การปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการแสดงทางวัฒนธรรมการรำท้องถิ่น เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ณ ต.สนวน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ โดยก่อนการเริ่มงานได้มีการจัดการประชุมเพื่อนัดหมายกำหนดการต่างๆ และในวันที่ 13 ตุลาคม ได้มีการไปจัดเตรียมสถานที่ในการใช้จัดงาน และมีการจัดงานจริงในวันที่ 15 ตุลาคม โดยข้าพเจ้า นายสิทธิศักดิ์ กึมรัมย์ ได้รับหน้าที่ในการเป็นช่างภาพ จัดเก็บภาพถ่ายและวิดีโอ เพื่อนำไปจัดทำเป็นวิดีโอปฏิบัติงานต่อไป
กำหนดการในการจัดงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเช้าและช่วงบ่าย
กิจกรรมในช่วงเช้า
1. เริ่มงานด้วยการรำบายศรีฯ และรำมงคลจองได
รำบายศรีเป็นการรำเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อให้เกิดความสวยงามสมเกียรติผู้มาเยือน ทำเพื่อความเป็นสิริมงคล รำบายศรีเริ่มจากการแห่พานบายศรีมาสู่พิธี พราหมณ์เริ่มสวดเรียกขวัญ จบแล้วจึงรำบายศรี เนื้อร้องประกอบการรำเป็นการบรรยายถึงความสวยงามของพานบายศรี และเป็นคำเรียกขวัญที่เรียบเรียงด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
รำมงคลจองได เป็นการรำประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญซึ่งแต่เดิมเป็นการรำแบบพื้นเมืองที่ไม่มีรูปแบบต่อมา ได้รับการปรับท่ารำให้เป็นรูปแบบขึ้นมาโดยปรับท่ารำจากท่าพื้นเมืองให้สวยงามขึ้น เพลงร้องก็ใช้ทำนองเพลงกันตรึม คำร้องเป็นภาษาเขมร โอกาสที่ใช้แสดงใช้แสดง ได้ทุกโอกาสในการทำพิธีบายศรีประเพณีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสู่ขวัญจัดได้ทั้งในโอกาสแสดงความชื่นชมยินดีและเป็นการปล่อยใจให้เจ้าของขัวัญจากคณะญาติมิตรและบุคคลทั่วไป ได้ดีมีโชค หรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือมาเยี่ยมเยียนก็จัดพิธีสู่ขวัญให้เป็นต้น
2.จากนั้นได้ให้อาจาร์ยอุกฤษณ์ นามจำปา ได้กล่าวพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ
3. เป็นการแสดงรำของชาวบ้านหมู่ 2 บ้านสนวนนอก คือ รำตรดและรำบาสโลป
รำตรด มีผู้ร้องรำเพลงเป็นต้นบทร้องนำหรือเรียกว่าพ่อเพลงแม่เพลง คนอื่นๆ เป็นผู้ร้องตามหรือเรียกว่าลูกคู่ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองกันตรึม ๒ ใบ หรือมากกว่านั้น ฉิ่ง ฉาบ ซอ จอกกร็อง ฯลฯ ทั้งที่ทุกครั้งที่มีการแสดงจะต้องมีกลองกันตรึมประกอบเสมอ เนื้อร้องรำตรด เริ่มจากบทขออนุญาตเจ้าของบ้านต่อด้วยบทอื่นๆ ตามที่เห็นสมควรถึงการขอรับบริจาคบทเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ตอนท้ายเป็นบทให้ศีลให้พรเจ้าของบ้านและบทร้องลาแล้วจึงย้ายคณะรำตรดไปยังบ้านอื่นต่อไป
รำบาสโลป เป็นการร่ายรำของประเทศลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งเศส คนลาวนิยมเต้นเวลาออกงานสังคม เช่นงานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน รวมไปถึงงานเลี้ยงรับรองที่เป็นทางการ ใช้ต้อนรับแขกระดับประเทศที่สำคัญๆ เวลาเต้นจะตั้งเป็นแถวหน้ากระดานหรือเป็นแถวตอน หากมีผู้เต้นจำนวนหลายๆคน มีหนึ่งแถวหรือมากกว่าก็ได้ สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือทุกคนจะเต้นเป็นจังหวะอย่างพร้อมเพรียงกัน ขยับไปซ้ายที ขวาที มีการเตะเท้าเป็นจังหวะตามเพลง ดูมีเสน่ห์และสวยงามมาก
4. หลังจากการแสดงจบได้มีการคอมเม้นต์ติชมการแสดงจากคณะกรรมการ ซึ่งเป็นอาจาร์ยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
5. เป็นการแสดงรำของชาวบ้านหมู่ 3 บ้านสนวนใน คือ รำกะลาและรำกันตรึม
รำกะลา ป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ โดยชาวบ้านนิยมปลูกมะพร้าวไว้บริเวณบ้าน ให้ความร่มรื่น ความเชื่อแต่โบราณนั้นเชื่อว่า เมื่อลูกหลานแต่งงาน พ่อแม่จะมอบที่ดินให้ทำกินและเป็นที่ปลูกบ้าน ซึ่งจะต้องปลูกมะพร้าวก่อนเพื่อแสดงถึงความมั่นคง โดยการรำจะมีการใช้กะลาเป็นอุปกรณ์ ท่ารำมีการแปรแถวและเคาะกะลาไปเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวจะขึ้นกับจังหวะของดนตรีซึ่งช้าบ้างเร็วบ้าง ท่าทางในการแสดงออกของผู้แสดงนั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งพอจะนับได้ว่า รำกะลาของอีสานใต้เป็นต้นแบบรำกะลาหรือเซิ้งกะโป๋ของอีสานเหนือ
รำกันตรึม เป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู
6. หลังจากการแสดงจบได้มีการคอมเม้นต์ติชมการแสดงจากคณะกรรมการ ซึ่งเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และหลังจากมีการแสดงจบทั้ง 2 การแสดงแล้ว ได้มีการแนะนำการปรับท่ารำจากอาจารย์
กิจกรรมช่วงบ่าย
1.ได้มีการแสดงการรำอีกครั้งของชาวบ้านหมู่ 2 และหมู่ 3 หลังจากมีการปรับท่ารำ
2.มีการรำโชว์พิเศษจากชาวบ้านหมู่ 2 บ้านสนวนนอก คือ รำอีสานใต้
3.อาจาร์ยอุกฤษณ์ นามจำปา ได้มีการกล่าวปิดงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการแสดงทางวัฒนธรรม การรำท้องถิ่น เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ