำตัวหนอนไหมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใส เพราะภายของตัวหนอนไหมส่วนที่เป็น silk-gland ก็จะเต็มไปด้วยสารพ่นใยไหม ซึ่งไหมไทยมีสีเหลืองจึงทำให้เห็นได้ชัด แต่หากเป็นไหมลูกผสมก็จะมีสีขาวใสโปร่งแสง ในระยะนี้หนอนไหมพร้อมที่จะพ่นใยไหมออกมาเพื่อห่อหุ้มตัว เรียกว่า ไหมทำรัง แล้วหนอนไหมก็จะพัฒนาไปเป็นดักแด้อยู่ภายในรัง สภาพที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ ประมาณ 24 องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์

2. การเก็บไหมสุกเข้าจ่อ ให้ทำการเก็บไหมสุกโดยการใช้มือ นำไปใส่ลงในจ่อ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับไหมทำรัง ปริมาณหนอนไหมต่อจ่อจะต้องมีความเหมาะสมไม่แน่นจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรังแฝด ซึ่งเป็นรังไหมชนิดหนึ่งของรังเสีย การเก็บไหมสุกเข้าจ่อจะต้องทำการเก็บให้ทันเวลา คือ จะต้องเก็บไหมสุกเข้าจ่อก่อนที่ไหมสุกจะพ่นเส้นใยทำรัง เพราะจะกระทบต่อผลผลิตรังไหม

3. การเก็บเกี่ยวรังไหม ให้หนอนไหมทำรังอยู่ในจ่อประมาณ 5-6 วัน จึงทำการเก็บรังไหมออกจากจ่อ จากนั้นก็นำรังไหมไปทำการสาวเส้นไหมต่อไป

การต่อไหม..ขยายพันธุ์

ภูมิปัญญาของชาวบ้านสมพรรัตน์นอกจากจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้คุณภาพดีแล้ว ชาวบ้านยังมีเทคนิควิธีในการเก็บพันธุ์หนอนไหม เพื่อใช้ในการเลี้ยงครั้งต่อไปอีกด้วย เรียกว่า การต่อไหม

การต่อไหม หรือ การเก็บพันธุ์หนอนไหมนั้น ชาวบ้านจะเลือกเอารังไหมที่จะให้กำเนิดผีเสื้อไหมหรือบี้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย การคัดเลือกจะเลือกรังไหมที่สมบูรณ์โดยการสังเกตจากรูปร่างภายนอก และจะเลือกเพศของบี้ด้วยวิธีการสั่นหรือเขย่ารังไหม กล่าวคือ เมื่อเขย่ารังไหมแล้วแล้วถ้ารังไหนสั่นหรือคลอนมาก มีน้ำหนัก รังไหมนั้นจะเป็นบี้ตัวเมีย ถ้ารังไหนสั่นหรือคลอนน้อย น้ำหนักเบาจะเป็นบี้ตัวผู้ คัดเลือกรังไหมให้ได้จำนวนตามที่ต้องการโดยประมาณจากปริมาณใบหม่อนที่จะนำมาเลี้ยง และจำนวนเส้นไหมที่ต้องการ ซึ่งจากประสบการณ์การเลี้ยงหนอนไหม รังไหมจำนวน 300 ฝักจะใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงประมาณ 1 ไร่ และรังไหมประมาณ 40 ฝัก จะให้เส้นไหมได้ประมาณ 1 หลบ

คนในกลุ่มส่วนใหญ่จะทำเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลี้ยงหนอนไหม, สาวไหม, มัดลาย ไปจนถึงการ ส่วนใหญ่จะนิยมทำตามออเดอร์ตามที่ลูกค้าอยากได้ โดยปกติจะขายได้ดีในช่วงที่มีงานมงคล เช่นงานแต่งงาน จะขายดีมาก เพราะแต่ละงานคนจะหาซื้อไม่ต่ำกว่า 5-6 ผืน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 10,000 – 20,000 บาท แต่ด้วยสถานการณ์โรคระบาดตอนนี้ ไม่สามารถจัดกิจกรรมในส่วนนี้ได้ จึงทำให้รายได้ขาดไปบ้าง แต่คนในกลุ่มก็ยังคงทำต่อเนื่อง เป็นการทำเก็บไว้ เพื่อไว้ขายให้ลูกค้าบางกลุ่มที่ต้องการใส่ผ้าไหมหรือต้องการนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า ไว้ใส่ไปวัด

จากนั้นเก็บรังไหมที่คัดเลือกไว้ให้สุกเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 9-14 วัน ดักแด้ในรังไหมจะกลายลอกคราบเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัยหรือบี้ ซึ่งบี้มักจะออกจากรังไหมในเวลาเช้า หลังจากบี้คลี่ปีกออกจะผสมพันธุ์ทันที บี้ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียและมีความว่องไวกว่า และสามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้ 2 ถึง 3 ตัว แต่ความสามารถในการผสมพันธุ์จะลดลง ถ้าต้องการยืดเวลาการผสมพันธุ์สามารถเก็บบี้ตัวผู้ไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสได้ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยยังคงความสามารถในการผสมพันธุ์อยู่ การผสมพันธุ์นั้นบี้ตัวเมียจะบินเข้าหาบี้ตัวผู้ จากนั้นจะปล่อยให้บี้ผสมพันธุ์กันจนเวลาเย็น จึงจะทำการเก็บหรือแยกบี้ตัวผู้ออกจากบี้ตัวเมีย นำบี้ตัวเมียมาวางบนกระดาษ และนำเอาชามหรือถ้วยครอบตัวบี้ไว้ บี้ตัวเมียจะออกไข่ลงบนกระดาษ อย่างต่อเนื่องโดยปล่อยทิ้งไว้ทั้งคืนเมื่อถึงเวลาเช้าของอีกวัน จึงเปิดถ้วยหรือชามที่ครอบ จะได้ไข่ไหมประมาณ 300-500 ฟอง แล้วนำบี้ตัวเมียออกจากไข่ ไข่ที่ได้นำไปเลี้ยงให้เป็นหนอนไหมต่อไป ถ้าทิ้งไข่ไหมไว้ประมาณ 1 สัปดาห์จะเกิดตัวหนอนไหมในระยะแรกตัวหนอนจะมีขนขึ้นตามตัว ชาวบ้านจะเรียกหนอนไหมระยะนี้ว่า หนอนขี้ขน หรือหนอนวัย 1 เลี้ยงจนถึงวัย 4 ตัวหนอนใกล้จะสุก ระยะนี้จะกินอาหารหรือใบหม่อนได้น้อยลง และไม่เคลื่อนไหว ชาวบ้านจะเรียกวัยนี้ว่า นอนเฒ่า ข้อควรระวังในการเลี้ยงหนอนไหมคือ ห้ามมีสารพิษ มดและแมลงต่าง ๆ รบกวนโดยเด็ดขาด

ในการนี้ชาวบ้านจึงเลี้ยงไหมเพื่อนำผลผลิตมาพัฒนาในรูปแบบต่อๆไปเช่น การแปรรูปผ้าไหม กระเป๋า หมวก ฯลฯ

อื่นๆ

เมนู