ข้าพเจ้านายพนนชัย ชุมพลชัย ผู้ปฎิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ภาคนักศึกษา
หลักสูตร : SC03 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในเดือนพฤษภาคมได้มีการประชุมเรื่องของการให้ความรู้เรื่องของขั้นตอนการฟอกขาวและย้อมสีเส้นไหมในวันที่ 3 พฤษภาคม 2564โดยมีการแบ่งทีมเพื่อลงไปให้ความรู้เพิ่มเติมกับชาวบ้านโดยผู้เขียนได้รับหน้าที่ให้ไปที่หมู่บ้านจบก
เมื่อประชุมเสร็จแล้วก็ได้มีการแจกจ่ายอุปกรณ์ให้กับแต่ละทีมโดยอุปกรณ์ที่ได้รับมีดังนี้
- เส้นไหม 2 กิโลกรัม
- น้ำยาล้างจาน 2 ลิตร
- ด่างฟอกไหม 1 ถุง
- สบู่ 1 แพ็ค
- จุนสี 1 ถุง
- ไม้คน 2 ด้าม
ในวันที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรมให้ความรู้การฟอกย้อมไหมกับกลุ่มแม่บ้านที่บ้านจบก ณ บ้านของคุณป้าสะน้อย งามเลิศ
โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
- นางสะน้อย งามเลิศ
- นางสะนี เกาะรัมย์
- นางสนีนวล ขะจีฟ้า
โดยขั้นตอนวิธีเริ่มแรกนั้นให้นำเส้นไหมแช่น้ำอุ่นประมาณ 15 นาทีระหว่างให้เตรียมน้ำสบู่และด่างเพื่อที่จะทำการฟอกกาวออกให้หมดเมื่อแช่น้ำอุ่นครบ 15 นาทีแล้วให้นำไปบิดให้แห้ง
แล้วนำมาแช่ลงน้ำด่างที่ได้ต้มไว้ (น้ำด่างควรมีอุณหภูมิอยู่ที่ 95 องศา) แช่เป็นเวลา 45 นาทีเมื่อครบแล้วจึงนำไปแช่น้ำเกลืออุ่นสักพักก่อนที่จะบิดให้พอแห้งแล้วนำไปตากไว้สักพัก
หลังจากที่ฟอกเสร็จเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการย้อมซึ่งในที่นี้จะใช้สีเหลืองจากไม้เคซึ่งหาได้จากในระแวกบ้านโดยให้ต้มน้ำสีจากไม้เคให้มีอุณหภูมิอยู่ที่ 95 องศา
แล้วนำไหมไปแช่ไว้เป็นเวลา 45 นาทีในระหว่างที่แช่ก็ควรมีการยกขึ้นยกลงเพื่อให้เส้นไหมได้สีเท่า ๆ กัน หากต้องการให้สีเข้มขึ้นสามารถเติมจุนสีเพื่อให้เข้มขึ้นได้แต่ถ้าต้องการสีที่อ่อนลง
ให้เติมสารส้มหรือน้ำมะนาวก็จะทำให้สีอ่อนลงเช่นกัน
ครบ 45 นาทีให้นำเส้นไหมที่ย้อมเสร็จไปแช่น้ำอุ่นอีกรอบก่อนที่จะบิดแล้วนำไปตากแห้ง
หลังจากนั้นเส้นไหมก็พร้อมที่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นสิ่งอื่นต่อไป
วิดีโอกิจกรรมการฟอกย้อมสีไหมของกลุ่มบ้านจบก