ข้าพเจ้า นางสาวปรารถนา คุ้มถนอม ประเภท นักศึกษา หลักสูตร: การพัฒนาสินค้าหัตถกรรม คหกรรมในชุมชนสู่มาตรฐาน NS01

การส่งเสริมความรู้พัฒนาทักษะของชุมชนในตำบลบ้านด่านประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ได้มีการร่วมมือกันของชุมชนและคณะทีมงานในการจัดกิจกรรม มีการพูดคุยกันในเรื่องต่างๆแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพ การดำรงชีวิต วัฒนธรรมประเพณี รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าพเจ้าและคณะทีมงานได้ทำการพูดคุย สอบถาม ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ทราบถึงวัฒนธรรม ความต้องการ แนวทางการพัฒนาทักษะของสมาชิกในชุมชน โดยคณะทีมงานได้สอบถามข้อมูลกับทางผู้นำชุมชน ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ และสมาชิกในชุมชน

จากการสอบถามข้อมูลเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนในตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่รับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก จึงมีการสร้างกระติบข้าวหรือ “กล่องข้าว”ในภาษาอีสาน สำหรับใส่ข้าวเหนียวเพื่อรักษาความร้อนของข้าวเหนียว ข้าวเหนียวจะได้ไม่แข็งจนทำให้รับประทานไม่อร่อย การสร้างกระติบข้าวของชุมชนในตำบลบ้านด่านนั้นจะทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก ใบลาน เป็นต้น โดยการสร้างก็จะใช้วิธีการสานออกมาให้เป็นรูปร่างต่างๆตามที่ต้องการและเหมาะสมสำหรับการใส่ข้าว ซึ่งการทำกระติบข้าวเหล่านี้สืบสานกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนมาถึงปัจจุบัน ผ่านการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ผู้ที่ถ่ายความรู้นั้นเรียกว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ซึ่งในตำบลบ้านด่านก็มีปราชญ์ชาวบ้านที่ถ่ายทอดความรู้เรื่องการสานกระติบข้าว เช่น บ้านหนองบึง หมู่ 10 มีนายบุญ ผันผาย เป็นปราชญ์ชาวบ้านทางด้านการจักรสาน เรียนผิดเรียนถูกจนเกิดความชำนาญในการจักรสานไม้ ไผ่ ได้มีการทำกระติบข้าวเหนียวจนเป็นที่รู้จักกันในชุมชนรวมถึงหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง มีการจำหน่ายในราคาย่อยเยาแก่ผู้ที่ต้องการนำไปใช้และสอนผู้ที่ต้องการจะศึกษาวิธีการทำกระติบข้าว โดยกระติบข้าวเหนียวที่ทำขึ้นนั้นมีความแข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้นานและราคาไม่แพง ส่วนบ้านโคกขาม หมู่ 11 มีนายเสงี่ยม ถากง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการจักสานและถ่ายทอดความรู้เรื่องวิธีการจักรสานให้แก่ผู้อื่น ได้ประดิษฐ์งานจักรสานมากมายรวมถึงการทำกระติบข้าวด้วย

จากข้อมูลที่ได้ทราบเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การสานกระติบข้าว คณะทีมงานได้เล็งเห็นถึงปัญหา ความต้องการ และความสำคัญของข้อมูล จึงได้หาแนวทางการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยคณะทีมงานได้วางแผนจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรู้พัฒนาทักษะเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตสินค้าจักสานจากไม้ไผ่ ซึ่งจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการจักรสานไม้ไผ่ในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำสุ่มไก่ การทำตะกร้า การทำกระบุง กระจาด กระเช้า ชะลอม ปุ้งกี๋ กระติบข้าว เป็นต้น เพื่อที่จะให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าประเภทนี้ รวมถึงสามารถนำไปสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้อีกด้วย

อื่นๆ

เมนู