นางสาวกมลชนก  สนิทศรี

บ้านเมืองฝางเป็นหมู่บ้านที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เป็นหลัก โดยจะมีการทำนาปีละ 1 ครั้ง ตามช่วงฤดูกาลการทำนา และหลังจากช่วงที่ว่างเว้นจากฤดูกาลการทำนาชาวบ้านจะทำการซ่อมแซมเครื่องไม้เครื่องมือทำกิน ซึ่งการทอผ้าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่แม่บ้านชาวอีสานยึดเป็นหลักรองจากการทำนา ทั้งทอเพื่อใช้ในครอบครัวหรือเพื่อถวายพระในงานบุญรวมทั้งขายเป็นรายได้เสริมในครอบครัว

จากการสัมภาษณ์ นางเทียม ทับประโคน บ้านเลขที่ 245/15 ต.เมืองฝาง อ.เมือง จ.บรีรัมย์ เป็นผู้ที่ทอผ้าการทอผ้านี่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ขายในราคา 600 บาท ขายในช่องทางออนไลน์และคนในชุมชน บางคนจะมีการจอดไว้ก่อน วัสดุการทำซื้อคือไหมมาทอเอง มีขั้นตอนเทคนิคการทอผ้า

การทอผ้าพื้น มีขั้นตอน ดังนี้

1.สับตะกอ โดยใช้เท้าเหยียบคานเหยียบที่ ๑ เพื่อรั้งตะกอขัดที่ ๑ ลง ซึ่งจะดึงไหมยืนกลุ่มที่ 1 ตามลงมาด้วย ตะกอขัดที่ 2 ก็จะยกเส้นไหมยืนกลุ่มที่ 2 ขึ้น ก็จะเกิดเป็นช่องว่างระหว่างเส้นไหมทั้ง 2กลุ่ม พุ่งกระสวยไหมพุ่ง หรือไหมพื้นเข้าไปในช่องไหมยืนจากขวาไปซ้าย ทำให้เส้นไหมพุ่งสอดไปสานขัดกับไหมยืนกระทบฟืม หรือฟันหวี เพื่ออัดเส้นไหมพุ่งให้ชิดกันโดยใช้ฟืมกระทบเส้นไหม 1-2 ครั้ง สับตะกอโดยใช้เท้าเหยียบคานเหยียบที่ 2 ตะกอขัดที่2 จะรั้งเส้นไหมยืน และตะกอที่ 1 ขึ้น เปิดเป็นช่องระหว่างเส้นไหมทั้ง 2 กลุ่ม อีกครั้ง แต่ตำแหน่งเส้นไหมยืนจะสลับกับเส้นไหมยืนกลุ่มที่ 1พุ่งกระสวยเข้าไปในช่องไหมยืนจากด้านซ้ายไปด้านขวาเส้นไหมพุ่ง หรือไหมพื้นก็จะสอดขัดกับไหมยืนกระทบฟืมหรือฟันหวี อัดไหมพุ่งให้ชิดแน่นเป็นเส้นตรงอีกครั้ง การสับตะกอและพุ่งกระสวยสลับไปมา และกระทบฟืมหลายๆ ครั้ง ก็จะปรากฏเป็นผืนผ้า

ลักษณะของลายนพเก้า เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ตรงกลางของลายเป็นจุดเล็กๆ จำนวน 9 จุดล้อมรอบด้วยลายไหม

วัสดุและอุปกรณ์ที่สำคัญประกอบด้วย 2 ส่วน

  • ไหม

– เครื่องทอผ้าไหม

– โครงหูก

– ฟืมหรือฟันหวี

– เขาหูกตะกอ

– กระสวย

– ตีนฟืม

– หลอดด้าย(ไหม )

อื่นๆ

เมนู